เรียนออนไลน์ช่วงโควิด ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม


เพิ่มเพื่อน    

 โรคซึมเศร้าถือเป็นโรคที่เกิดปัญหาจากสารเคมีในสมองผิดปกติ หรือมีสาเหตุจากเรื่องของกรรมพันธุ์ กระทั่งผู้ป่วยมีปัญหาความเครียดสะสมเป็นเวลานาน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค

แม้แต่เด็กเองก็มิได้ยกเว้นว่าจะป่วยด้วยโรคซึมเศร้าไม่ได้

จึงเป็นเหตุให้บางครอบครัวมองข้ามปัญหาดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก โดยเฉพาะท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจในยุคที่โควิดกำลังระบาด พ่อแม่ประสบกับปัญหาเรื่องรายได้ต่างๆ ความเครียดของพ่อแม่มีโอกาสส่งตรงความเครียดไปสู่บุตรหลานได้โดยไม่รู้ตัว

นอกจากนี้ การที่ผู้ใหญ่ปล่อยให้เด็กเรียนออนไลน์อยู่กับบ้านเพียงลำพัง กระทั่งความเหงาและว้าเหว่า ปัจจัยแวดล้อมเหล่านี้อาจมีส่วนทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ไม่มากก็น้อย เนื่องจากเด็กแต่ละคนนั้นมีความสามารถในการรับมือกับปัญหาสุขภาพจิตดังกล่าวที่แตกต่างกัน... เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในเด็กและเยาวชนกันแต่เนิ่นๆ ในช่วงที่โรคโควิด-19 กำลังระบาด และหลายคนต้องเวิร์กฟรอมโฮม รวมถึงเด็กๆ ที่ได้เรียนบ้างไม่ได้เรียนบ้างขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม

พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพที่ 13 และจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ให้ข้อมูลว่า “อันที่จริงแล้วปัญหาโรคซึมเศร้ามักจะเกิดจากการที่สารเคมีในสมองผิดปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ หรือเด็กอยู่ในภาวะเครียดจากสิ่งแวดล้อมใดสิ่งแวดล้อมหนึ่งอยู่ก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ในส่วนของเด็กที่หยุดเรียนออนไลน์อยู่กับบ้านนั้น ไม่ได้มีส่วนที่ทำให้เด็กป่วยโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด ยกเว้นว่าเด็กจะมีปัญหาความเครียดหรือปัจจัยที่ก่อโรคอยู่ก่อนเป็นเวลานานแล้ว แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดนั้นเข้ามาประจวบเหมาะกันพอดี นั่นอาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรคซึมเศร้ามากกว่า แต่สิ่งที่หมอเป็นกังวลมากที่สุดคือเรื่องของความปลอดภัย เมื่อเด็กต้องหยุดอยู่บ้านเพียงลำพังในช่วงที่โควิด-19 ระบาด ดังนั้นผู้ปกครองไม่ควรปล่อยให้เด็กอยู่บ้านคนเดียว 

“ในช่วงที่เด็กต้องอยู่บ้านเรียนออนไลน์คนเดียวนั้น ผู้ปกครองจำเป็นต้องโทรศัพท์เช็กลูกๆ เช่น ตอนเที่ยงหรือ ตอนที่ลูกๆ พักจากการเรียนออนไลน์ ว่าเขายังโอเคไหม หรือเรียนรู้เรื่องไหม ทั้งนี้สิ่งที่หมออยากฝากอีกอย่างหนึ่งเกี่ยวกับการที่เด็กเรียนออนไลน์นั้น บางครั้งการที่ผู้ปกครองคาดหวังว่าเด็กจะได้เรียนได้เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งอันที่จริงแล้วหมออยากเรียนว่า ด้วยวัยของเด็กนั้น การเรียนออนไลน์อาจจะไม่เต็มร้อย เพราะเด็กอาจจะมีหลุดความสนใจจากการเรียนและไปจดจ่ออยู่กับสิ่งอื่นบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้แต่ในผู้ใหญ่นั้นเองที่มีประชุมออนไลน์ก็ยังหันไปมองสิ่งต่างๆ เช่นกัน

ทางที่ดีเพื่อลดการปะทะอารมณ์กันระหว่างเด็กและผู้ปกครองในเรื่องการเรียนออนไลน์ หมอแนะนำว่า หากผู้ปกครองเป็นกังวลว่าลูกจะตกหล่นเรื่องการเรียน ควรที่จะหาเวลาว่างและเรียกเด็กๆ เข้ามาคุย และใช้เวลาที่เจอหน้ากันเพื่อให้เกิดความสุขมากที่สุด โดยใช้คำถามกับลูกในเชิงบวกว่า “งานค้างหรือเปล่า?? เรามาช่วยกันทำการบ้านกันดีกว่าลูก!!! หรือ ไม่เข้าใจตรงไหนหรือเปล่า?? ให้แม่ช่วยสอนได้นะ!!! ที่สำคัญให้ผู้ปกครองลดการบ่นลูก เพราะจะทำให้เด็กยิ่งต่อต้านและไม่อยากเรียน หรือไม่อยากทำการบ้านมากขึ้น เมื่อนั้นการปะทะคารมก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้หลักในการรับมือกับปัญหาดังกล่าวในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดนั้น คือความอดทน และผู้ปกครองจำเป็นต้องบอกกับลูกอยู่เสมอว่า หากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 สงบลง เด็กๆ ก็จะสามารถกลับไปเรียนต่อได้อย่างปกติ”

