แฟ้มภาพเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 13 ก.พ.2564
15 ก.พ.64 - ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม ยื่นคำร้องขอฝากขังนายจิตรกร แจคโคบี จูเนียร์, นายพรพรหม คงตระกูล, นายปัฐกรณ์ จาภรณ์, นายทองนพเก้า ใจไทย, นายธนเดช วรรณโพธิ์กลาง, นายอดิศักดิ์ ผาลา, นายชัยณรงค์ สมพลกรัง และนายปุรพล วงศ์เจียก ผู้ต้องหาที่ 1-8 ตามลำดับ เพื่อทำการสอบสวนกรณีผู้ต้องหาทั้งแปดร่วมกันจัดกิจกรรมชุมนุมเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2564 (การชุมนุมของกลุ่มราษฎร) ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยพนักงานสอบสวนขอให้ศาลสอบผู้ต้องหาทั้งแปดและไต่สวนพยานหลักฐานผ่านระบบการประชุมทางจอภาพ (Video Conference) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus Disease: COVID-19) ศาลจึงอนุญาตให้สอบผู้ต้องหาทั้งแปดและไต่สวนคำร้องขอฝากขังดังกล่าวผ่านระบบ Video Conference
ศาลไต่สวนคำร้องขอฝากขังดังกล่าวผ่านระบบ Video Conference แล้วมีคำสั่งว่า พิเคราะห์พยานหลักฐานในชั้นไต่สวนคำร้องและข้อคัดค้านของผู้ร้องทั้งแปดแล้ว เห็นว่า คดีนี้พนักงานสอบสวนได้รับตัวผู้ต้องหาทั้งแปดจากเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาลชนะสงครามและเจ้าพนักงานตำรวจกองกำกับการควบคุมฝูงชน 2 และนำตัวผู้ต้องหาทั้งแปดส่งให้พนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2564 เวลา 03.00 น. โดยผู้ต้องหาทั้งแปดไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว วันนี้พนักงานสอบสวนนำตัวผู้ต้องหาทั้งแปดมาศาลภายในกำหนด 48 ชั่วโมง
พนักงานสอบสวนยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาทั้งแปดระหว่างทำการสอบสวน อ้างว่า การสอบสวนยังไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากต้องทำการสอบสวนพยานเพิ่มเติมอีก 11 ปาก รอผลการตรวจสอบประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหาทั้งแปด และรอรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของเจ้าพนักงานตำรวจและพยานที่ได้รับบาดเจ็บ กรณีจึงมีเหตุผลและความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาทั้งแปดระหว่างสอบสวน แม้ผู้คัดค้านจะอ้างว่า กรณีการฝากขังระหว่างสอบสวนไม่มีเหตุจำเป็นตามกฎหมาย และการกระทำของผู้ต้องหาทั้งแปดเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ประกอบกับพนักงานสอบสวนสามารถทำการสอบสวนพยานหลักฐานได้โดยไม่ต้องฝากขังผู้ต้องหาทั้งแปดก็ได้ และผู้ต้องหาทั้งแปดไม่มีพฤติการณ์หลบหนีแต่อย่างใดก็ตาม
แต่เมื่อพนักงานสอบสวนอ้างว่าคดีนี้มีความจำเป็นต้องฝากขังผู้ต้องหาระหว่างทำการสอบสวน เนื่องจากมีพยานหลักฐานที่จะต้องสอบสวนเพิ่มเติม และเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี โดยเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจยื่นคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาต่อศาลได้หลายครั้ง แต่รวมกันทั้งหมดต้องไม่เกิน 48 วัน ซึ่งเป็นกระบวนการก่อนฟ้องที่มีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาทั้งแปดอยู่ในอำนาจของศาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจำเลยในการพิจารณาคดีของศาล ทั้งผู้ต้องหาทั้งแปดก็มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราวอยู่แล้ว ข้อคัดค้านของผู้ต้องหาทั้งแปดฟังไม่ขึ้น จึงอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้งแปดได้ตามขอ
อนึ่ง ศาลได้แจ้งสิทธิการขอประกันตัวหรือขอปล่อยตัวชั่วคราวให้ผู้ต้องหาทั้งแปดทราบแล้วว่า ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ศาลอาญาตระหนักถึงการดูแลสุขภาพและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในสถานการณ์ดังกล่าว ผู้ต้องหาทั้งแปดสามารถยื่นคำร้องขอประกันตัวหรือขอให้ปล่อยตัวชั่วคราว รวมถึงคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวได้ที่ศาลหรือทางออนไลน์ผ่านระบบบริการออนไลน์ศาลยุติธรรม (CIOS) ได้ตลอดเวลาทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
ต่อมา นายประกันผู้ต้องหาทั้งแปดยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาทั้งแปด ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งแปดระหว่างสอบสวนตลอดจนถึงชั้นพิจารณาชั่วคราว โดยมีประกันในวงเงินคนละ 35,000 บาท ศาลได้แจ้งคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวดังกล่าวและปล่อยตัวผู้ต้องหาทั้งแปดแล้ว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |