23 ก.พ.64 - ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ ร่วมกับภาครัฐและภาคส่วนอื่นๆ ซึ่งองค์กรภาคประชาสังคมเป็นกลไกสำคัญในการจัดการปัญหาของชุมชน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทำให้ประชาชนมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้
ดังนั้น ครม. จึงอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ เพื่อให้องค์กรภาคประชาสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศร่วมกับภาครัฐ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ซึ่งร่างพระราชบัญญัติมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพ และสร้างความเข้มแข็งขององค์การภาคประชาสังคม
โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในรูปแบบต่างๆ อาทิ งบประมาณ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 1.กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ 1ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ และกรรมกรรมผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม จำนวน 7 คน โดยทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และแผนงาน ให้คำปรึกษา จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาชน และ 2.จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาชน ซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล เพื่อให้การสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าว และรับจดแจ้งองค์กรภาคประชาสังคม
น.ส.รัชดา กล่าวว่า ปัจจุบันมีการจัดตั้งองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน (NGO) ในไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการจดทะเบียนถูกต้องเพียง 87 องค์กร ทำให้การกำกับดูแลของรัฐไม่ทั่วถึง และมีหลายองค์กรที่อ้างว่าเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ แต่ในทางปฏิบัติไม่ได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ขององค์กรเพื่อสาธารณะประโยชน์ มีความไม่โปร่งใสเกิดขึ้น เพื่อกำกับดูแลในเรื่องดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีได้ทำการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำกับดูแลองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ ในหลายประเทศ อาทิ อังกฤษ ฝรั่งเศส อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ซึ่งมีสาระสำคัญที่คล้ายกัน คือ มุ่งเน้นเรื่องธรรมาภิบาลในองค์กรฯ และเสนอต่อ ครม. ซึ่งได้รับการเห็นชอบในวันนี้
โดยเป็นการเห็นชอบในหลักการร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน เพื่อให้มีกฎหมายกลางในการกำกับการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ ให้เป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใส และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศอย่างแท้จริง ซึ่งมีสาระสำคัญกำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ ต้องดำเนินการ ดังนี้ 1.ต้องจดแจ้งการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ กับกรมการปกครอง
2.ต้องเปิดเผยแหล่งที่มาและจำนวนของเงินหรือทรัพย์สิน ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมในแต่ละปี และต้องยื่นแบบรายการภาษีเงินได้ทุกปี 3.ต้องเสนอรายงานการสอบบัญชี โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อผู้รับจดแจ้งภายใน 60 วัน นับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้ผู้รับจดแจ้งเผยแพร่ต่อสาธารณะ 4.กำหนดให้องค์กรที่ไม่แสวงหารายได้ฯ จะรับเงินหรือทรัพย์สินจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทย หรือไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งในไทย มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมในไทยได้เฉพาะกิจกรรมที่กฎหมายกำหนด
ทั้งนี้ ครม. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงมหาดไทย นำหลักการของร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและส่งผลดำเนินการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาต่อไป
"ขอยืนยันว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นไปเพื่อส่งเสริมและกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหารายได้ฯ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ และบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันพัฒนาประเทศและสาธารณะประโยชน์ ไม่ใช่การจำกัดสิทธิเสรีภาพขององค์กรแต่อย่างใด"
รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) แจ้งว่า ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แสดงความเห็นสนับสนุนให้มีกฎหมายฉบับนี้ว่า มีเอ็นจีโอหลายแห่งที่รับเงินจากต่างประเทศ โดยมาอยู่ที่ จ.เชียงใหม่ โดยจะรับเงินมาแล้วจ่ายให้ประชาชนเพียงแค่ 30% ที่เหลือไม่รู้ว่านำไปใช้จ่ายดำเนินการอะไร
ที่ผ่านมาเสนอข่าวว่ามีการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในประเทศจนทำให้ประเทศเสียหาย เพื่อจะไปขอเงินจากต่างประเทศให้มาสนับสนุน ดังนั้น ต้องควบคุมบรรดาเอ็นจีโอปลอมเหล่านี้ เราต้องการเอ็นจีโอที่ดี ซึ่งรัฐพร้อมจะช่วยเหลือเต็มที่ ขณะที่ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) ให้ข้อมูลกับที่ประชุมว่า เอ็นจีโอมีหลายองค์กร แต่มีบางองค์กรมาสร้างปัญหา เช่น 13 องค์กรภาคประชาสังคมระหว่างประเทศ ที่ก่อนหน้านี้ออกมาสนับสนุนการชุมนุมของม็อบราษฎร และโจมตีรัฐบาลเรื่องสิทธิมนุษยชนบ่อยครั้ง
นอกจากนี้ หน่วยงานอื่นๆ ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ต่างมีความเห็นสนับสนุนให้มีกฎหมายดังกล่าวทั้งสิ้น ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้กำชับทีมโฆษกประจำสำนักนายกฯให้ให้ข่าวเรื่องนี้อย่างระมัดระวัง อาจจะทำเกิดความเข้าใจผิด เพราะขณะนี้กำลังเป็นประเด็นเรื่องการเมืองและการชุมนุม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |