"อธิบดีชาย"เผย9ทิศทางเชิงรุกร่วมกับเครือข่าย ส่งเสริมต่อยอดรูปแบบวัฒนธรรมเชิงสัญลักษณ์


เพิ่มเพื่อน    

 

นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒธรรม เปิดเผยว่า กรมฯมีนโยบายที่จะผลักดันและส่งเสริมงานวัฒนธรรมผ่านเครือข่ายวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ ด้วยการนำทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นต้นทุนสำคัญ คือ งานมรดกภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage : ICH) มาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมในแต่ละชุมชนให้ได้รับการ พัฒนาต่อยอดงานวัฒนธรรมในรูปแบบเชิงสัญลักษณ์ คือ 5Fs (Foods/Fashion/Fighting/Film/Festival)

โดยมีจุดเน้นหลักใน 2 ประเด็นหลัก คือ อาหาร (Foods) และเสื้อผ้า อาภรณ์ Fashion เพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม

 

ทั้งนี้จะกำหนดทิศทางการดำเนินงานร่วมกันระหว่างกรมส่งเสริมวัฒนธรรมกับองค์กรและเครือข่ายวัฒนธรรม ทั้งสภาวัฒนธรรมและเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม ดังนี้

1. การจัดสรรและใช้ทรัพยากร บุคลากร และงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพ คุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริม ผลักดันงานวัฒนธรรมในทุกระดับ โดยปรับรูปแบบการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้

 

1.1 เพิ่มช่องทางและเม็ดเงินการจัดทำคำของบประมาณในรูปของหมวดเงินอุดหนุน และหมวดเงินงบประมาณยุทธศาสตร์/งบพื้นฐาน ,1.2 เป็นที่ปรึกษาในการเขียนและเสนอโครงการ/กิจกรรมการดำเนินงานวัฒนธรรมขององค์กรและเครือข่ายวัฒนธรรม ทั้งสภาวัฒนธรรมและเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำคำของบประมาณ ของสำนักงบประมาณ

1.3 สนับสนุนงบประมาณ และบุคลากรแก่สภาวัฒนธรรมและเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม โดยการจ้างอาสาสมัครวัฒนธรรมเพื่อให้การปฏิบัติงานระหว่างสภาวัฒนธรรมและเครือข่ายวัฒนธรรมในพื้นที่ผ่านโครงการส่งเสริมศักยภาพของเครือข่ายวัฒนธรรมในการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน

1.4 สนับสนุนงบประมาณในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟู จารีตประเพณี ภูมิปัญญาทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ไม่น้อยกว่า 60 โครงการ เช่น การจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระราชวงศ์ โครงการเผยแพร่การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวกับโขน โครงการเสริมสร้างน้ำใจไมตรี สู่วิถี New Normal โครงการจัดทำข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั่วประเทศ เพื่อขึ้นทะเบียนในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และเสนอขึ้นบัญชีต่อยูเนสโกเพื่อเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ การจัดกิจกรรมส่งเสริมประเพณี เช่น สงกรานต์ ลอยกระทง ประเพณี 12 เดือน และอื่นๆ

2. .เชื่อมโยง ผลักดันงานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (ICH) รวมทั้ง การดำเนินงานวัฒนธรรมตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด จนถึงระดับชาติขององค์กรภาคและเครือข่ายวัฒนธรรมทั้งสภาวัฒนธรรม และเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม เพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม

3. บูรณาการงานวัฒนธรรมระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน สร้างการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนในระดับกลุ่มอาชีพ ระดับภาค และระดับประเทศในการ “ร่วมคิด ร่วมดำเนินการ”

4. เปิดโอกาส เวทีที่เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิดในการดำเนินงานวัฒนธรรม และรวมพลังปฏิบัติกิจกรรมทางวัฒนธรรมร่วมกัน

 

5. เป็นผู้พัฒนาองค์ความรู้ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทำงานวัฒนธรรม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพ ลดขั้นตอนการทำงาน ลดรอบระยะเวลา และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า

6. สร้างให้เกิดยอมรับนับถือ การแสดงสถานะ/ตัวตน ขององค์กรภาคและเครือข่ายวัฒนธรรมทั้งสภาวัฒนธรรม และเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม โดยร่วมเป็นคณะกรรมการคณะต่าง ๆ ในการผลักดันงานวัฒนธรรม

7. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมและผลการดำเนินงานขององค์กรภาคและเครือข่ายวัฒนธรรมทั้งสภาวัฒนธรรม และเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม ด้วยการอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จัดต้องไม่ได้ (Intangible Cultural Heritage : ICH) มาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมในแต่ละชุมชนให้ได้รับการ เพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการ (Creative Culture) เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้จากการท่องเที่ยวและบริการทางวัฒนธรรม

8. การยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ให้แก่ประธานสภาวัฒนธรรม กรรมการบริหารสภาวัฒนธรรมทั่วประเทศ และเครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรมที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ตลอดจนการจัดทำเข็มเชิดชูเกียรติให้แก่คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมทุกระดับทั่วประเทศ เครือข่ายวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม และการเสนอชื่อเพื่อมอบโล่รางวัลในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่กระทรวงวัฒนธรรม

9. พัฒนาศักยภาพของบุคลากร ผู้สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม เช่น อาสาสมัครวัฒนธรรม ปราชญ์ชาวบ้านผู้ถือครองงาน ICH ด้วยการเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถ ทักษะ และประสบการณ์การทำงานที่ดี เช่น

9.1 การศึกษาดูงานและการฝึกทดลองจริงกับผู้สร้างสรรค์งานมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (On The Job Training : OJT)

9.2 พัฒนาอาสาสมัครวัฒนธรรมด้วยการเรียนรู้ สอบถาม และฝึกปฏิบัติจริงจากสถานที่จริง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในลักษณะการพัฒนาทักษะเป็นพื้นฐาน (Skill – Based)

9.3 สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) สร้างบรรยากาศการถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) เพื่อลดช่องว่างความรู้ของอาสาสมัครวัฒนธรรมกับเครือข่ายวัฒนธรรม

9.4 ศึกษาเรียนรู้และเทียบเคียงกับองค์กรที่เป็นเลิศ (Benchmarking with The Best Organization) เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ ประสบการณ์ และนำรูปแบบ หรือแนวทางที่เป็นเลิศมาประยุกต์กับการบริหารจัดการงานวัฒนธรรมให้บรรลุผลสัมฤทธิ์สูงสุด

9.5 จัดทำกรอบแนวทางการสร้างความก้าวหน้า (Career Path) ให้อาสาสมัครวัฒนธรรม โดยการกำหนดค่างาน ลักษณะงาน และจัดทำแผนอัตรากำลัง พิจารณาจากปริมาณงานวัฒนธรรมในปัจจุบันและในส่วนที่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยจะดำเนินการจัดทำคำขอกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ ต่อคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เพื่อรองรับภารกิจและหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติงานวัฒนธรรมให้กับสภาวัฒนธรรมและเครือข่ายผู้สร้างสรรค์งานวัฒนธรรม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"