เส้นทางวัคซีนโควิดไทยยังต้อง เผชิญอุปสรรคระหว่างทาง


เพิ่มเพื่อน    

   หนึ่งในคำถามเกี่ยวกับเรื่องวัคซีนโควิดของไทยคือ เราจ่ายค่าวัคซีนแอสตราเซเนกาแพงเกินไปหรือไม่?

            รัฐมนตรีสาธารณสุข อนุทิน ชาญวีรกูล เคยตอบว่าไทยซื้อวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ราคาต้นทุนซึ่งอยู่ที่ 5  ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 150 บาทต่อโดส

            เว็บไซต์บีบีซีนิวส์อ้างอิงข้อมูลจากบริษัทผลิตวัคซีนแต่ละรายและองค์การอนามัยโลกว่า วัคซีนที่ผลิตโดยแอสตราเซเนกาและมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดมีราคาต่อโดสประมาณ 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ (120 บาท)

            ถือว่าถูกที่สุดเมื่อเทียบกับรายอื่นๆ

            เปรียบเทียบกับวัคซีนจากโมเดอร์นาที่ราคาต่อโดสราว 33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (990 บาทต่อโดส)

            และของไฟเซอร์อยู่ที่โดสละ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (600  บาท)

            บีบีซีไทยอ้างบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย)  ว่า

            "ราคาต่อโดสที่แต่ละประเทศจ่ายขึ้นอยู่กับต้นทุนในการผลิตและความแตกต่างของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กำลังการผลิต ค่าแรงและวัตถุดิบในการผลิต ซึ่งจะมีต้นทุนต่างกันไป"

            ใครจะได้ฉีดวัคซีนก่อนหลังคืออีกคำถามที่สำคัญ

            นายกฯ ประยุทธ์ยืนยันว่า คนไทยทุกคนที่ต้องการฉีดจะได้รับการฉีดฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ยกเว้นเด็กที่อายุต่ำกว่า  18 ปีและสตรีมีครรภ์

            โดยในระยะแรกรัฐบาลได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายไว้ประมาณ 19 ล้านคน ได้แก่

            บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า 1.7  ล้านคน

            ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน 6.1 ล้านคน

            ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน

            เจ้าหน้าที่ควบคุมโควิดและมีโอกาสสัมผัสกับผู้ป่วย  15,000 คน

            เดิมนายกฯ บอกว่าวัคซีนล็อตแรก 5 หมื่นโดสจะเข้ามาภายในเดือนกุมภาพันธ์

            ชุดแรกจะฉีดให้บุคลากรสาธารณสุข ตำรวจ ทหาร  เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงก่อน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน

            เดิมกำหนดว่าจะเริ่มฉีดวันที่ 14 กุมภาอันตรงกับวันวาเลนไทน์ด้วย

            แต่เมื่อเกิดกรณีความขัดแย้งระหว่างสหภาพยุโรปกับแอสตราเซเนกา จึงมีผลกระทบต่อการส่งมอบให้ไทยด้วย

            ประเมินกันว่าถ้าส่งมอบชุดแรกได้ก่อนสิ้นเดือนนี้ก็ถือว่าค่อนข้างจะโชคดีแล้ว

            นายกฯ บอกว่าระยะที่ 2 จะเริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม

            แต่ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับวัคซีนจะทยอยเข้ามาได้มากน้อยเพียงใด

            ส่วนนี้จะครอบคลุมประชาชนกลุ่มที่มีความเสี่ยงลำดับถัดไป

            กลุ่มเป้าหมายอาจมีการปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การแพร่ระบาดและประสิทธิภาพของวัคซีน รวมทั้งจำนวนวัคซีนที่หาได้

            ในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมคาดว่าสยามไบโอไซเอนซ์จะสามารถผลิตวัคซีนของแอสตราเซเนกาล็อตแรกในประเทศได้ 26 ล้านโดส

            พร้อมกันนั้นรัฐบาลไทยยังสั่งซื้อวัคซีนเพิ่มเติมทั้งจากแอสตราเซเนกา และที่ผลิตเองจากคณะแพทยศาสตร์  คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 35  ล้านโดส

            อีกคำถามหนึ่งคือ จะใช้วัคซีนจากจีนหรือไม่?

            รัฐบาลไทยแจ้งว่าได้สั่งซื้อวัคซีนซิโนแวคจากจีนจำนวน 2 ล้านโดส โดยจะให้องค์การอาหารและยาของไทย (อย.) เตรียมขึ้นทะเบียนเพื่อให้ทันการฉีดวัคซีนให้ประชาชนวันแรกคือ 14 กุมภาพันธ์

            แต่ต่อมาคุณอนุทินบอกว่า ไทยต้องปรับแผนวัคซีนโควิดหลังจากซิโนแวคยังรอการขึ้นทะเบียนในจีน

            ด้วยเหตุนี้จึงเจรจากับแอสตราฯ ให้จัดส่งล็อตสำเร็จรูปที่ผลิตในอิตาลีให้ไทยก่อนรอบแรก 5 หมื่นโดส

            แต่ก็เกิดอุปสรรคเรื่องส่งมอบจากสหภาพยุโรปจนได้

            อย่างไรก็ตาม เรื่องความปลอดภัยคือหัวใจของการดำเนินการจากนี้ไป

            นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บอกนักข่าวว่ามีวัคซีนที่ผ่านเข้าสู่ระยะที่ 3 แล้ว จากทั้งหมด 20 บริษัท ด้วยการศึกษาในคนอย่างน้อย 30,000 ตัวอย่าง เพื่อดูความปลอดภัยและประสิทธิภาพ

            ส่วนวัคซีนที่ผลิตโดยบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นา ใช้เทคโนโลยี mRNA ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ มีราคาแพง ไทยไม่ได้นำเข้า

            คุณหมอประสิทธิ์บอกว่า แม้วัคซีนมีประสิทธิภาพในการป้องกันไวรัสสูงสุดถึง 95% แต่ก็ไม่จำเป็นถึงขนาดนั้น

            เพราะประสิทธิภาพเพียง 50-60% ก็เพียงพอแล้ว

            ยกตัวอย่างของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ฉีดประจำปีก็มีประสิทธิภาพราว 50-60% เช่นกัน

            พูดถึงวัคซีนจีน คุณหมอบอกว่าใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปลอดภัยและน่าจะเพียงพอต่อการสร้างภูมิคุ้มกัน

            แต่จากนี้ไปเส้นทางโควิดยังไม่ราบรื่น อาจเกิดอุปสรรคระหว่างทางได้ตลอด จึงจำเป็นที่เราต้องมี "แผน  2" และ "แผน 3" รองรับตลอดเวลา.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"