'วุฒิสภา' เห็นชอบเพิ่มหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการสิทธิฯ


เพิ่มเพื่อน    

20 ก.พ.64 - นางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ทำหน้าที่แทนประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยถึงการร่วมชี้แจงและให้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านกฎหมายต่อที่ประชุมวุฒิสภากรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เห็นสมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชน เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 ว่า สมาชิกวุฒิสภามีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ต่อข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ที่เสนอให้แก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 โดยเพิ่มหน้าที่และอำนาจให้ กสม. สามารถดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชนได้

นางประกายรัตน์ ระบุว่า ตามที่ กสม. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา โดยได้เสนอปัญหาอุปสรรคประการหนึ่งในการปฏิบัติงาน คือ หน้าที่และอำนาจของ กสม. ที่กำหนดไว้ในมาตรา 247 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ประกอบมาตรา 26 (1) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 มิได้บัญญัติหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชนไว้ ทำให้ กสม. ไม่สามารถดำเนินการคุ้มครองและเยียวยาประชาชนที่ถูกละเมิดสิทธิได้อย่างรวดเร็ว 

ซึ่งต่อมา คณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ได้นำประเด็นดังกล่าวมาศึกษาเชิงลึก โดยได้เชิญผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ มาให้ข้อมูล และโดยเฉพาะข้อมูลจากเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ที่ให้ข้อมูลในส่วนหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติออสเตรเลีย ประกอบกับได้รับทราบจาก กสม. เกี่ยวกับข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการประเมินสถานะ (Sub-Committee on Accreditation: SCA) ภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Global Alliance of National Human Rights Institutions: GANHRI) ในรายงานการพิจารณาประเมินสถานะของ กสม.  เมื่อเดือนธันวาคม 2563 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่กึ่งตุลาการ ซึ่ง SCA ได้อ้างอิงหลักการปารีสและให้ข้อมูลว่าสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถมีหน้าที่และอำนาจครอบคลุมไปถึงการแสวงหาข้อยุติที่น่าเชื่อถือและปรองดอง ผ่านกระบวนการแก้ไขทางเลือก คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อยุติความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

นางประกายรัตน์ กล่าวต่อไปว่า ในการเข้าร่วมชี้แจงและให้ข้อมูลแก่ที่ประชุมวุฒิสภา ตนได้กล่าวถึงกรณีที่ กสม. ถูกปรับลดสถานะจาก A เป็น B เมื่อปี 2558 และการขอเข้ารับการประเมินสถานะอีกครั้งเมื่อปี 2561 ด้วยเห็นว่า สาเหตุของการปรับลดสถานะเมื่อปี 2558 ได้รับการผลักดันและได้ดำเนินการแก้ไขข้อห่วงกังวลตามข้อเสนอแนะดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อเดือนธันวาคม 2563 ตนได้เข้ารับการสัมภาษณ์และตอบข้อซักถามของ SCA เพื่อประกอบการประเมินสถานะของ กสม. ผ่านระบบทางไกล ซึ่งต่อมา SCA ได้แจ้งมติให้เลื่อนการพิจารณาประเมินสถานะของ กสม. ออกไปเป็นเวลา 18 เดือน เนื่องจาก SCA มีข้อห่วงกังวลในประเด็นด้านกฎหมาย 2 กรณี

ประเด็นแรก ได้แก่ ความเป็นอิสระของ กสม. ที่สืบเนื่องมาจากบทบัญญัติมาตรา 247 (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 26(4) ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ที่กำหนดให้ กสม. ต้องชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม ซึ่งไม่เคยปรากฏว่ามีสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติใดที่กฎหมายกำหนดให้มีหน้าที่ในลักษณะดังกล่าว ซึ่งจะลดทอนความเป็นอิสระที่แท้จริงหรือที่สาธารณะรับรู้ (actual or perceived independence) โดย SCA เสนอแนะให้ กสม. ผลักดันให้มีการยกเลิกบทบัญญัตินี้

 ประเด็นที่สอง ได้แก่ อำนาจหน้าที่กึ่งตุลาการของ กสม. ซึ่งตามมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ก่อนหน้านี้ได้เคยให้อำนาจแก่ กสม. ที่จะดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ แต่กฎหมายปัจจุบัน ไม่ปรากฏว่า กสม. มีหน้าที่และอำนาจดังกล่าว ซึ่ง SCA เห็นว่า กสม. ควรผลักดันให้หน้าที่และอำนาจดังกล่าวกลับคืนมา ซึ่งสอดคล้องกับรายงานผลการศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ อันเป็นการส่งเสริมให้มีการระงับข้อพิพาทอย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน ทำให้ข้อพิพาทสามารถยุติลงได้ในเวลาอันรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้อง เป็นการลดภาระของประชาชนและลดจำนวนคดีที่ขึ้นสู่ศาล

“ขอขอบคุณสมาชิกวุฒิสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานและคณะอนุกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ คณะที่ 1 ที่ได้ให้ความสำคัญต่อข้อเสนอแนะเกี่ยวกับอุปสรรคในการปฏิบัติงานของ กสม. และสนับสนุนให้ กสม. ได้หน้าที่และอำนาจไกล่เกลี่ยกลับคืนมา โดยหลังจากที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบอย่างเป็นเอกฉันท์ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 แล้ว วุฒิสภาจะส่งรายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปยังคณะรัฐมนตรีและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อให้พิจารณาดำเนินการแก้ไขกฎหมายต่อไป” นางประกายรัตน์ กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"