จุฬาฯเดินหน้าวิจัยวัคซีนรุ่น2สู้เชื้อโควิดกลายพันธุ์ ทั้งสายพันธุ์อังกฤษ แอฟริกาใต้


เพิ่มเพื่อน    

18ก.พ.64-โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าว “ความก้าวหน้าล่าสุดของการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และความพร้อมในการทดสอบในอาสาสมัคร” ณ ห้องประชุม 1210 ชั้น 12 อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ให้สัมภาษณ์ โครงการทดลองวัคซีนCU COV19  ป้องกันโควิด19 ที่เป็น mRNA ของจุฬาฯ ว่ายังคงเดินหน้า การเริ่มทดลองในมนุษย์เฟส 1 ราวเดือนพ.ค.  ในอาสาสมัคร  36 คนอายุ 18-25  ปีซึ่งเป็นการทดลองชุด A หลังจากนั้นทดลองชุด B  รุ่นอายุ 65-75 ปี จำนวน 300-600 คน  หลังจากนั้นจะมีการทดลองในเฟส 2 ในอาสาสมัครประมาณ 5,000 คน  ซึ่งเวลานี้องค์การอนามัยโลก(WHO) กำลังจะออกเกณฑ์กำหนดคุณสมบัติประสิทธิภาพของวัคซีน  ในระดับการเพิ่มภูมิคุ้มกันหรืองแอนตี้บอดี้ และทีเซลล์ว่าต้องมีระดับเท่าไหร่  จึงเป็นที่เชื่อถือได้ว่ามีประสิทธิภาพ ทำให้เป็นข้อดีและได้เปรียบสำหรับวัคซีนต่างๆที่กำลังอยู่ระหว่างการวิจัยในขณะนี้ อาจไม่ต้องทดลองระยะที่ 3    ซึ่งวัคซีนCU-COV 19 ก็อยู่ในช่ายนี้ด้วยเช่นกัน 


"ตอนนี้มี 7 วัคซีน ที่ผ่านการทดลองเฟส 3 ไปแล้ว แต่ทั่วทั้งโลก มีวัคซีน ที่อยู่ระยะทดลองในคน 60-80 วัคซีน จากทั้งหมด 300 วัคซีนที่กำลังวิจัยกัน  ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  ส่วนวัคซีนของจุฬา ที่กำลังเข้าสู่การทดลองในคน ก็ได้รับการบรรจุรายชื่อ ในลิสต์นิตยสารนิวยอร์กไทม์แล้ว"

ภาพแสดงประสิทธิภาพระดับทีเซลล์ และแอนตี้บอดี้ของวัคซีน CU COV19 


ศ.นพ.เกียรติกล่าวอีกว่า สำหรับประสิทธิภาพวัคซีนของจุฬาฯ มีข่าวดีหลายเรื่อง เรื่องหนึ่งผลการทดลองในหนูพันธุ์พิเศษ พบว่าวัคซีนที่วิจัย มีประสิทธิภาพ 100% โดยเฉพาะการป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าเกาะเซลล์ได้ผลสูงกว่าวัคซีนของโมเดอร์นา  อีกทั้ง ยังสามารถป้องกันเชื้อเข้าไปในกระแสเลือด  ใช้ปริมาณโดสที่ฉีดก็ใช้น้อยกว่าโมเดอร์นา  นอกจากนี้จากการทดลองเมื่อนำเชื้อโควิดใส่เข้าไปในจมูกสัตว์ทดลองที่ได้รับวัคซีนพบว่า เชื้อลดลง 10 ล้านเท่า ซึ่งวัคซีนทำให้ไม่เกิดอาการป่วยแม้ได้รับเชื้อ ซึ่งจะเท่ากับจะไม่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย 


ผอ.โครงการวิจัยวัคซีนจุฬาฯ กล่าวอีกว่า  ข่าวดีประการต่อมา คือ  ขณะนี้  จุฬาฯ กำลังทำวิจัยวัคซีนที่ครอบคลุมเชื้อโควิด กลายพันธุ์ 3 สายพันธุ์ ได้แก่เชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์อังกฤษและสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ซึ่งจะทำวิจัยควบคู่ไปกับการทดลองวัคซีนชุดแรกรุ่นที่ 1  คาดว่าในช่วงเริ่มต้นการทดลองระยะที่ 2 จะมีการทดลองวัคซีนเชื้อกลายพันธุ์ในสัตว์ทดลอง ในหนู และลิงควบคู่กันไป   ซึ่งวัคซีนmRNA มีจุดเด่นตรงที่สามารถออกแบบให้สามารถตอบโต้เชื้อดื้อ กลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว   และหากการวิจัยวัคซีนรุ่น 2 สำเร็จได้ผลน่าพอใจ ก็อาจจะข้ามไม่ต้องใช้วัคซีนรุ่นที่ 1 ไปฉีดวัคซีนรุ่นที่ 2แทน

เปรียบเทียบประสิทธิภาพวัคซีน CU COV19 กับวัคซีนของโมเดอร์นา


" ขณะนี้บริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างไฟเซอร์ หรือโมเดอร์นา ก็กำลังทำการทดลองวัคซีนรุ่นที่ 2 เชื้อกลายพันธุ์ในหนู  กับลิงแล้ว  ซึ่งการกลายพันธุ์เกิดขึ้นได้ตลอด ถ้าประเทศไหนมีการระบาดเยอะ ก็จะเกิดเชื้อกลายพันธุ์เยอะตามไปด้วย  ทุกรอบที่ติดเชื้อ เชื้อมันจะถอดรหัสพันธุกรรมผิดพลาด  ถอดไปเรื่อยๆ เชื้อก็จะกลายพันธุ์ ฉะนั้นไม่แปลกใจที่มีสายพันธุ์อังกฤษ หรือแอฟริกาใต้  ซึ่งในสหรํฐตอนนี้ก็เจอ 7 สายพันธุ์  แต่ยังมีข่าวดีว่าเชื้อนี้ไม่ทำให้โรครุนแรง เพียงแต่มันติดง่าย  แต่การกลายพันธุ์นี้ มีหลักฐานว่าทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนที่ผลิตได้ตอนนี้ ลดลง เช่น ของจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน หรือของโมเดอร์นา เมื่อฉีดในแอฟริกาใต้ ดังนั้น เราจึงต้องเตรียมวัคซีนรุ่นที่ 2 ครอบคลุมเชื้อกลายพันธุ์ 3 สายพันธุ์ไว้ และต่อไปเราอาจข้ามไปใช้วัคซีนรุ่นที่ 2 แทนเลย เพราะมีผลครอบคลุมมากกว่า  "

ศ.นพ.เกียรติ กล่าวอีกว่า ข่าวดีอีกประการในวัคซีนของจุฬาฯ คือ สามารถเก็บรักษาในอุณหูมิ  2-8องศา เซลเซียสได้นานอย่างน้อย  1เดือน     และอยู่ระหว่างรอผลวิจัยการเก็บให้ได้นาน 3 เดือน เพื่อให้การขนส่งกระจายวัคซีนไปยังต่างจังหวัดทั่วประเทศจึงสามารถทำได้อย่างสะดวก

ทีมนักวิจัยและพาร์ทเนอร์วัคซึนจุฬาฯ หนึ่งในนั้นมี ศ.Drew Weissman แห่งมหาวิทยาลัยเพนซินวาเนีย พันธมิตร

ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาฯเผู้คิดค้นเทคโนโลยี mRNA ซึ่งทั้งไฟเซอร์ และโมเดอร์นานำไปใช้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"