ข้อคิดจาก ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ “วัคซีนพระราชทาน ใครได้-ใครเสีย” ช่อง You Tube คณะก้าวหน้า Progressive Movement วันที่ 18 มกราคม 2564 22.13 น.
บทความนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง และไม่ต้องการพิสูจน์ว่า กรณีไลฟสดของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจเรื่องการจัดหาวัคซีนโควิดของประเทศไทย ใครถูกใครผิด เพราะเรื่องนี้เป็นคดีอยู่ในกระบวนการยุติธรรมแล้ว บทความนี้ ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นถึงการใช้วาทศิลป์ในเชิงภาษาศาสตร์ที่ซับซ้อนในการพูดอภิปรายของนายธนาธร ซึ่งไปสู่การสร้างตรรกะที่บิดเบือนจากเหตุผลที่ควรจะเป็นและสิ่งที่เกิดขึ้นจริง แต่ก็ยังสะท้อนเจตนาของผู้พูดว่าต้องการอะไรแน่
จากการที่นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เสนอข้อมูลสดทางสื่อ You Tube ของคณะก้าวในลักษณะเชิงวิชาการ ตั้งคำถามหลายข้อที่มีนัยสำคัญเป็นข้อ ข้อกล่าวหาในประเด็นการจัดหาวัคซีนโควิทเพื่อประชาชนชาวไทย ที่นายธนาธรอ้างว่า เป็นเพียงวิจารณ์การทำงานของรัฐบาล เท่านั้น แต่หากผู้อ่านพิเคราะห์ข้อกล่าวหาเหล่านั้นให้ละเอียดและลึก รวมทั้งพิจารณาโดยรวม ไม่ดูเพียงคำพูดเฉพาะคำ ก็จะพบว่า ข้อกล่าวหาเหล่านั้นล้วนพุ่งเป้าไปที่บริษัท สยามไบโอไซน์ ซึ่งนายธนาธรพูดชัดเจนว่า เป็นบริษัทที่ถือหุ้น 100 % โดย “กษัตริย์วชิราลงกรณ์”
คำถามที่ตามมา คือ นายธนาธรวิจารณ์ใคร กล่าวหาใครกันแน่
ก่อนที่เราจะมาพิจารณาเรื่องข้อกล่าวหาของนายธนาธรที่กำลังเป็นที่สนใจของประชาชนชาวไทยจำนวนมากให้เห็นถ่องแท้ ผู้เขียนขอเสนอให้เข้าใจร่วมกันว่า การพิจารณาเรื่องใดๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ประเด็นเดี่ยวๆ แต่มีบริบท มีข้อเท็จจริงที่อยู่ในสถานการณ์แวดล้อมต่างกรรม ต่างวาระ และต่างเวลา มีเนื้อหาเชื่อมโยงกับข้อเท็จจริงและสถานการณ์หลากหลาย เราจะมาดูกันว่า การกล่าวอ้างของนายธนาธรที่ว่า ข้อมูลในคลิป “วัคซีนพระราชทาน ใครได้ ใครเสีย” ทั้งหมด เป็นเพียงการกล่าวหารัฐบาลที่มีพลเอกประยุทธ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรีเท่านั้น หรือไม่ หรือเป็นการวิจารณ์หรือกล่าวหาสถาบัน คือ พระเจ้าแผ่นดินในหลวงรัชกาลที่ 10 กันแน่ นายธนาธรกล่าวหาว่าอะไรบ้าง ตรงข้อเท็จจริงหรือไม่
ทั้งนี้ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การวิเคราะห์ข้ออภิปรายของนายธนาธร ย่อมต้องพิจารณาบริบทของข้ออ้างในหลายสถานการณ์ รวมถึงข้อเท็จจริงทั้งหมดที่ประมวลเป็นภาพรวม มิใช่พิจารณาเฉพาะคำ หรือเพียงประโยคเดียว หลักการวิเคราะห์ตัวบทดังกล่าว เป็นที่ยอมรับเชิงวิชาการทั่วไป เป็นศาสตร์สาขาย่อยของภาษาศาสตร์หลายสาขา (Pragmalinguistics/Textlinguistics/Sociolinguistics) ซึ่งเป็นการศึกษาภาษาโดยตรง เกี่ยวพันกับการวิเคราะห์ในแง่วาทศิลป์ รวมถึงความสัมพันธ์ของผู้พูดและผู้ฟังที่เชื่อมโยงกับสถานการณ์ของการสนทนาและสถานการณ์ของเนื้อหาทั้งหมดรวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวบทด้วย
ผู้อ่านที่ได้ชมคลิปทางยูทูปของนายธนาธรเรื่องนี้ จะเห็นชัดเจนว่า การเสนอข้อมูลของนายธนาธรในประเด็นการจัดหาวัคซีนโควิทในประเทศไทย เป็นการเสนอข้อมูลเชิงวิชาการ ใช้วิธีพูดเชิงวาทศิลป์ (rhetoric) มีการพูดซ้ำ ย้ำ ปลุกเร้าความสนใจด้วยคำถามและขยายความถึงผลเสียที่อาจตามมารวมทั้งยกตัวอย่างมากมาย ทั้งตัวอย่างเชิงคุณภาพและปริมาณ แสดงด้วยตารางและข้อมูลทางสถิติ เพื่อโน้มน้าวให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจข้อกล่าวหาของตนชัดเจนขึ้น โดยพูดให้เป็นวิชาการน่าเชื่อถือ ข้อหาทั้งหมดพุ่งประเด็นไปที่เรื่องวัคซีนเพื่อฉีดป้องกันการระบาดของโควิด-19 อย่างมีนัยแฝงที่สำคัญ
ข้อกล่าวหาแรกของนายธนาธร คือ
1. มีการผูกขาดการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนไทยผ่านทางบริษัทเอกชน Siam Biosciences ทั้งการเจรจาหาวัคซีนก็ไม่ทันการ จะทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนช้าเกินไป ต้องใช้ชีวิตที่ลำบากทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจ ตกอยู่ในความกลัว ซึ่งหากประเทศไทยเจรจาซื้อวัคซีนโดยเร็วเช่นประเทศอื่นๆ ในเอเชียและยุโรป (ดังตัวอย่างที่ยกมา รวมทั้ง time line ของการเจรจาและการจัดหาวัคซีนกับการฉีดวัคซีน) ย่อมจะเป็นผลดีต่อธุรกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ แต่รัฐบาลกลับทำงานประมาท ไม่เร่งเจรจาแต่เนิ่นๆ โดยรัฐบาลยกเรื่องวัคซีนทั้งหมดไปให้บริษัทเอกชนเพียงเจ้าเดียวเป็นผู้จัดการ นั่นคือ บริษัทสยามไบโอไซน์ (Siam Bioscience)
นายธนาธรได้เชื่อมโยงข้อกล่าวหานี้ให้เห็นชัดยิ่งขึ้น โดยเน้นย้ำถึง 10 ครั้ง ว่า ประเด็นการผูกขาดวัคซีน เจรจาเพียงเจ้าเดียวโดยบริษัทเอกชนสยามไบโอไซน์ ซึ่งเป็นบริษัทที่รัชกาลที่ 10 เป็นผู้ถือหุ้นเบ็ดเสร็จทั้งหมด 100 % โดยนายธนาธรใช้คำว่า “บริษัทเจ้าเดียว” ตรงๆ หรือกล่าวหาโดยนัยทางอ้อมผ่านการยกตัวอย่างว่า ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในอาเซียนที่เจรจาซื้อวัคซีนกับหลายเจ้าเพื่อนำวัคซีนเข้ามาฉีดให้ประชาชนของแต่ละประเทศ
การกล่าวหาครั้งที่ 1, 2 และ 3 ดูหน้าที่ 2 หน้า 3 ผ่าน Chart ครั้งที่ 4 หน้า 4 ผ่าน Chart ออกชื่อ
“วชิราลงกรณ์” ตรงๆ ครั้งที่ 5 ผ่าน Chart โครงสร้างของบริษัท Siam Bioscience หน้า 5 เอ่ยชื่อ “กษัตริย์
วชิราลงกรณ์” ครั้งที่ 6 เสนอ Time Line การจัดหาวัคซีนล่าช้า นับเป็นการกล่าวหาโดยอ้อมที่ไทยได้รับวัคซีนช้า เพราะการจัดหาวัคซีนขึ้นอยู่กับบริษัทของสยามไบโอไซน์เพียงเจ้าเดียว (Chart บนแรก) หน้า 6
จากนั้น นายธนาธรได้เร่งเร้าความสนใจ ย้ำประเด็นการจัดหาวัคซีนเพียงเจ้าเดียวอีก โดยทั้งเขียนและพูดชัดเจนถึงกับใช้คำว่า วัคซีนพระราชทาน “วัคซีนพระราชทาน ใครได้-ใครเสีย” ซึ่งเป็นการกล่าวหาในครั้งที่ 7 เรื่องการผูกขาดการจัดหาวัคซีน (หน้า 6 Chart ล่าง) ทั้งยังให้ตัวอย่างว่า ประเทศอื่นๆ ในยุโรปมีการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ประเทศไทยกลับล่าช้าเพราะผูกขาดเจรจาอยู่กับวัคซีนเจ้าเดียว กว่าจะเริ่มเจรจาก็ล่าช้าไม่ทันการ
ครั้งที่ 8, 9 และ 10 นายธนาธรใช้คำว่า “ฝากความหวังไว้กับเจ้าใดเจ้าหนึ่งเป็นการเฉพาะ” โยงกับข้อกล่าวหาที่ว่า “ไม่ใช่การตัดสินใจของผู้บริหารที่ดี” ทั้งยังให้ตัวอย่างว่า ยังมีวัคซีนของเจ้าอื่นประเทศอื่นอีกหลายประเทศ เช่น วัคซีนสปุดนิค (Sputnik) ของรัสเซีย วัคซีน ซิโนแวค ของประเทศจีน หรือวัคซีนของบริษัทไฟรเซอร์จากยุโรป เป็นต้น (หน้า ๘) เพื่อให้ข้อกล่าวหาของตนดูน่าเชื่อถือและเที่ยงธรรม
ทั้งหมดที่กล่าวมา เท่ากับเป็นการกล่าวหารัชกาลที่ 10 โดยตรงว่า ไม่ใช่ผู้บริหารที่ดี นอกจากนี้ นายธนาธร
ยังพูดอีกว่า “...ยกตัวอย่างมาเพียง 4 - 5 ตัว เพื่อให้ทุกท่านเห็นว่า เรายังมีตัวเลือกอื่นๆ ที่เราสามารถเจรจาได้ (หน้า 8 ย่อหน้าเดียวกัน) เป็นการเน้นย้ำและเชื่อมโยงกับข้อกล่าวหาที่ว่า พระมหากษัตริย์ตัดสินพระทัยและจัดการทั้งหมดผ่านทางรัฐบาลโดยบริษัทสยามไบโอไซน์ให้เป็นผู้ผูกขาดการจัดหาวัคซีนให้ประชาชนไทย กรณีนี้เป็นการใช้ภาษาที่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องเชิงนัย ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้คำในภาษาเป็นคำเดียวกันว่า “ผูกขาด” หรือ “เจ้าเดียว”ทุกครั้งไป แต่เป็นการใช้ภาษาที่ผูกพันเกี่ยวเนื่องหรือเชื่อมโยงพุ่งชี้ไปที่ข้อความเดียวกัน ผ่านทาง “ตัวเลือกอื่นๆ” และ “ตัวอย่างหลายตัวอย่าง” (หน้า 9 หน้า 10)
จะเห็นได้ว่า ตัวอย่างการเจรจาซื้อวัคซีนของประเทศอื่นๆ ได้แก่ มาเลเซีย ไต้หวัน และฟิลิปปินส์ ได้รับการตอกย้ำพูดซ้ำๆ หลายครั้งเพื่อให้ข้อกล่าวหาดูสมจริงและน่าเชื่อถือ กับนายธนาธรยังได้ยกตัวอย่างเรื่องการฉีดวัคซีนได้รวดเร็วของประเทศในอาเซียนและยุโรปหลายประเทศรวมถึงประเทศอิสราเอลในตะวันออกกลางประกอบด้วย
นับได้ว่า นายธนาธรกล่าวหารัชกาลที่ 10 ในฐานะที่ทรงผู้ถือหุ้น 100% บริษัทสยามไบโอไซน์ที่ผูกขาดการนำเข้สวัคซีนแก้ไขปัญหาโควิท นำไปสู่ปัญหาต่างๆ ที่ตามมา เป็นผลเสียต่อประเทศไทยอย่างร้ายแรง ทำให้ ประชาชนตกอยู่ในความกลัว
ข้อกล่าวหาเรื่องมีการจัดหาวัคซีนเพียง “เจ้าเดียว” และ “ผูกขาด” วัคซีนของนายธนาธร ได้รับการขยายความ นำไปสู่การกล่าวหาข้อถัดไป กล่าวคือ
2. การจัดหาวัคซีนของบริษัทสยามไบโอไซน์ทำโดยรัฐบาลที่นำงบประมาณของรัฐไปสนับสนุนบริษัทเอกชน “เป็นบริษัทของรัชกาลที่ 10” เป็นบริษัทที่ดำเนินการไม่โปร่งใส โดยนายธนาธรยกตัวอย่างข้อคิดเห็นของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติครั้งที่ 5 วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563 โดยกรรมการท่านหนึ่งว่า (ไม่ใช่ความเห็นหรือมติของคณะกรรมการทั้งชุด - ประเด็นนี้ควรตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุมตามวันเวลาดังกล่าวหรือไม่) การดำเนินงานจัดหาวัคซีน โดยมอบหมายให้บริษัทเอกชนเพียงบริษัทเดียวที่ถือหุ้น 100% โดยกษัตริย์วชิราลงกรณ์นั้น ควรดำเนินการให้รอบคอบโปร่งใส นำไปสู่ข้อสงสัยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการขัดกันทางผลประโยชน์หรือไม่ นับเป็นการกล่าวเชิงวาทศิลป์ ชี้ประเด็นเพื่อปลุกความสงสัย เร่งเร้าให้ประชาชนสนใจมากขึ้นและตั้งคำถามในประเด็นความซื่อตรงของการทำงานของบริษัท ซึ่งเท่ากับเป็นการกล่าวหารัชกาลที่ 10 โดยอ้อมที่มีนัยอย่างสำคัญเพื่อทำให้ประชาชนเคลือบแคลงในการการะทำขององค์พระมหากษัตริย์ ว่าไม่โปร่งใส อาจมีผลประโยชน์แอบแฝง
3. นอกจากนี้ นายธนาธรยังว่า บริษัทสยามไบโอไซน์โดยเนื้อแท้และวัตถุประสงค์การทำงานไม่ใช่บริษัทที่ผลิตวัคซีน แต่ ผลิตยา แสดงถึงว่า นายธนาธรไม่เข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์ ไม่เข้าใจเรื่องการสาธารณสุขและปราศจากความเข้าใจเรื่องวิชาการ ทั้งยังปกปิดข้อมูลเรื่อง วัตถุประสงค์ ของสยามไบโอไซแอนที่ต้องการผลิตยาให้ราคาต่ำกว่ายาที่นำเข้าจากต่างประเทศเพื่อช่วยเหลือคนไทยให้สามารถหาซื้อยาในประเทศได้ในราคาที่ไม่แพงจนเกินไป
4. ข้อกล่าวหานี้ นำมาสู่ข้อกล่าวหาต่อไปของนายธนาธรที่ว่า การทำงานของสยามไบโอไซน์ ไร้ประสิทธิภาพ มีบริษัทลูกถึงสามบริษัท ทั้งยังติดต่องานกับต่างประเทศด้วย แต่ล้มเหลวทั้งบริษัทแม่และบริษัทลูกทุกบริษัท ดำเนินงานขาดทุนทางธุรกิจไม่เคยมีกำไรเลย (หน้า 11 – 12) นับเป็นการกล่าวหาโดยอ้อม เชื่อมโยงกับข้อกล่าวหาประเด็นการทำงานไร้ประสิทธิภาพที่อาจจะเกิดจากการทำงานที่ไม่โปร่งใส ไม่ซื่อตรง และไร้ประสิทธิภาพของสยามไบโอไซน์มาตั้งแต่รัชกาลที่ 9 ต่อเนื่องมาจนถึงรัชกาลที่ 10 บริษัทจึงขาดทุนมาโดยตลอด โดยนายธนาธรอ้างมาตรฐานเรื่องขาดทุน-กำไรของพ่อค้ามาตัดสินการทำงานเพื่อช่วยเหลือประชาชนคนไทยด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพในลักษณะเวลแฟร์ (welfare) ของบริษัทสยามไบโอไซน์ สะท้อนความเป็นพ่อค้าที่คิดแต่จะแสวงหาแต่ผลกำไรของนายธนาธร ไม่เคยนึกถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างที่เคยแอบอ้างว่าตนเองเป็นคนของประชาชน เป็นหนึ่งในคณะราษฎร์ที่ทำทุกอย่างเพื่อประชาชนแต่อย่างใด ประเด็นสำคัญโดยนัยของข้อกล่าวหาว่า การทำงานที่ไร้ประสิทธิภาพของของบริษัทสยามไบโอไซน์ นับเป็น ข้อกล่าวหากษัตริย์วชิราลงกรณ์ที่ไร้ความสามารถในการทำงานโดยสิ้นเชิงอีกด้วย
5. ข้อกล่าวหาที่สำคัญที่สุดและขมวดปมข้อกล่าวหาหลักกับข้อกล่าวหาย่อยทั้งหมดที่กล่าวมา
แล้ว คือ นายธนาธรเชื่อมโยงเรื่องการทำงานของรัฐบาลกรณีการเจรจาจัดหาวัคซีนและการดำเนินการทั้งหมดเกี่ยวกับวัคซีนเข้ากับประเด็นทางการเมืองชัดเจน “รัฐบาลทำเช่นนี้เพื่อสร้างคะแนนนิยมทางการเมืองก่อนผลประโยชน์ของประชาชน” (ครั้งที่ 1 หน้า 2 ย่อหน้าที่ 1 / ครั้งที่ 2 ซ้ำอีกหน้า 13 บรรทัดสุดท้าย / และครั้งที่ 3 เป็นขมวดประเด็นทั้งหมดของการ Live สดครั้งนี้ สู่ประเด็นการเมืองดังกล่าวในหน้า 15)
แต่ .. ข้อกล่าวหานี้ของนายธนาธรมิใช่ข้อกล่าวหารัฐบาลของประเทศไทยในขณะนี้ ทั้งยังไม่ใช่กล่าวหาพลเอกประยุทธ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี และไม่ใช่เป็นการปกป้องกษัตริย์วชิราลงกรณ์ตามที่นายธนาธรกล่าวอ้างแก้ตัว
แต่เป็นการกล่าวหาพระมหากษัตริย์ว่ากระทำผิดอย่างชัดเจน
ข้อแก้ตัวของนายธนาธรว่า วิจารณ์รัฐบาลจึงสมควรตกไป เนื่องจากเหตุผลและความเกี่ยวเนื่องตามนัยทั้งทางตรงและทางอ้อมทั้งด้านภาษาและเนื้อความล้วนชี้ชัดว่า นายธนาธรเชื่อมโยงการทำงานของรัฐบาลเข้ากับบริษัทเอกชน สยามไบโอไซน์โดยตรงที่มีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขถือหุ้น 100% ดังข้อวิเคราะห์ก่อนหน้า ถึงขนาดใช้คำว่า “วัคซีนพระราชทาน” ทั้งยังพูดด้วยว่า บริษัท Siam Bioscience คือ ในหลวงรัชกาลที่ 10 ที่ถือหุ้น 100% โดยตรง ซึ่งผู้ที่เป็นนักุรกิจ หรืออยู่ในวงการธุรกิจ ย่อมรู้อยู่แก่ใจว่า หัวใจการทำงานของบริษัทใดก็ตาม อยูที่ผู้ถือหุ้นใหญ่
ประเด็นสืบเนื่องสำคัญ คือ นายธนาธรได้เชื่อมโยงเรื่องการเรียกคะแนนนิยมของรัฐบาลทางการเมืองเข้ากับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง ผ่าน Timeline ของการเจรจาจัดหาวัคซีนที่ล่าช้ากว่าจะเสร็จก็ในไตรมาสที่ 3 ของพ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ “มีการเรียกร้องของกลุ่มนักเรียนนักศึกษาประชาชนให้คุณประยุทธ์ลาออก เรียกร้องให้มีการแก้ไขและธรรมนูญและเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์...” (หน้า 13) กับทั้งเชื่อมโยงหาเหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวหาหรือข้อสังเกตของตนข้อนี้เข้ากับ การอนุมัติแผนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติพ.ศ. 2563 - 2565 ที่ชื่อวัคซีน AstraZeneca ไม่เคยอยู่ในแผนเลย นับเป็นถ้อยคำเชิงวาทศิลป์ (rhetoric) คือพูดเป็นเชิงลบก่อนเพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของผู้ฟัง หลังจากนั้น นายธนาธรเสนอข้อมูลตรงกันข้ามกับข้อเท็จจริงที่ถูกต้องที่ว่า ทำไม ในที่สุดสยามไบโอไซน์ของรัชกาลที่ 10 จึงโผล่มาในแผนความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ: “เป็นการฝากอนาคตประเทศไทยไว้กับบริษัท AstraZeneca และกับบริษัทสยามไบโอไซน์มากเกินไปหรือเปล่า”(หน้า 14) “มันนำมาสู่คำถามสุดท้ายว่า ผู้ถือหุ้นของบริษัท Siam Bioscience คือในหลวงรัชกาลที่ 10 ถือหุ้นโดยตรง...คุณประยุทธในฐานะนายกรัฐมนตรีอนุมัติดีลอย่างนี้ คุณประยุทธ์จะรับผิดชอบได้หรือไม่...เพราะประชาชนย่อมจะตั้งคำถามกับบริษัท Siam Bioscience ซึ่งมีผู้ถือหุ้นก็คือ ในหลวงรัชกาลที่ 10” (ท้ายหน้า 14 ต้นหน้า 15)
โดยหลักวิชาการของการวิเคราะห์ตัวบททางภาษาศาสตร์ดังได้กล่าวแล้วในช่วงต้นของบทความ การเชื่อมโยงประเด็นที่กล่าวหาเข้ากับประเด็นการเมือง ได้แก่ การหาคะแนนนิยมของรัฐบาลประยุทธ์กับ “บริษัท สยามไบโอไซน์” เชื่อมโยงกับ “วัคซีน” กับ “ในหลวงรัชกาลที่ 10” อย่างชัดเจน ประหนึ่งว่า เป็นการกล่าวหารัฐบาล แต่ที่จริง นายธนาธรกำลังกล่าวหารัชกาลที่ 10 ในฐานผู้ถือหุ้น 100 % ของบริษัท Siam Bioscience ที่ได้รับการเลือกจาก AstraZeneca ให้ทำการผลิตวัคซีน ถึงกับใช้คำว่า วัคซีนที่ผลิตจากบริษัทนี้เป็น”วัคซีนพระราชทาน” ที่รัฐบาลพยายามอิงตนเองกับสถาบันให้เป็นที่ชื่นชอบของประชาชนทางการเมืองในช่วงที่มีการประท้วงคัดค้านสถาบันของคณะราษฎร 2563 (ไม่เพียงคัดค้าน แต่ยังดูถูกดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างหยาบคายเป็นที่ประจักษ์ของประชาชนชาวไทยทั่วไป)
นั่นหมายความว่า เมื่อสถาบันพระมหากษัตริย์ถูกโจมตีวิพากวิจารณ์ รัฐบาลก็นำบริษัทของพระมหากษัตริย์ให้มาเป็นเกราะกำบังตนเองเพื่อเป็นทางรอดเดียวของประชาชนชาวไทย ผลิตวัคซีนให้คนไทยเพื่อให้รัฐบาลเป็นที่นิยมของประชาชน
ทั้งนี้ ไม่นับการที่นายธนาธรปกปิดพูดไม่หมด บิดเบือนข้อมูลเรื่องวัตถุประสงค์การทำงานและ
ผลงานของบริษัททุนลดาวัลย์ (รัชกาลที่ 9) กับของบริษัทสยามไบโอไซน์ในรัชกาลที่ 10 รวมทั้งปิดบังเรื่องไทม์ไลน์และเหตุผลที่มาของการที่ AstraZeneca เลือกสยามไบโอไซน์ให้เป็นตัวแทนผลิตวัคซีน ปิดบังไม่บอกเหตุผลของความจำเป็นที่ประเทศไม่ต้องเร่งรีบหาวัคซีนโดยเร็วเนื่องจากสถานการณ์การติดโควิทในไทยขณะนั้นไม่เลวร้ายเช่นในทุกประเทศที่นายธนาธรยกตัวอย่างมาทั้งในเอเชียและยุโรป ทำให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกับช่วงเวลาที่นายธนาธรอ้างว่า ควรทำ คือเจรจาหาวัคซีนตั้งแต่ต้นปี 2563 (2020) ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการระบาดโควิด ยังไม่รู้ว่ามีวัคซีนหรือไม่ หรือ ใครจะผลิตวัคซีนบ้าง ทั้งในเวลาต่อมา ข้อแม้ของการซื้อวัคซีนยังอาจทำให้ประเทศไทยเสียเงินเปล่าหากบริษัทยุโรปเหล่านั้นผลิตวัคซีนไม่สำเร็จและยึดเงินค่า (มัดจำ) วัคซีนไปเลย รวมถึงนายธนาธรยังไม่กล่าวถึงผลกระทบข้างเคียงของวัคซีนซึ่งพัฒนาอย่างเร่งรีบในเชิงสุขภาพ ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับแน่ใจเรื่องความปลอดภัยในเชิงการแพทย์แต่อย่างใดในช่วงไตรมาสที่สองถึงสามของความจำเป็นที่ประเทศไม่ต้องเร่งรีบหาวัคซีนโดยเร็วเนื่องจาสถานการณ์การติดโควิทในไทยขณะนั้นไม่เลวร้ายเช่นในทุกประเทศที่นายธนาธรยกตัวอย่างมาทั้งในเอเชียและยุโรป ทำให้รัฐบาลไทยต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวเนื่องกับช่วงเวลาที่นายธนาธรอ้างว่า ควรทำ คือเจรจาหาวัคซีนตั้งแต่ต้นปี 2563 (2020) ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นการระบาดโควิด ยังไม่รู้ว่ามีวัคซีนหรือไม่ หรือ ใครจะผลิตวัคซีนบ้าง ทั้งในเวลาต่อมา ข้อแม้ของการซื้อวัคซีนยังอาจทำให้ประเทศไทยเสียเงินเปล่าหากบริษัทยุโรปเหล่านั้นผลิตวัคซีนไม่สำเร็จและยึดเงินค่า (มัดจำ) วัคซีนไปเลย รวมถึงนายธนาธรยังไม่กล่าวถึงผลกระทบข้างเคียงของวัคซีนซึ่งพัฒนาอย่างเร่งรีบในเชิงสุขภาพ ยังไม่มีผลการวิจัยรองรับแน่ใจเรื่องความปลอดภัยในเชิงการแพทย์แต่อย่างใดในช่วงไตรมาสที่สองถึงสามของพ.ศ. 2563
แม้ในขณะนี้ คือในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ก็ยังไม่มีผลงานวิจัยหรือข้อมูลทางการแพทย์ที่จะยืนยันได้ว่า วัคซีนที่เริ่มฉีดกันไปแล้วจะได้ผลนานแค่ไหน อย่างไรในคนกลุ่มเด็ก ผู้ใหญ่ เพศหญิงเพศชายอย่างไร
ทั้งหมดล้วนส่อเจตนาของนายธนาธรที่จะกล่าวหารัชกาลที่ 10
อาจกล่าวได้ว่า กรรม หรือ การกระทำและคำพูดทั้งหมด ล้วนส่อเจตนาของนายธนาธรที่จะกล่าวหาพระมหากษัตริย์ คือ “กษัตริย์วชิราลงกรณ์” มิใช่ต้องการปกป้อง ผ่านทางการทำงานของรัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชาที่ทำงานโดยประมาทและต้องการหาคะแนนนิยมทางการเมืองเรื่องวัคซีน ทุกประเด็นพุ่งเป้าไปที่องค์พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 10 ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่พิสูจน์ได้.
ชารี
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |