8 หนทางสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข


เพิ่มเพื่อน    

      การสร้างความสุขในผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่เรียนรู้ในการปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น กรมการแพทย์แนะ 8 หนทางสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข

      นพ.ปานเนตร ปางพุฒิพงศ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง นอกจากจะต้องใส่ใจเรื่องอาหารการกิน เรื่องของสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพราะวัยนี้เป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงชีวิตหลายอย่าง อารมณ์และความรู้สึกของผู้สูงอายุจะเปราะบางเป็นพิเศษ ส่งผลทำให้สุขภาพจิตและร่างกายย่ำแย่ ไม่ว่าจะมีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หรืออ่อนแรง เป็นต้น

      โดยธรรมชาติและความเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุ เช่น อารมณ์เหงาและว้าเหว่ เศร้าจากการพลัดพราก โกรธ ขี้น้อยใจ วิตกกังวล กลัวถูกทอดทิ้ง หงุดหงิด การย้อนคิดถึงความหลัง ดังนั้น สิ่งที่จะป้องกันการเจ็บป่วยทางจิตใจได้คือ ผู้สูงอายุต้องเรียนรู้การปรับตัวและยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

      นพ.ประพันธ์ พงศ์คณิตานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร เพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตอาจนำไปสู่การเป็นโรคซึมเศร้า นอนไม่หลับ หรือสมองเสื่อมได้ จึงต้องเรียนรู้ธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุและการปรับตัวในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งจะส่งผลดีก่อให้เกิดความสบายใจ ผ่อนคลายและมีความสุข หนทางสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีความสุข สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

      1.ผู้สูงอายุควรโอนอ่อนผ่อนตามความเห็นลูกหลานและคิดเรื่องต่างๆ ด้วยความยืดหยุ่น

      2.ทำใจว่าการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดา

      3.มองชีวิตตนเองในทางที่ดีและภาคภูมิใจเป็นที่พึ่งพิงแก่ลูกหลาน

      4.เมื่อมีความกังวลต้องพูดคุยกับคนใกล้ชิดเพื่อระบายความรู้สึก

      5.พยายามหากิจกรรมและงานอดิเรกที่ทำแล้วรู้สึกเพลิดเพลินและมีคุณค่าทางจิตใจ เช่น ปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ทำอาหาร ออกกำลังกาย ตลอดจนเดินทางท่องเที่ยว

      6.พบปะสังสรรค์กับผู้อื่นเพื่อพูดคุยหรือปรับทุกข์

      7.ยึดศาสนาเป็นที่พึ่งทางใจ เช่น สวดมนต์ เข้าวัด ทำบุญ ฝึกสมาธิ

      8.หมั่นทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ ไม่เครียดหรือหงุดหงิด 

      ดังนั้น วิธีการสร้างความสุขของผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ปฏิบัติตัวให้มีความสุข นอกจากนี้ ลูกหลานหรือคนใกล้ชิดควรใส่ใจและสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุและทุกคนในครอบครัวมีความสุขอย่างแท้จริง.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"