23 ก.พ. 64 - พล. ต. อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธาน เปิดโครงการบริการสุขภาพวิถีใหม่ (New Normal) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยงานบริการสังกัดกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ณ ห้องประชุมพิทยรักษ์ชั้น 4 อาคารสำนักการแพทย์เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร (กทม.) โดยโครงการจะเริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป ที่จะเริ่มต้นในโรงพยาบาลสังกัดทั้ง 9 แห่ง ซึ่งได้เริ่มเปิดให้บริการไปแล้ว 3 บริการ ประกอบด้วย 1.บริการเจาะเลือดถึงบ้าน 2.บริการรักษาทางไกลผ่านระบบ Telemedicine และ3.บริการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านหรือทางไปรษณีย์ เบื้องต้นเน้นกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานความดันผู้สูงอายุผู้พิการและทุพพลภาพ เพื่อเป็นการลดความแออัดและลดความเสี่ยงของผู้ป่วยที่อาจสัมผัสเชื้อในพื้นที่โรงพยาบาล
พล. ต. อ. อัศวิน กล่าวว่า โรงพยาบาลในสังกัดกทม. มีผู้มารับบริการเป็นจำนวนมากเฉลี่ยการให้บริการผู้ป่วยนอก 3.9-4 ล้านครั้ง / ปีผู้ป่วยในปีละประมาณ 1 แสนราย ส่วนมากป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ส่งผลให้โรงพยาบาลเกิดความแออัดประชาชนที่มารับบริการต้องรอคิวนาน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ทำให้ผู้ป่วยที่มารับบริการเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อ จึงได้พัฒนารูปแบบบริการในเชิงรุก โดยให้บริการผู้ป่วยถึงบ้านและในชุมชน ซึ่งมีคุณภาพมาตรฐานการรักษาเทียบเท่าการมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเช่นกัน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่มีความลำบากในการเดินทาง ลดการมารอพบแพทย์จนเกิดความแออัดที่โรงพยาบาล อีกทั้งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยซึ่งมีความอ่อนไหวทางสุขภาพ
“โดยโครงการดังกล่าวจะเน้นกลุ่มผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับเมตาบอลิก โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครทั้ง 8 แห่งประกอบด้วย โรงพยาบาลกลาง, โรงพยาบาลตากสิน, โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ชุตินฺธโรอุทิศ, โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ, โรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพฯ, โรงพยาบาลราชพิพัฒน์, โรงพยาบาลสิรินธร และโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน” ผู้ว่าฯ กทม. กล่าว
ผู้ว่าฯ กทม. กล่าวต่อว่า โดยการให้บริการ อาทิ โครงการเจาะเลือดถึงบ้าน จะเน้นไปที่กลุ่มผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ ประกอบด้วย กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้พิการและทุพพลภาพ และผู้ที่มีภาวะเสี่ยงโรคอ้วน ทั้งนี้แพทย์เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสมผู้ป่วยก่อน ส่วนขั้นตอนการเจาะเลือดนั้น นักเทคนิคการแพทย์จะนัดหมายรับข้อมูลผู้ป่วยแผนที่บ้าน พร้อมอุปกรณ์เก็บสิ่งส่งตรวจ จากนั้นจะโทรประสานนัดหมายและเดินทางไปเจาะเลือดหรือเก็บสิ่งส่งตรวจถึงบ้านแล้วนำส่งไปยังห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลเพื่อตรวจวิเคราะห์ผลต่อไป
ผู้ว่าฯ กทม. เพิ่มเติมว่า ในกรณีที่ผู้ป่วยมีผลตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ และแพทย์เห็นสมควรก็สามารถรับบริการรักษาทางไกลหรือ Telemedicine ได้ข้อมูลผลตรวจทางห้องปฏิบัติการจะถูกส่งต่อให้แพทย์เพื่อใช้ในการวินิจฉัยและติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วยผ่านระบบ Video Call ในส่วนบริการรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านหรือทางไปรษณีย์ ข้อมูลการสั่งจ่ายยาของแพทย์จะถูกส่งไปที่ห้องยาของโรงพยาบาลทางเภสัชกรจะแพ็คยาแล้วจัดส่งไปยังร้านยาที่อยู่ใกล้บ้านผู้ป่วย หรือที่บ้านผู้ป่วยทางไปรษณีย์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถเดินทางไปรับยาที่ร้านยาหรือรอรับยาที่บ้านได้เลยโดยไม่ต้องมาโรงพยาบาล
ด้านนพ. ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า การจัดบริการสุขภาพแบบ New Normal เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สปสช. เน้นหนักในปี 2564 โดยได้นำร่องในพื้นที่กรุงเทพมหานครปริมณฑลและต่างจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหาที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เพื่อให้เกิดผลในระยะยาว โดยเน้นประชาชนสำคัญ ในการให้ได้รับบริการตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางทำให้โครงการเกิดความยั่งยืน 2. ปรับเข้าสู่ New normal ที่จะมาช่วยเสริมบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ประชาชน
“สำหรับบริการ Telemedicine ในส่วนขั้นตอนการรับบริการนั้นแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการผู้ป่วยว่ามีอาการคงที่พร้อมที่จะรับการรักษาผ่านระบบ หรือไม่ หากประเมินแล้วพบว่าผู้ป่วยมีความพร้อมก็จะแจ้งให้ทราบ และสอบถามความสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จากนั้นพยาบาลจะติดต่อชี้แจงข้อตกลงวิธีการตรวจทางไกลและนัดหมายผู้ป่วย ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยากเพียงแค่มีสมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อื่น ๆ ที่รองรับได้จากนั้นดาวน์โหลดแอปพลิเคชันตามที่โรงพยาบาลกำหนด” เลขา สปสช. กล่าว
ทั้งนี้โครงการรับยาใกล้บ้านและรับยาทางไปรษณีย์ เลาขา สปสช. บอกว่า ได้ดำเนินการมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ปัจจุบันมีร้านยาในเขตกทม. 30 แห่งที่พร้อมให้บริการผู้ป่วยจากโรงพยาบาลในสังกัดกทม. ซึ่งข้อดีอีกประการของการรับยาที่ร้านยาคือผู้ป่วยจะมีเวลาพูดคุยรับคำปรึกษาเรื่องยากับเภสัชกรได้นานกว่าที่โรงพยาบาลอีกทั้งเภสัชกรจะช่วยติดตามอาการเบื้องต้นและประเมินผลการใช้ยาให้อีกทางหนึ่งด้วย
เลขา สปสช. กล่าวอีกว่า ยังได้มีการปรับระบบการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการแก่หน่วยบริการ เพื่อสนับสนุนให้บริการสุขภาพแบบ New Normal เกิดขึ้นได้จริงประกอบด้วย การปรับระบบการจ่ายเงินชดเชยค่าบริการเจาะเลือดและเก็บสิ่งตรวจนอกหน่วยบริการในระยะแรก และจ่ายเงินชดเชยค่าบริการระบบสาธารณสุขทางไกลหรือ Telemedicine โดยเน้นกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายเก่าที่มีอาการคงที่สามารถควบคุมโรคได้ดี แพทย์สามารถตรวจรักษาผ่านระบบทางไกลได้ไม่จำเป็นต้องเดินทางมาหาถึงโรงพยาบาล
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |