บันทึกประวัติศาสตร์ ร.10ในออสเตรเลีย


เพิ่มเพื่อน    

(เครดิตภาพ National Archives of Australia/หอจดหมายเหตุแห่งชาติของออสเตรเลีย)

    ครั้งแรกวีดิทัศน์สารคดีประวัติศาสตร์ในหลวง ร.10 ในออสเตรเลีย บันทึกพระราชจริยวัตรขณะทรงศึกษานายร้อยทหารบกดันทรูน เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำไทยระบุจัดทำสมพระเกียรติ ใช้เวลา 2 ปีรวบรวมวีดิทัศน์-ภาพพระบรมฉายาลักษณ์หายาก เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุออสเตรเลีย พร้อมบทสัมภาษณ์พระสหายร่วมชั้นเรียน ตั้งใจมอบเป็นของขวัญให้คนไทย พร้อมกระชับความสัมพันธ์สองชาติครบ 69 ปี    
    วันที่ 16 ก.พ. ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย นายอัลลัน แม็กคินนอน เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย กล่าวว่า สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยได้จัดทำวีดิทัศน์สารคดี "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในออสเตรเลีย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเพื่อเป็นการฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและออสเตรเลียครบ 69 ปี ในปี 2564 โดยเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสองเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ระหว่างไทยและออสเตรเลีย เหตุการณ์แรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเครือรัฐออสเตรเลียอย่างเป็นทางการ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ระหว่างวันที่ 26 สิงหาคม-12 กันยายน 2505 เป็นครั้งแรกที่พระประมุขจากประเทศไทยเสด็จฯ เยือนเครือรัฐออสเตรเลีย และทรงเป็นพระราชอาคันตุกะพระองค์แรกที่เสด็จฯ เยือนออสเตรเลีย โดยทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯ เยือนเกือบทุกรัฐของเครือรัฐออสเตรเลีย นับเป็นการเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเป็นเหตุผลที่ทรงตัดสินพระทัยให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาทางการทหารที่ออสเตรเลีย 
    นายอัลลันกล่าวต่อว่า เหตุการณ์ที่สองในวีดิทัศน์สารคดีนำเสนอพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะประทับและทรงศึกษาที่โรงเรียนคิงส์ ในนครซิดนีย์ และทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัยการทหารชั้นสูงที่ราชวิทยาลัยนายร้อยทหารบกดันทรูน กรุงแคนเบอร์รา โดยนำเสนอภาพเหตุการณ์ในขณะนั้น รวมถึงเพิ่มเติมบทสัมภาษณ์พระสหายร่วมชั้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้สารคดีมีความสมบูรณ์และน่าติดตาม ซึ่งในเวลาต่อมาพระสหายร่วมชั้นหลายคนได้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในกองทัพและรัฐบาลออสเตรเลีย เช่น พลเอกเดวิด เฮอร์ลีย์ ผู้สำเร็จราชการฯ คนปัจจุบัน และพลเอก เซอร์ ปีเตอร์ คอสโกรฟ อดีตผู้สำเร็จราชการฯ วีดิทัศน์สารคดีนี้จัดทำฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้เวลาผลิตวีดิทัศน์ 2 ปี  

(เครดิตภาพ National Archives of Australia/หอจดหมายเหตุแห่งชาติของออสเตรเลีย)


    นายอัลลันกล่าวต่อว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ ทรงเป็นประธานในงานฉายวีดิทัศน์สารคดีรอบปฐมทัศน์ เมื่อค่ำวันที่ 15 ก.พ.2564 ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย โปรดทอดพระเนตรฉบับภาษาอังกฤษ ทรงพอพระทัยมาก และตรัสว่าทรงรักออสเตรเลีย ในการนี้ คณะองคมนตรี นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของฝ่ายไทยร่วมเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทด้วย 
    เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยกล่าวว่า สำหรับวีดิทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติภาคภาษาไทย ทางสำนักพระราชวังร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์กำหนดเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับชมทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจหลังข่าวในพระราชสำนัก ในวันที่ 16-18 ก.พ.นี้ โดยแบ่งเป็น 3 ตอน จากนั้นทางสถานทูตจะเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ที่เพจสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย รวมถึงมีแนวคิดจะฉายวีดิทัศน์สารคดีเฉลิมพระเกียรติ และจัดนิทรรศการพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงศึกษาอยู่ที่ออสเตรเลีย ทั้งในประเทศไทยและออสเตรเลีย ในโอกาสครบ 70 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตในปี 2565 อีกด้วย
    "จุดเริ่มต้นในการจัดทำวีดิทัศน์สารคดีมาจากช่วงปลายปี 2561 สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทยได้รับวีดิทัศน์และพระบรมฉายาลักษณ์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาที่ราชวิทยาลัยนายร้อยทหารบกดันทรูน ออสเตรเลีย ภาพเหล่านี้เก็บรักษาที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติของออสเตรเลีย หรือ National Archives of Australia ซึ่งไม่เคยได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนมาก่อน ถือเป็นครั้งแรกที่ทุกคนจะได้ชื่นชม หลังจากนั้นทางสถานทูตมีแนวคิดพัฒนาขยายสู่วีดิทัศน์สารคดี จึงเข้าไปตรวจสอบและค้นหาเพิ่มเติมจนได้พบวีดิทัศน์ในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จฯ ออสเตรเลียปี 2505 รวมถึงการเสด็จฯ เยือนของพระบรมวงศานุวงศ์ต่างๆ และวีดิทัศน์เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ เยือนออสเตรเลียอีกครั้งในปี 2542 ทรงกลับไปเยือนดันทรูนด้วย" นายอัลลันกล่าว 