ส่วนคำถามที่ว่าเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่โรคโควิด-19 ระบาดนั้น ปัญหาความเศร้าหรือความกังวลใจในการดำเนินชีวิตของพ่อแม่ หรือแม้ความหดหู่จากภาวะตกงานไม่มีรายได้ มีส่วนถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานหรือไม่ พญ.วิมลรัตน์ ให้ข้อมูลว่า ปัญหาดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปสู่บุตรหลานได้อย่างแน่นอน ดังนั้นหมอแนะนำว่าพ่อแม่ควรมีวิธีรับมือกับปัญหาดังกล่าว เพื่อไม่ให้ปัญหาทางสุขภาพจิตที่เกิดในช่วงไวร้ายระบาดส่งตรงไปยังลูกหลาน

“ในส่วนการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้ปกครองที่อาจจะรู้สึกแย่เมื่อต้องตกงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบไปยังลูกหลานนั้น คืออันที่จริงแล้วยังมีหน่วยงานของภาครัฐที่ดูแลผู้ที่ตกงาน เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หรือกรมแรงงาน ที่พร้อมให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ตกงานในช่วงโรควิด-19 ระบาด และมีระบบช่วยหางานเพื่อประคองรายได้ให้กับผู้ปกครอง และอยากให้เดินเข้าไปหาหน่วยงานเหล่านี้ ตรงนี้ไม่อยากให้ผู้ปกครองที่ประสบกับภาวะดังกล่าวเกิดความท้อแท้ในการใช้ชีวิต แต่อยากให้คิดว่ายังมีหน่วยงานภาครัฐคอยช่วยเหลืออยู่ และสุดท้ายผู้ปกครองก็จะดีขึ้นได้ด้วยตัวเองอย่างแน่นอน”

จริงอยู่ที่โรคซึมเศร้าในเด็กมักจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุประกอบกันข้างต้น โดยเฉพาะความผิดปกติทางพันธุกรรม และบางปัจจัยก็ไม่ได้มีผลต่อโรคซึมเศร้า อย่างการเรียนออนไลน์อยู่กับบ้านของเด็กๆ หรือแม้แต่ภาวะเครียดจากการตกงานของพ่อแม่ ที่แน่นอนว่าอาจมีผลต่อลูกๆ แต่ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวสามารถแก้ไขได้ด้วยการขอความช่วยจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสู่การหาออกที่เหมาะสมเรื่องรายได้ อีกทั้งช่วยคลายกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องหาเลี้ยงครอบครัว แต่ทว่าบ้านไหนที่มีลูกวัยเยาว์ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าที่เป็นโรคประจำตัว เช่น การที่สารเคมีในสมองผิดปกติและได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแล้ว จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น แนะนำว่า “หากเป็นเด็กในกลุ่มที่ป่วยโรคซึมเศร้าซึ่งเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว อาการของเด็กจะแย่กว่าเด็กที่ปกติ ดังนั้นในช่วงที่โควิด-19 ระบาด และทำให้หลายคนรู้สึกลบการใช้ชีวิตนั้น อันดับแรกผู้ปกครองและคนใกล้ชิดจำเป็นต้องยอมรับว่าเด็กป่วยจริง และนั่นคือโรคประจำตัวของเขา สิ่งสำคัญจะต้องหมั่นคอยสังเกตอาการของบุตรหลาน เช่น เขาป่วยเป็นไข้ ตัวร้อนหรือไม่ หรือมีภาวะไม่มีแรง กระทั่งหงุดหงิดหรือฉุนเฉียว ตรงนี้ผู้ปกครองก็จะต้องเข้ามาช่วยดูแล และต้องใช้ความอดทน อีกทั้งต้องใช้ความใจเย็นในการเลี้ยงดูลูกๆ ซึ่งต่างจากการที่ลูกดื้อและไม่ยอมเรียนออนไลน์ข้างต้น ที่อาจจะต้องรับมือกับการปะทะคารมกันระหว่างพ่อแม่ลูกเกี่ยวกับการเรียนรูปแบบใหม่

