นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล นำคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ลงพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อเยี่ยมชมโครงการศึกษานำร่องรูปแบบระบบส่งน้ำบาดาลระยะไกล เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในพื้นที่ขอบแอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง พื้นที่ตำบลตลิ่งชัน ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง และตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร ที่มุ่งเน้นการใช้น้ำบาดาลเชิงอนุรักษ์ช่วยเหลือประชาชนกว่า 25,000 คน หรือกว่า 7,500 ครัวเรือน มีน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตรไม่ขาดแคลนตลอดทั้งปี
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยว่า นับตั้งแต่ปลายปี 2562 จนถึงต้นปี 2563 จังหวัดสุพรรณบุรี ประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าในทุกปีๆ ที่ผ่านมา ฝนตกน้อย และน้ำในคลองชลประทานแห้งขอด โดยเฉพาะในพื้นที่ตำบลตลิ่งชัน ตำบลสนามคลี อำเภอเมือง และตำบลไร่รถ อำเภอดอนเจดีย์ ประชาชนต่างได้รับความเดือดร้อน ทั้งในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงน้ำดอกไม้ ซึ่งเป็นผลิตผลขึ้นชื่อของจังหวัดมากกว่า 3,000 ไร่ ยืนต้นตายเพราะขาดแคลนน้ำ ต้องลงทุนปลูกใหม่ทั้งหมด ทำให้หนี้สินครัวเรือนมากขึ้น กรมทรัพยากรน้ำบาดาลจึงได้ดำเนินโครงการศึกษานำร่องรูปแบบระบบส่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในพื้นที่ขอบแอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อศึกษาศักยภาพและผลกระทบการใช้น้ำในพื้นที่ รวมทั้งศึกษาแนวทางการบริหารจัดการระบบรูปแบบการส่งน้ำบาดาลระยะไกลสำหรับการอุปโภคบริโภค และเกษตรกรรม พร้อมส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำอย่างครบวงจร ให้ประชาชนสามารถใช้น้ำบาดาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการเจาะน้ำบาดาลแล้ว จำนวน 18 บ่อ ได้ปริมาณน้ำมากกว่า 420 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง หรือประมาณ 2.50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี พร้อมติดตั้งสถานีสังเกตการณ์ จำนวน 3 สถานี หอถังเหล็กเก็บน้ำชนิดรักษาแรงดัน ความสูง 30 เมตร ความจุ 300 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 1 หอถัง และหอถังเก็บน้ำ ความสูง 15 เมตร ความจุ 150 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 4 หอถัง พร้อมทั้งระบบเชื่อมต่อเข้าท่อประปาเดิมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และติดตั้งระบบตรวจวัดแสดงผลอัตโนมัติ เพื่อติดตามปริมาณการสูบน้ำบาดาลและระดับน้ำบาดาล นอกจากนี้ ยังได้สร้างศูนย์เรียนรู้ด้านน้ำบาดาล พร้อมระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำและจุดบริการน้ำแร่ เพื่อบริการน้ำอุปโภคบริโภค พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับน้ำบาดาลแก่ประชาชนที่มาใช้บริการอีกด้วย โดยน้ำบาดาล ที่เจาะได้ มีอายุประมาณ 10,750 ปี เป็นน้ำแร่ที่มีคุณภาพดีมาก
“จากความร่วมมือของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล หน่วยงานราชการ และประชาชนในพื้นที่ ทำให้การดำเนินงานโครงการศึกษานำร่องรูปแบบระบบส่งน้ำบาดาลระยะไกล เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนน้ำในพื้นที่ขอบแอ่งเจ้าพระยาตอนล่าง ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ทำให้ทั้ง 3 หมู่บ้าน 3 ตำบล ของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นชุมชนต้นแบบการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจร ที่มุ่งเน้นการใช้น้ำบาดาลเชิงอนุรักษ์ ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี” นายศักดิ์ดา กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |