เทศบาลกับการปกครองท้องถิ่นไทย


เพิ่มเพื่อน    

 

ในวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564 จะมีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลทั่วประเทศหลังจากที่ห่างหายไปประมาณ 7 ปีแล้ว ดังนั้น วันนี้เราลองมาทบทวนความรู้เกี่ยวกับ “เทศบาล” ซึ่งนับเป็น 1 ใน 5 ของรูปแบบการปกครองท้องถิ่นไทย อันประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา โดยเทศบาลเป็นการปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ที่มีความเป็นชุมชนเมือง เทศบาลจึงมีลักษณะการทำงานใกล้ชิดกับประชาชนและมีประเด็นต่างๆที่นับว่าน่าสนใจอยู่ไม่น้อยทีเดียว

1)    เทศบาลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยองค์กรแรก  มีประวัติความเป็นมาจากพระราชดำริของล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ซึ่งทรงรับทราบจากพวกชาวต่างประเทศที่มักจะติเตียนว่าพระนครยังสกปรกและไม่มีถนนหนทาง จึงมีผู้กราบทูลให้จัด “มุนิสิเปอล” แต่ทรงโปรดให้เริ่มต้นที่ “สุขาภิบาล” ก่อน เพื่อให้ทั้งฝ่ายราชการและฝ่ายประชาชนค่อยๆ เรียนรู้การปกครองท้องถิ่นซึ่งเป็นของใหม่ จากนั้นก็มีวิวัฒนาการเรื่อยมา ผ่านรัชสมัยของรัชกาลที่ 6 (ทรงทดลองระบบเทศบาลในเมืองจำลอง “ดุสิตธานี”) และรัชกาลที่ 7 (ทรงเตรียมยกร่างกฎหมายจัดตั้งเทศบาล) 

จนมาประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เมื่อหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง กฎหมายฉบับนี้

มีการปรับปรุงแก้ไขมาจนบัดนี้ถึงฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2552)

2)    เทศบาลเป็นท้องถิ่นไทยรูปแบบเดียวที่แบ่งออกเป็น 3 ขนาด หรือ 3 ประเภท  การจัดตั้งเทศบาลเป็นไปตามจำนวนและความหนาแน่นของประชากร เศรษฐกิจ และศักยภาพของท้องถิ่นนั้นๆ โดยมี 3 ประเภท (สามารถเปลี่ยนแปลง ยุบ ควบรวม หรือเลื่อนขึ้นลงได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด)  ปัจจุบันมีเทศบาลตำบล 2,247 แห่ง เทศบาลเมือง 195 แห่ง และ เทศบาลนคร 30 แห่ง ภาพรวมการใช้จ่ายงบประมาณของเทศบาลทั่วประเทศในปัจจุบันน่าจะไม่ต่ำกว่าปีละหนึ่งแสนหนึ่งหมื่นสองพันล้านบาท

3)    เทศบาลเป็นที่มาของการให้ประชาชนเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง  เดิมการเลือกผู้บริหารองค์กร-ปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม กล่าวคือ หลังจากเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นแล้ว สภาดังกล่าวต้องลงมติเลือกตัวนายกองค์กรปกครองท้องถิ่นจากสมาชิกสภาท้องถิ่นนั้น เป็นการเลียนแบบระบบรัฐสภา (Parliamentary System) เช่นที่เป็นอยู่ในระดับชาติ แต่ที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นดังกล่าวของเทศบาล มักจะเกิดความวุ่นวายระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายสภา เช่น การซื้อตัวให้ย้ายข้าง การตีรวนเมื่อข้อบัญญัติงบประมาณเข้าสภา ฯลฯ ทำให้รัฐบาลได้เสนอแก้ไขกฎหมายแยกการเลือกตั้งผู้บริหารกับสมาชิกสภาท้องถิ่น ให้เป็นการเลือกตั้งโดยตรงทั้งคู่ พร้อมทั้งวางหลักป้องกันปัญหาความขัดแย้งดังกล่าวไว้ อย่างไรก็ดี นับเป็นเรื่องแปลกอยู่ไม่น้อยที่มีการนำระบบประธานาธิบดี (Presidential System) 
มาใช้ปะปนในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของเรา 

4)    ปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาล ปัญหาของการปกครองท้องถิ่นไทยมีสารพัด 
แต่กล่าวเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทศบาล คือ (1)การกระจายอำนาจ การถ่ายโอนภารกิจ บทบาทหน้าที่
ที่น้อยเกินไปและซ้ำซ้อนกับกระทรวง กรม จังหวัด และอำเภอ  (2)ความซ้ำซ้อนของภารกิจและพื้นที่กับองค์การ-บริหารส่วนจังหวัด  (3)รายได้ไม่เพียงพอต่อการบริหาร การพัฒนาพื้นที่ และการให้บริการที่ดีแก่ประชาชน เนื่องจากปัญหาการแบ่งรายได้ที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลกับท้องถิ่น  (4)การควบคุมกำกับดูแลจากส่วนกลางและภูมิภาค 
มีมากและไม่สู้จะมีมาตรฐาน ในขณะที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องนี้ก็ดูจะน้อยเกินไป

5)    แนวโน้มในอนาคตที่ควรจะเป็น  (1)ให้เทศบาล (Municipality) เป็นรูปแบบการปกครองท้องถิ่นหลัก โดยกำหนดภารกิจ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ ให้หลากหลาย มีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่  (2)ปรับปรุงการเงินการคลังท้องถิ่น ให้เทศบาลมีรายได้เพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณะในพื้นที่โดยการกำหนดประเภทภาษีท้องถิ่นเสียใหม่ การแบ่งรายได้จากภาษีของรัฐเพิ่มเติม การจัดสรรเงินระหว่างท้องถิ่นรูปแบบอื่นกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งจัดเงินอุดหนุนประเภทให้คิดเองทำเองเป็นก้อน (Lump Sum) ให้มากกว่าเดิม  (3)ส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่เพื่อการพัฒนาและให้บริการแก่ประชาชนได้ดียิ่งขึ้น เช่น การควบรวมระหว่างเทศบาลขนาดเล็กกับเทศบาลขนาดเล็ก หรือกับเทศบาลขนาดใหญ่กว่า รวมทั้งการควบรวมกับองค์การบริหารส่วนตำบล หรือการควบรวมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลด้วยกันเพื่อยกฐานะเป็นเทศบาลระดับตำบลหรือเมือง  (4)สร้างเวทีและเครื่องมือเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่สามารถควบคุมกำกับดูแลการดำเนินงานของเทศบาลได้มากยิ่งขึ้น เช่น เวทีพลเมือง สภาประชาชน ฯลฯ ให้เกิดความรู้สึกว่าการปกครองท้องถิ่นเป็น “ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน” อย่างแท้จริงตามปรัชญาของการปกครองตนเองอย่างที่ควรจะเป็น

เมื่อทราบความสำคัญของเทศบาลดั่งนี้แล้ว ผู้ที่อยู่ในเขตเทศบาลอย่าลืมไปตรวจรายชื่อและใช้สิทธิ์ใช้เสียงเพื่อเลือก “คนที่ใช่” มาเป็นนายกเทศมนตรีและสมาชิกสภาเทศบาลของเรานะครับ      
    

พงศ์โพยม วาศภูติ

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"