ที่ลืมไม่ได้ เด็กที่ป่วยโรคซึมเศร้าจะต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้งเมื่ออาการของเด็กเริ่มดีขึ้นแล้ว หมอแนะนำว่าให้ผู้ปกครองรับฟังเด็กด้วยใจ และต้องปราศจากการตำหนิและการเปรียบเทียบ เช่น “ห้ามพูดว่าปัญหาของลูกเป็นเรื่องแค่นี้เอง!!! หรือเรื่องของคนอื่นหนักกว่าลูกอีก!!!” เพราะอย่าลืมว่าการที่เรารับฟังเด็กพูด แม้ว่าเราจะไม่สามารถแก้ปัญหาให้เขาได้ในตอนแรก แต่การเข้าใจบวกกับการรับฟังสิ่งที่ลูกพูด มันทำให้เด็กได้ระบายความรู้สึกของเขาออกมา อีกทั้งการที่ผู้ปกครองเออออไปกับสิ่งที่ลูกพูด ก็จะทำให้เด็กรู้สึกดี อีกทั้งมีความมั่นใจและสามารถมองเห็นทางออกของปัญหาได้ในที่สุด

ทั้งนี้หากลูกหลานพูดหรือเล่าในเชิงว่าอยากฆ่าตัวตาย แนะนำว่าให้ผู้ปกครองถามลูกหลานไปเลยว่า “แผนคิดฆ่าตัวตายนั้นเป็นเรื่องจริงแค่ไหน?? และได้เตรียมอุปกรณ์ที่จะปลิดชีพตัวเองแล้วหรือยัง??? ถ้าลูกหลานบอกว่าถึงขั้นเตรียมอุปกรณ์เพื่อทำร้ายตัวเองแล้ว!!! แนะนำให้ผู้ปกครองรีบมาลูกมาโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการรักษาก่อน ที่สำคัญการที่พ่อแม่ถามลูกเกี่ยวกับการวางแผนฆ่าตัวตาย และลูกบอกความจริงว่าคิดจะทำอย่างนั้น เป็นสิ่งที่สะท้อนให้ผู้ปกครองรู้ว่าลูกต้องการให้พ่อแม่หรือใครก็ได้รับฟังเขาอย่างจริงใจ ช่วยห้ามเขาที เพราะการที่พ่อแม่ห้ามก็จะทำให้เด็กไม่คิดอยากจะทำอย่างที่เขาคิดในตอนแรก หรือไม่คิดที่จะฆ่าตัวตายนั่นเอง สำหรับผู้ที่รู้สึกว่าตัวเองเริ่มเครียดมากเกินไปสามารถเข้าไปกรอกแบบประเมินเกี่ยวกับสุขภาพจิตประจำปีได้ที่ ผิดพลาด! การอ้างอิงไฮเปอร์ลิงก์ไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของกรมสุขภาพจิต เพื่อประเมินว่าคุณมีภาวะเครียดเกินไปหรือไม่ และข้อมูลที่คุณกรอกเกี่ยวกับระดับความเครียดนั้นจะมีช่องให้คุณใส่หมายเลขโทรศัพท์ โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกบันทึกเอาไว้และจะถูกส่งไปให้เจ้าหน้าที่ เช่น กลุ่มอาสาสมัครสุขภาพจิตที่อยู่ประจำชุมชนใกล้เคียง เพื่อเข้าไปช่วยดูแลผู้ป่วย หรือให้คำปรึกษาที่มีประโยชน์แก่ผู้ป่วยค่ะ โดยที่ข้อมูลของผู้ป่วยเป็นความลับ”

นอกจากการดูแลใกล้ชิดเด็กที่ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่ก่อนแล้ว รวมถึงการลดการปะทะอารมณ์ระหว่างพ่อแม่ลูกในช่วงเรียนออนไลน์ยุคนิวนอร์มอล การที่ผู้ปกครองสร้างความมั่นคงให้ลูกหลานรู้สึกว่าพ่อแม่ไว้ใจเด็กเกี่ยวกับเรียนออนไลน์ โดยการเป็นกำลังใจอยู่ห่างๆ ช่วยกระตุ้นความใส่ใจการเล่าเรียนมากขึ้น

พญ.วิมลรัตน์ ทิ้งท้ายเกี่ยวกับเรียนออนไลน์ทั้งในเด็กเล็กและเด็กโตว่า “บางครั้งเด็กในวัยนี้ต้องการความเป็นส่วนตัว เพราะกำลังก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เด็กต้องเรียนออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเล็กหรือเด็กโต อันที่จริงพ่อแม่ไม่ควรอยู่ข้างๆ ลูกเวลาที่เด็กกำลังเรียน ส่วนหนึ่งต้องการสมาธิในการโต้ตอบกับครูอาจารย์ แต่หมอแนะนำว่าให้ผู้ปกครองหมั่นแวะเวียนมาคอยดูและสังเกตเรื่องการเรียนออนไลน์ของลูกๆ เป็นระยะๆ เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่าพ่อแม่ไว้ใจเขา เขาก็ไม่กล้าวอกแวกและตั้งใจเรียนโดยอัตโนมัติ และนอกจากความภูมิใจที่เด็กรู้สึกว่าพ่อแม่ไว้ใจเขา โดยไม่เข้ามายุ่งหรือคอยจับตาดูมากเกินไปแล้ว ยังทำให้ลูกรู้สึกดีว่าอย่างน้อยๆ ก็ยังมีพ่อแม่คอยให้กำลังใจและคอยช่วยเหลืออยู่เสมอ เมื่อลูกมีปัญหาหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่คุณครูสอน”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"