ฝ่ายค้าน ข้องใจ 'ไพบูลย์' ยื่นศาลวินิจฉัยญัตติอภิปราย อัดสมคบคิดทำลายระบอบประชาธิปไตย


เพิ่มเพื่อน    

10 ก.พ.64 - ที่รัฐสภา ที่ห้องทำงานผู้นำฝ่ายค้าน นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ นายนายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย  ตัวแทนพรรคเสรีรวมไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย และนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย และประธานวิปฝ่ายค้าน ร่วมประชุมหารือ กรณีนายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยื่นญัตติให้สภาผู้แทนราษฎรส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมวินิจฉัยญัตติ ขอเปิดประชุมสภาเพื่ออภิปรายทั่วไปโดยลงมติไม่ไว้วางใจเนื่องจากมีเนื้อหาที่เชื่อได้ว่าเป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันเบื้องสูงและขัดต่อมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญ  

นายสมพงษ์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า ญัตติเปิดอภิปรายไม่วางใจของฝ่ายค้าน ผ่านการวินิจฉัยของประธานสภา ถูกบรรจุในวาระการประชุม ส่งให้ครม. พิจารณาถึงความพร้อม ทุกอย่างถือว่าสมบูรณ์แบบแล้ว การที่นายไพบูลย์ ยื่นญัตติเพื่อต้องการให้ให้สภาทบทวนเรื่องนี้ใหม่นั้น ไม่เข้าใจว่า นายไพบูลย์คิดอะไร หรือเป็นการสมคบคิดกันเพื่อทำลายระบอบประชาธิปไตย การอภิปรายของฝ่ายค้านถือเป็นการตรวจสอบตามกลไกของสภาฯ เห็นชัดว่ากำลังเกิดการแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล 

นายประเสริฐ กล่าวว่า ญัตติการอภิปรายของฝ่ายค้านถูกต้อง ไม่มีข้อบกพร่องตามข้อบังคับการประชุมสภาฯ ข้อที่ 176 การที่นายไพบูลย์ยื่นญัตติ โดยอ้างมาตรา 210 (2) ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของสภาฯ ถือว่ากล่าวอ้างไม่ขึ้น สภาไม่ได้มีปัญหาอะไร จึงไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยในเรื่องนี้ ญัตติการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านนี้ชอบแล้ว บรรจุเป็นวาระและเตรีมอภิปรายในวันที่ 16 ก.พ. ก่อนหน้านี้ประธานสภาฯ ได้เรียกวิปทุกฝ่ายหารือจำนวนวัน เวลา เหลือแค่คอยให้ถึงวันที่จะอภิปรายเท่านั้น เมื่อมาดูรายละเอียดญัตติของนายไพบูลย์ มีหลายข้อความที่ไม่ได้ปรากฏเป็นข้อเท็จจริง เช่น นำสถาบันมาเกี่ยวข้องกับการเมือง หากดูสาระสำคัญของญัตติฝ่ายค้าน เป็นการกล่าวหานายกฯโดยตรง นายกฯ จะต้องเอาข้อกล่าวหาไปแก้ไข และเมื่อดูข้อบังคับการประชุมสภาฯไม่ควรรับญัตตินายไพบูลย์ด้วยซ้ำ ไม่เคยมีประเพณีว่า ญัตติการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องถูกตีความโดยศาลรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการทำลายระบบรัฐสภาและระบบประชาธิปไตย หากสภาฯเห็นชอบญัตติแบบพวกมากลากไป ในอนาคตความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและฝ่ายค้านจะเดินหน้าลำบากและอาจจะเกิดขึ้นลำบาก 

นายพิธา กล่าวว่า เบื้องต้นอยากให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนว่าญัตติของนายไพบูลย์จะไม่ทำให้การอภิปรายเลื่อนออกไป ขอฝากไปยังรัฐบาลว่าอย่าวิตกกังวลว่าตอบคำถามไม่ได้แล้วจะใช้วิธีการนอกระบบ จนทำลายอำนาจฝ่ายนิตบัญญัติ ส่วนการระทำของนายไพบูลย์ ตอกย้ำว่าเป็นการเอาสถาบันมาเป็นโล่เกราะกำบังให้ตนเอง  

นายสุทินกล่าวว่า เชื่อว่าสังคมจะเกิดข้อเคลือบแคลงกับเรื่องที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีส.ส.หลายคนไม่สบายใจกับญัตติของนายไพบูลย์ ตั้งคำถามว่า การกระทำของนายไพบูลย์ ผิดจริยธรรมร้ายแรง เป็นปรปักษ์ต่อระบบรัฐสภาหรือไม่ เพราะการเสนอญัตติเป็นอำนาจของสภาฯ หากทำแบบนี้หลักการถ่วงดุลอำนาจ 3 ฝ่ายจะบังคับใช้ไม่ได้เลย ดังนั้นจะมีการยื่นตรวจสอบจริยธรรมของนายไพบูลย์ให้ทันภายในสมัยประชุมนี้ ขอฝากไปยังรัฐบาลว่าการใช้เสียงข้างมากก็หยุดยั้งเราไม่ได้ เพราะเรามีการเตรียมมาตรการรองรับ เช่น การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนอกสภา เราเป็นเสียงข้างน้อยต้องงัดวิธีการทางกฎหมายทุกรูปแบบมาใช้เพื่อให้เรามีพลังตรวจสอบรัฐบาลแทนประชาชน 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"