    นายอัลลันกล่าวด้วยว่า ในวีดิทัศน์ที่ค้นพบมีเหตุการณ์งานเลี้ยงถวายการต้อนรับในหลวง ร.9 เมื่อปี 2505 มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "ให้คิดถึงออสเตรเลียไม่ใช่ในฐานะประเทศตะวันออกไกล แต่เป็นประเทศทางเหนือที่ใกล้กัน" สะท้อนพระวิสัยทัศน์ทางการทูตที่ก้าวหน้า 
    ทูตออสเตรเลียประจำไทยกล่าวต่อว่า ตอนทูลเกล้าฯ ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตร สารคดีจัดเป็นฉบับภาษาไทย ภายหลังทอดพระเนตร มีพระบรมราชวินิจฉัยว่าอยากให้ทำฉบับภาษาอังกฤษด้วย จึงนำกลับมาทำเป็นฉบับภาษาอังกฤษเพิ่มเติม ตรงนี้อาจด้วยทรงอยากฟังเสียงพระสหายขณะทรงศึกษาและบรรยากาศจริงในวีดิทัศน์ 
    "วีดิทัศน์สารคดีนี้เป็นผลงานสำคัญชิ้นหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย-ออสเตรเลีย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับที่ออสเตรเลียนาน 6 ปีครึ่ง ทรงศึกษาที่ดันทรูนจนสำเร็จการศึกษา จากนั้นทรงประจำการที่กองปฏิบัติการทางอากาศพิเศษในนครเพิร์ท ถือเป็นกองปฏิบัติการทางการทหารชั้นนำของออสเตรเลีย ทรงวางรากฐานที่มั่นคงคงความสัมพันธ์สองประเทศ และพัฒนาแน่นแฟ้น สถานทูตต้องการมอบเป็นของขวัญให้กับชาวไทย รวมถึงให้ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้รับทราบประวัติศาสตร์ในช่วงทรงศึกษาที่ออสเตรเลียอย่างเต็มที่" นายอัลลันกล่าว 

(เครดิตภาพ National Archives of Australia/หอจดหมายเหตุแห่งชาติของออสเตรเลีย)

    นายอัลลันกล่าวต่อว่า วีดิทัศน์สารคดีนี้ยังกล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลียในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งทั้งวีดิทัศน์สารคดีและนิทรรศการพระบรมฉายาลักษณ์เป็นการเน้นย้ำถึงประวัติศาสตร์ที่ออสเตรเลียและไทยมีร่วมกัน ประวัติศาสตร์นี้ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติในปัจจุบันระดับรัฐต่อรัฐ มีความร่วมมือใกล้ชิดในหลายด้าน ทั้งความมั่นคง กลาโหม การเกษตร การค้ามนุษย์ รวมถึงความร่วมมือลึกซึ้งทางเศรษฐกิจ ไทย-ออสเตรเลียเป็นประเทศคู่ค้า 10 อันดับแรก และเพิ่งยกระดับสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ซึ่งนายสกอตต์ มอร์ริสัน และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศ ได้ลงนามร่วมกันเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา นอกจากนี้จะพัฒนาความร่วมมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากการระบาดโควิด-19 และความร่วมมือพัฒนาวัคซีนโควิดด้วย
    สำหรับสารคดีวีดิทัศน์สารคดี "พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวในออสเตรเลีย" ความยาว 19.30 นาที สะท้อนมิตรภาพลึกซึ้งไทย-ออสเตรเลีย ผ่านเรื่องราวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ประทับออสเตรเลียนาน 6 ปีครึ่ง ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ที่วิทยาลัยการทหารดันทรูน ทรงได้รับการปฏิบัติเช่นเดียวกับนักเรียนคนอื่นๆ ทรงใช้เวลา 4 ปี เรื่องราวนำเสนอตั้งแต่จุดเริ่มต้นการศึกษา ความแข็งแรงทางร่างกาย การทำงานร่วมกัน การฝึกแถวและระเบียบวินัย การเรียนและทฤษฎี 3 ปีแรกเน้นวิชาการ ปีสุดท้ายทรงฝึกฝนด้านการทหารภาคสนาม จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ก่อนทรงสำเร็จการศึกษา รับพระราชทานปริญญาบัตรในปี 2517 นับเป็นวีดิทัศน์สารคดีที่แสดงให้เห็นพระราชจริยวัตรงดงามของในหลวง ร.10 และพระวิริยอุตสาหะในด้านการศึกษาทางทหาร ทรงเป็นแบบอย่างที่ดีให้พสกนิกรชาวไทย. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"