"พิษพาราควอต"ทะลักท่วมเวทีเสวนาวิชาการ


เพิ่มเพื่อน    


จุฬาฯ0นักวิชาการ เปิดข้อมูลวิจัยจากหลายสาขา ผลกระทบสารเคมีกำจัดศัครูพืช 3ชนิด มีผลกระทบต่อสุขภาพผู้ใช้ และผู้บริโภคแน่นอน หวังมห้คดก.วัตถุอันตรายนำไปปนะกอบการตัดสินใจ แลนหรือไม่แบนพาราควอค วันที่23พ.ค.นี้  ด้าน ภาคประชาชน เตรียมเปิดโปง 3 กรรมการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก่อนวันตัดสิน 1วัน

วันที่16 พ.ค.ณ ห้องประชุมจุมกฎ-พันธ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเวทีวิชาการ เรื่อง “ข้อเท้จจริงทางวิชาการในการควบคุมสารเคมีอันตราย : พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส” จากคณะนักวิชาการ ที่มีการสนับสนุนให้มีการเลิกใช้สารเคมีทั้ง 3 ชนิด ตามนโยบายของ 5 กระทรวงหลักที่นำโดยกระทรวงสาธารณสุข 
โดย ศ.นพ..ธีระวัฒน์  เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ในฐานะแพทย์ที่รักษาคนไข้พบเห็นการเสียชีวิตของคนไข้จากการได้รับสารพิษจากการได้รับสารพิษปนเปื้อนจากการใช้ยากำจัดศัตรูพืช ทั้งพาราควอตและไกลโฟเซตมาโดยตลอด โดยเฉพาะในพาราควอต พบว่าแค่พลาดสัมผัสเพียงเล็กน้อย สามารถเข้าไปทำลาย ตับ ปอดได้ และในการศึกษาในระดับเซลล์และยีนส์ยังพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคทางสมองที่รักษาไม่ได้ ทั้งโรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อมและอาจเกี่ยวพันกับมะเร็ง  ซึ่งนอกจากการสัมผัสแล้ว จากการทดลองในสัตว์ทดลองของต่างประเทศ ทั้ง หนูและลิง พบว่าการนำสารต่างๆเข้าสู่ร่างกายจากอาหารที่มีการปนเปื้อน เมื่อเข้าไปในลำไส้ก็สามารถทำให้เชื้อลุกลามขึ้นไปทำลายเส้นประสาทได้ โดยแม้ว่าหน่วยงานต่างๆที่ควบคุมสารเหล่านี้จะมีข้ออ้างในการให้ใช้ต่อว่ามีการควบคุมการใช้ แต่จากรายงานของสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 พ.ค. ที่ผ่านมา พบว่าแม้มีการควบคุมการใช้เป็นอย่างดีก็จะผลในระยะยาวเช่นเดิม 

อย่างไรก็ตามเมื่อพบว่าสารพิษจากสารเหล่านี้สามารถปนเปื้อนได้ใน ดิน ผัก ผลไม้ หรือแม้กระทั่งในน้ำ เมื่อเป็นเช่นนี้ตนในฐานะแพทย์แพทย์จะแนะนำคนไข้ให้กินกากอาหารจากผักผลไม้ได้อย่างไร ซึ่งจะเป็นการผลักให้คนไข้ได้รับสารพิษ ดังนั้นขณะนี้ประเทศต้องการการแก้ไขที่เป็นระบบและ เมื่อมีหลักฐานมากมายหากในวันที่ 23 พ.ค.ที่จะถึง หากคณะกรรมการวัตถุอันตราย ซึ่งมีอำนาจ ตัดสินให้มีการใช้ต่อโดยมีการกำจัดการใช้ ตนคิดว่าก็คงหมดหวังกับประเทศแล้วอย่างไรก็ตามการจะแบนสารทั้ง 3 ตัวตนคิดว่าไม่เหมาะสม 

ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากที่ได้รับทุนศึกษาจาก NIH และ CDC วิจัยจากสหรัฐอเมริกา พบว่าการฉีดพ่นพาราควอตผ่านอุปกรณ์สะพายหลังไม่สามารถป้องกันการสัมผัสพาราควอตได้ ทำให้เกษตรกรได้รับสารพิษในระดับที่เป็นอันตรายได้จากการศึกษา ใน โรงพยาบาลใน 3 จังหวัดคือ กาญจนบุรี นครสวรรค์ และอำนาจเจริญ พบว่าพาราควอตสามารถผ่านจากมารดาไปสู่ตัวอ่อนในครรภ์ได้โดยจากการตรวจขี้เทา หรือการอุจาระแรกของเด็กเมื่อคลอดออกมา พบว่าแม่ที่ทำอาชีพเกษตรกรรม มีการขุดดิน ในช่วง6-9 เดือนจะพบการตกค้างในเด็กมากกว่าแม่ที่ไม่ได้ทำงานถึง 4-5 เท่า และแม่ที่มีคนในครอบครัวทำอาชีพเกษตกรรมจะพบได้มากกว่าแม่ที่ไม่มีคนในครอบครัวทำอาชีพเกษตรกรรมและตรวจพบพาราควอตในขี้เทาของเด็กมากถึง 54.7% จากมารดา 53 คน และในส่วนของไกรโฟเซตพบว่า แม่ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีความเสี่ยงพบสารตกค้างมากกว่าคนทั่วไปถึง 12 เท่า ทั้งนี้ในส่วนของคลอร์ไพริฟอสที่เกิดจากการฉีดพ่นพบเกษตรกรได้รับสารจากการหายใจสูงกว่าค่าระดับที่ปลอดภัยได้ โดยจากงานวิจัยยังพบว่าสามารถพบคลอร์ไพริฟอสจากขี้เทาเด็กแรกเกิดเป็น 32.8% จากมารดา 67 คน และพบในน้ำนมมารดา 41.2 % จากมารดา 51 คน และมีทารก 4.8 % ที่ได้รับสารดังกล่าวจากนมแม่เกินค่ามาตรฐาน 

รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและสิ่งแวดล้อม. มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า ไกรโฟเซต และพาราควอตเมื่อพ่นลงในดินแล้วไม้ได้เสื่อมฤทธิ์ในทันที แม้จะมีการดูดซับได้ดีและย่อยสลายได้ด้วยแสง แต่สามารถย่อยสลายได้เพียงชั้นบนเท่านั้น  และหากมีการใช้ซ้ำในหลายปีก็จะทำให้มีการสะสมจนเกินสภาวะที่ดินตะกอนสามาถดูดซับได้ จนเกิดการคาย  ลงไปสู่หน้าดิน และแหล่งน้ำส่งผลให้พืชดูดซับสารไปไว้ในลำต้น ซึ่งจากการวิจัยการปนเปื้อนของสารพาราควอต ที่บ้านบุญทัน ต.สุวรรณคูหา จ.หนองบังลำพู พบว่า ในๆ
ตำบลที่มีการใช้พาราควอตเกษตรกร จะต้องตัดขาตำบลละ 4-5คน ซึ่งเมื่อได้พูดคุยกับ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ก็ได้ข้อมูลว่ามีความเกี่ยวเนื่องกัน และทางคุณหมอผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวงสาธารณสุขก็ระบุว่า ไม่ใช่เพียงแค่ จ.หนองบัวลำพูเท่านั้นที่อื่นก็พบเช่นเดียวกัน ดังนั้นการที่มีการวิจัยก็เพื่อให้สังคมได้รับรู้ และหากบอกทางคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะตัดสินให้มีการใช้พาราควอตต่อโดยการจำกัดการใช้ ก็ต้องขอถามว่าขณะนี้ก็มีการจำกัดการใช้อยู่แล้ว จะมีการจำกัดเพื่อให้รัดกลุมกว่านี้ได้อย่างไร

ศ.ภญ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข รองผู้จัดการแผนงานเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา กล่าวว่า หากคำตัดสินให้มีการใช้พาราควอตต่อในวันที่ 23 พ.ค.ถือว่าเป็นการกระทำที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากมีการจำกัดการใช้อยู่แล้ว ดังนั้นในการรวมตัวกันครั้งนี้ก็เเพราะเราไม่เชื่อมั่นในคำตัดสิน และพื่เรียกร้องให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาเพื่อควบคุมสารทั้ง 3 ชนิด ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ เมื่อมีข้อมูลผลกระทบต่อสุขภาพชัดเจนเช่นนี้ก็อย่าเอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่ม แต่ทำร้ายประชาชนทั่วประเทศ 60 ล้านคน โดยการให้ข้อมูลในวันนี้จะมีการรวบรวมให้กับคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณายกเลิกพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกรโฟเซต และจะส่งข้อมูลชุดเดียวกันไปยังสำนักนายกฯด้วย

แหล่งข่าวจากภาคประชาชน ระบุว่า ในวันที่ 22 พ.ค. จะมีการเปิดเวทีแถลงข่าวของกลุ่มเครือข่ายที่สนับสนุนนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขให้มีการแบนสารทั้ง 3ชนิดภาย ใน 2ปี โดยจะมีการการพูดในหลายประเด็น และมีประเด็นสำคัญเรื่อง การมีผลประโยชน์ทับซ้อน ของคณะกรรมการวัตถุอันตรายอย่างน้อย 3คนต่อการพิจารณาให้มีการต่อทะเบียนพาราควอต 


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า การที่เลือกวันแถลงก่อนวันพิจารณาเพียงวันเดียว จะเป็นการกดดันไปในตัวหรือไม่ แหล่งข่าว กล่าวว่า กดดันหรือไม่ไม่ทราบ แต่ในวันดังกล่าวจะพูดทุกเรื่องว่าหากมีการพิจาณาให้ใช้ต่อไป เครือข่ายฯจะเคลื่อนไหวอย่างไรต่อไปกับกรรมการที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"