ลุ้นอัยการส่งฟ้อง ม.112 แกนนำ 3 นิ้วล็อตใหญ่ 18 คน "รุ้ง-ไมค์-ไผ่" นำทีม ผวาไม่ได้ประกันตัวตาม 4 คนแรก “ปนัสยา” เดินสายยื่น จม.เปิดผนึก 5 หน่วยงานยุติธรรม อ้างศาลไม่ให้ประกันเป็นการละเมิดสิทธิตาม รธน. จี้อย่าละทิ้งเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรีตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง แต่เตรียมใจไม่รอดนอนคุก
เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 10.15 น. ที่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เดินทางไปยื่นจดหมายเปิดผนึกต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เพื่อเรียกร้องให้กระบวนยุติธรรมมีความเป็นกลางในการพิจารณาและดำเนินคดี รวมทั้งเรียกร้องให้มีการอนุญาตประกันตัว 4 ผู้ต้องหาในคดีมาตรา 112
โดย น.ส.ปนัสยาได้ไปยื่นจดหมายเปิดผนึกที่ศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่แรก ผ่าน น.ส.สิริยา หอมสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และได้อ่านเนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก สาระสำคัญระบุว่า การที่ศาลปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวนายพริษฐ์ ชิวารักษ์, นายอานนท์ นำภา, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข และนายปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม โดยให้เหตุผลว่าทั้ง 4 คน มีพฤติกรรมที่อาจกระทำความผิดซ้ำ เป็นการ "พิพากษาล่วงหน้า" ว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริงและอาจทำซ้ำนั้น ขัดต่อหลักการ สันนิษฐานว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นการละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญของจำเลยทั้ง 4 คนอย่างชัดเจน
“การปฏิเสธสิทธิในการประกันตัวของผู้ต้องหาหรือจำเลยตาม มาตรา 112 ให้จองจำเอาไว้อย่างไม่เป็นธรรม ทั้งที่คดียังไม่ได้เริ่มการไต่สวน และผู้ต้องหาไม่มีพฤติกรรมที่จะหลบหนี แต่ให้สิทธิในการประกันผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีอาญาอื่นๆ ที่มีอัตราโทษรุนแรง เช่น ต้องหาว่าฆ่าคนตายโดยเจตนา อาจนำไปสู่การสร้างมาตรฐานอันไม่ชอบธรรมคือ ผู้ต้องหาในความผิดหมิ่นประมาทกษัตริย์ มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัวมากกว่าคดีอาญาอื่นๆ"
น.ส.ปนัสยากล่าวว่า นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน รวมถึงผู้ที่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมในกรณีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์แล้ว ยังทำลายเกียรติภูมิของศาล และกระบวนการยุติธรรมไทยให้ย่อยยับลง จนอาจถูกติฉินจากนานาอารยประเทศว่า ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองภายในประเทศ จนละทิ้งศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิเพื่อธำรงไว้ซึ่งเกียรติภูมิของศาล และความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนต่อหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม
"ในนามของราษฎร ขอเรียกร้องให้มีการอนุญาตให้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้ง 4 คน และผู้ต้องหาในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวเรียกร้องทางการเมืองทั้งหมด และขอเรียกร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลอาญา สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนหน่วยงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม และคำนึงถึงเกียรติ ศักดิ์ศรีของความเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะมีได้ก็ต่อเมื่อปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชนเท่านั้น”
จากนั้น น.ส.ปนัสยาได้ให้สัมภาษณ์ว่า การไต่สวนยังไม่เริ่มขึ้นเพิ่งส่งฟ้อง แปลว่าขั้นตอนการพิจารณาคดียังไม่เริ่มต้น เขาต้องได้รับการอนุมานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ จนกว่าจะมีคำพิพากษาของศาล ดังนั้น ณ เวลานี้ยังเอาเขาไปขังไม่ได้ แต่ศาลกลับไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยศาลให้เหตุผลว่าอาจจะไปมีพฤติกรรมทำผิดซ้ำ เท่ากับว่าศาลตัดสินว่าเขาทำผิดไปแล้วทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษา เขาจึงต้องถูกขังอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนเป็นผู้บริสุทธิ์ ซึ่งใช้ในศาลทั่วโลก จึงต้องมายื่นหนังสือถึงผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด โดยหวังว่าเขาจะได้มีการปรับปรุงการทำงานของเขา
น.ส.ปนัสยายังกล่าวด้วยว่า ตนเตรียมใจไว้แล้วกับการที่วันที่ 17 ก.พ. อัยการจะพิจารณาว่าจะสั่งฟ้องตนเองในคดีมาตรา 112 หรือไม่ เพราะมันเป็นคดีเดียวกับทั้ง 4 แกนนำ เพราะธงมันออกมาชัดเจนแล้วว่าเขาต้องการให้เราเข้าไปถูกขังและไม่ได้รับการประกันตัว
"คาดเดาไว้ว่าเราจะต้องถูกนำตัวเข้าเรือนจำ และแม้ดิชั้นจะต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำ ก็คิดว่าไม่มีผลกระทบมากต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มราษฎร เพราะเราก็เป็นเพียงฟันเฟืองหนึ่งในกระบวนการนี้ เพราะยังมีคนอื่นที่พร้อมจะออกมาต่อสู้ และยังมีมวลชนอีกมากมายที่แม้ไม่มีแกนนำเขาก็พร้อมที่จะออกมาต่อสู้"
แกนนำม็อบคณะราษฎรรายนี้ยังกล่าวว่า หวังว่าสถานการณ์การชุมนุมหลังจากนี้หากตนเข้าไปอยู่ในเรือนจำ จะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น เพราะจากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เราไม่คาดคิด เราก็ได้มีการพูดคุยเพื่อวางแผนให้รัดกุมมากยิ่งขึ้น ทำให้จากเดิมที่เราเตรียมจะเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภาในวันนี้จึงต้องเลื่อนออกไปก่อน แต่ยืนยันว่าจะมีแน่นอน ซึ่งจะมีการแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
น.ส.ปนัสยายังได้กล่าวขอโทษต่อเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในการชุมนุมวันที่ 13 ก.พ. โดยระบุว่า ทุกครั้งที่ผ่านมาก็จะมีกลุ่มที่ไม่ยึดแนวทางสันติวิธีเหมือนกับพวกราและมวลชนอีกหลายกลุ่ม ซึ่งพวกเราก็พยายามจะจัดการเรื่องนี้ให้ได้มาโดยตลอด แต่ในวันนั้นยอมรับว่าเราควบคุมไม่ได้ อันนี้เรายอมรับผิดจริงๆ เราควบคุมตรงนี้ไม่ได้ ผิดที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของหลายๆ คน ซึ่งต้องขอโทษที่เราควบคุมไม่ได้ แต่หลังจากนี้ทุกอย่างจะรัดกุมและครอบคลุมขึ้น เราจะทำอย่างดีที่สุดเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก เรายังยืนยันว่าเรายังคงยึดมั่นในแนวทางสันติวิธี และจะยึดมั่นต่อไป
เมื่อถามว่า หากต้องเข้าเรือนจำ การชุมนุมวันที่ 20 ก.พ.ที่นัดหมายไว้จะมีแนวทางอย่างไร น.ส.ปนัสยาตอบว่า ยังคงต้องมีการชุมนุม เพราะนัดหมายไว้แล้ว ส่วนรูปแบบและการเคลื่อนไหวจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ตอนนี้ก็มีการพูดคุยถกเถียงเรื่องการปรับกลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ต่างๆ ขอยังไม่พูด เพราะส่วนตัวยังไม่ทราบว่าวันพรุ่งนี้จะเกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของคนที่ยังอยู่จะพาขบวนการไปสู่เป้าหมายให้ได้ ซึ่งขอโอกาสเชื่อมั่นในตัวเราว่าเราจะทำอย่างดีที่สุดอย่างแน่นอน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากนั้น น.ส.ปนัสยาได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อกระทรวงยุติธรรม ศาลอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมอ่านแถลงการณ์ที่มีเนื้อหาคล้ายๆกันนี้
