แนวทางธุรกิจยุคโควิด 


เพิ่มเพื่อน    


    โลกธุรกิจในยุคปัจจุบันที่ต้องมีการพัฒนาในหลายด้านให้เท่าทันกับความต้องการที่มากขึ้น และมีความหลากหลายขึ้น จึงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในสิ่งนั้นๆ อย่างจริงจัง โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดสถานการณ์ความผันผวนและมีความท้าทายอย่างมาก  ทำให้ต้องเร่งปรับตัวให้เร็วกว่าเดิม และเดินหน้าเพิ่มขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีต่างๆ ให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถองค์กร เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับหน่วยธุรกิจเดิม ซึ่งอาศัยเครื่องมือที่มีศักยภาพดีที่สุดในยุคปัจจุบัน คือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น
    ซึ่งจากสถานการณ์โควิด-19 ถือเป็นความท้าทายหลักในยุคนี้ และเป็นตัวเร่งที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีที่เข้าถึงเกือบทุกกลุ่มวัย ธุรกิจจึงต้องการนวัตกรรมที่รวดเร็ว แม่นยำ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ดีขึ้น ซึ่งหนึ่งในตัวอย่างธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาสักระยะหนึ่งแล้ว อย่าง บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือเอสซีจี โดยได้เดินหน้าร่วมมือกับสตาร์ทอัพ เพื่อส่งต่อเทคโนโลยี นวัตกรรมที่ดีกว่า เร็วกว่า และคุ้มค่า มุ่งเน้นในการปั้นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับเอสซีจี และบริษัทในเครือ เพื่อตอบรับกับการขยายของตลาดในอนาคต 
    โดยมองว่าฟันเฟืองที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งของการทำการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนั้น คือโครงการที่ช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมภายใน โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการนำเอาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยพร้อมใช้งานได้จริง มาปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท ซึ่งไม่ใช่ทั้งหมดที่จะสร้างขึ้นเองได้ การร่วมมือกับสตาร์ทอัพที่มีไอเดีย มีแนวคิดที่สอดคล้องกับปัญหาที่ต้องแก้จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งในการดำเนินงาน 
    ซึ่งแนวทางที่ถูกหยิบยกมาใช้ เพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นกับโลกในยุคปัจจุบัน ถูกแบ่งออกเป็น 4 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1.ธุรกิจรูปแบบใหม่ ซึ่งเอสซีจีมองหาบริษัทที่มีแนวทางการทำธุรกิจเน้นด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเข้าไปสนับสนุนเงินทุน จับมือเป็นคู่ค้า และขยายผลธุรกิจไปในระดับภูมิภาค  
    2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ แทนที่จะพึ่งพาการพัฒนาจากภายในเพียงอย่างเดียว เอสซีจีเปิดโอกาสให้สตาร์ทอัพที่มีไอเดียน่าสนใจ เข้ามาเสนอไอเดียเพื่อร่วมพัฒนาไอเดียให้ใช้ได้จริง เนื่องจากการมีบทบาททางธุรกิจที่ครอบคลุม ทำให้เอสซีจีสามารถทดสอบตลาดและคอยอำนวยความสะดวกทางการค้าในแต่ละพื้นที่ผ่านการจดสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีให้กับสตาร์ทอัพต่างๆ รวมถึงการขยายตลาดมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
    3.พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนไป ซึ่งความวิตกกังวลกับวิกฤติโควิด-19 ทำให้ลูกค้าเลือกซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์มากกว่าการไปหน้าร้าน จึงเป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติงานอัตโนมัติต่างๆ ที่เอสซีจีได้นำมาใช้งานในทุกช่องทางที่สามารถให้ความช่วยเหลือได้ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้า ในขณะเดียวกัน บริษัทยังสามารถเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านการปฏิสัมพันธ์ของลูกค้า Bot เพื่อพัฒนาการบริการให้ดียิ่งขึ้น  
    และ 4.Business Process Automation (BPA) เป็นระบบที่เข้ามาช่วยจัดการระบบการทำงานที่ซับซ้อน ซึ่งระบบดังกล่าวช่วยให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างราบรื่น ลดเวลาการทำงานลงถึง 50-70% ลดต้นทุนและความผิดพลาดส่วนบุคคล และเพิ่มคุณภาพการบริการไปพร้อมๆ กัน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถจัดเก็บเพื่อไปทำสื่อที่ช่วยทำความเข้าใจเชิงลึกที่แม่นยำ และช่วยพัฒนาระบบต่อไปในอนาคต 
    ซึ่งแนวคิดหรือวิธีการดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ดีมากให้กับผู้ทำธุรกิจในปัจจุบัน ที่ต้องการหาทางออกสำหรับปัญหาอะไรก็ตามที่กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งการร่วมมือกับคนที่ถนัดหรือผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ ด้วย ที่ไม่จำเป็นจะต้องพัฒนาขึ้นมาเองภายในองค์กรแล้ว แต่การผนึกกำลังกับผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจอยู่แล้ว จะเป็นช่องทางที่ทำให้ธุรกิจไม่สะดุด และสามารถเดินหน้าต่อได้อย่างเต็มที่. 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"