ฝุ่นPM2.5 ทำคนกรุง ตายหมื่นศพ


เพิ่มเพื่อน    


    เผยฝุ่นพิษทำคนตายเร็วขึ้น 1.4 หมื่นคนใน 6 จังหวัด กรุงเทพฯ คว้าแชมป์เกือบหมื่นราย รองลงมา เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น และระยอง ชี้แม้ล็อกดาวน์โควิด ปัญหามลพิษอากาศไม่เบาลง กรีนพีซจี้รัฐเร่งแก้วิกฤติ เขตวังทองหลางอ่วมฝุ่นคลุม
    วันที่ 18 ก.พ. ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ตรวจวัดได้ 30-58 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 4 พื้นที่ คือ 1.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมันเอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม., เขตบางกะปิ ข้างป้อมตำรวจ ตรงข้ามสำนักงานเขตบางกะปิ มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม., เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอนสแควร์ : มีค่าเท่ากับ 52 มคก./ลบ.ม., เขตบางนา บริเวณหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
    ต่อมา เวลา 10.00-12.00 น. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง มีค่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 1 พื้นที่ คือ เขตวังทองหลาง เวลา 13.00-15.00 น. ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีค่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 1 พื้นที่ คือ เขตวังทองหลาง     ทางกรุงเทพฯ แนะนำให้ประชาชนในพื้นที่มีมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐานเฝ้าระวังสุขภาพ ลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง
    วันเดียนวกัน อวินัช จันทร์ชาญ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ อินเดีย กล่าวว่า มลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล เพิ่มความเสี่ยงจากการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดทางสมอง ความเจ็บป่วยจากโรคหอบหืด และเพิ่มความรุนแรงของโควิด-19 ในเมื่อทางแก้ปัญหามลพิษทางอากาศมีอยู่พร้อมแล้วและมีราคาไม่แพง เราจึงไม่อาจทนหายใจเอาอากาศสกปรกเข้าปอดอีกต่อไป ปี 2563 กรุงเดลี ประเทศอินเดีย มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากฝุ่นพิษ PM2.5 ประมาณ 54,000 ราย หรือคิดเป็นอัตราการเสียชีวิต 1 คนต่อประชากร 500 คน, กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรประมาณ 13,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นพิษ PM2.5 อย่างต่อเนื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายราว 101,570,000,000 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.2 เทียบกับ GDP ทั้งหมดของกรุงจาการ์ตา
    "ในประเทศไทย มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรกว่า 14,000 รายใน 6 จังหวัด คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจราว 149,367,000,000 บาท กรุงเทพมหานครมีความเสียหายมูลค่าทางเศรษฐกิจจากมลพิษ PM2.5 ราว 104,557,000,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด โดยฝุ่นพิษ PM2.5 เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรในกรุงเทพฯ เกือบ 10,000 ราย ถือเป็นจังหวัดที่มีการเสียชีวิตจากฝุ่นพิษ PM2.5 สูงสุดในประเทศไทย รองลงมาคือ เชียงใหม่ ชลบุรี สมุทรสาคร ขอนแก่น และระยอง ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดความเสียหายที่เกิดขึ้นคือ ระยะเวลา ความหนาแน่นของประชากร และกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในจังหวัด ในขณะที่ประเทศไทยใช้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อรับมือกับสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 มาหลายเดือนแล้ว แต่ปัญหามลพิษทางอากาศกลับไม่ได้ลดน้อยลงเลย และกำลังคุกคามสุขภาพของประชาชนและระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่ว่าวิกฤติมลพิษทางอากาศจะได้รับการแก้ไข" อวินัชกล่าว 
    อวินัชกล่าวต่อว่า ในปี 2563 ความเสียทางเศรษฐกิจจากฝุ่นพิษ PM2.5 ใน 14 เมืองที่ปรากฏอยู่ในป้ายแสดงผลตัวเลขตามเวลาจริง คิดเป็นมูลค่ากว่า 149,367,000,000 บาท และเมืองที่มีค่าความเสียหายจากมลพิษ PM2.5 สูงที่สุดที่บันทึกไว้คือ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 40,000 ราย เสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 1,284,560,000,000 บาท ลอสแองเจลิสทำสถิติสูงสุดด้านค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจจากฝุ่นพิษ PM2.5 ต่อคน โดยคิดเป็นมูลค่า 80,658.20 บาทต่อคน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"