นายนรเศรษฐ์ นาหนองตูม ทนายความศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่พนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 7 แจ้งนัดสั่งฟ้องคดีผู้ต้องหาแกนนำและแนวร่วมกลุ่มราษฎร วันที่ 17 ก.พ. เวลา 10.00 น. ว่าผู้ต้องหาที่นัดในวันที่ 17 ก.พ. ทั้งหมด 18 คน เป็นคดีจากกรณีการชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร เมื่อวันที่ 19-20 ก.ย.2563 ในจำนวนนี้มี 3 คน ที่โดนแจ้งข้อหาตาม ป.อาญา ม.112 คือ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์, นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือไผ่ และ น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง ส่วนผู้ต้องหาจะมาครบหรือไม่นั้น ยังไม่มั่นใจ แต่ได้แจ้งผู้ต้องหาแล้ว เบื้องต้นได้รับการยืนยันว่าจะไป
เมื่อถามว่า หากผู้ต้องหามาไม่ครบ มีโอกาสที่จะมีการเลื่อนสั่งคดีหรือไม่ นายนรเศรษฐ์กล่าวว่า เท่าที่ทราบจากพนักงานสอบสวน ถ้าใครส่งตัวก่อนก็จะฟ้องก่อน คนอื่นอาจจะฟ้องในภายหลัง
ถามถึงการเตรียมยื่นร้องขอความเป็นธรรมและการยื่นประกันตัว นายนรเศรษฐ์กล่าวว่า ได้เตรียมยื่นร้องขอความเป็นธรรมขอให้สอบสวนพยานเพิ่มเติม ยังไม่ต้องฟ้อง และเตรียมหลักประกัน โดยมีทีมนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ ส.ส.พรรคก้าวไกลจะมาประกันตัว เนื่องจากมีผู้ต้องหาหลายคน คงไม่มีหลักทรัพย์เพียงพอในการประกัน
สำหรับรายชื่อผู้ต้องหาที่อัยการนัดส่งฟ้อง ได้แก่ “รุ้ง” ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, “ไมค์” ภาณุพงศ์ จาดนอก, “ไผ่” จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา, ชินวัตร จันทร์กระจ่าง, “จัสติน” ชูเกียรติ แสงวงศ์, ธนชัย เอื้อฤาชา, “ครูใหญ่” อรรถพล บัวพัฒน์, ณวรรษ เลี้ยงวัฒนา, สุวรรณา ตาลเหล็ก, ภัทรพงศ์ น้อยผาง, ณัทพัช อัคฮาด, ณัฐชนน ไพโรจน์, ธานี สะสม, อดิศักดิ์ สมบัติคำ, สิทธิทัศน์ จินดารัตน์, “ฟอร์ด” อนุรักษ์ เจนตวนิชย์, ธนพ อัมพะวัต และ “แอมมี่” ไชยอมร แก้ววิบูลย์พันธุ์
ที่สวนสุรนารี (สวนรักษ์) ข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา ได้มีกลุ่มราษฎรกว่า 30 คนรวมตัวกันพร้อมมีการจัดรถสำหรับบันทึกเหตุการณ์การทำกิจกรรม มีการเขียนป้ายขนาดใหญ่ "เดินทะลุฟ้า คืนอำนาจให้ประชาชน" ระยะทาง 247.5 กิโลเมตร จากโคราชถึงกรุงเทพฯ โดยการนำของ 3 แกนนำคนสำคัญ ประกอบด้วย นายจตุภัทร์ บุญภัทรรักษา หรือ ไผ่ ดาวดิน และทราย-อินทิรา เจริญปุระ ในฐานะตัวแทนราษฎร และนายนิมิตร์ เทียนอุดม ตัวแทน People GO Network
นายจตุภัทร์กล่าวว่า จะเดินเฉลี่ยวันละ 16 กิโลเมตร และหยุดพักระหว่างทาง ก็จะนั่งประทานอาหาร โดยจะไปถึงกรุงเทพฯ วันที่ 2 มีนาคมนี้ ระหว่างทางจะมีการพูดคุยพบปะกับเครือข่ายต่างๆ รวมทั้งพี่น้องประชาชน การจัดกิจกรรมครั้งนี้ก็อยากให้ประเด็นการเมืองเริ่มจากภูมิภาคเข้าไปหาส่วนกลาง และอยากให้ประเด็นปัญหาต่างๆ จากภูมิภาคเข้าไปสู่ส่วนกลาง การเดินครั้งนี้ก็เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยเพื่อนเรา เพราะการเดินครั้งนี้มาจากเพื่อนโดนจับขัง ซึ่งเขาบังคับให้เราสู้ ฉะนั้นการเดินก็คือการต่อสู้ การเดินให้ปล่อยเพื่อนเราและต้องไม่จับเพิ่มอีก 24 คน ที่คาดว่าจะถูกกักขังจองจำในวันที่ 17 ก.พ.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |