พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท ผบ.ทบ.สำรวจความคืบหน้าการสร้างบ้าน-เขื่อนระบายน้ำคลองลาดพร้าว


เพิ่มเพื่อน    

เขตสายไหม /  พลเอกเฉลิมชัย  สิทธิสาท  ผบ.ทบ.ล่องเรือสำรวจความคืบหน้าการพัฒนาพื้นที่ริมคลองลาดพร้าวในเขตสายไหม  พร้อมทั้งมอบทะเบียนบ้านให้แก่ชาวชุมชนที่รื้อบ้านออกจากแนวเขื่อนระบายน้ำและสร้างบ้านใหม่เสร็จแล้ว 2 ชุมชน  75 หลัง  เผยความคืบหน้าการสร้างบ้านใหม่ในคลองลาดพร้าว  สร้างแล้ว 18 ชุมชน  รวม 1,190  หลัง  อยู่ระหว่างการก่อสร้าง  1,231 ครัวเรือน   ขณะที่การก่อสร้างเขื่อนมีความคืบหน้า  35 %  ล่าช้ากว่าแผนงาน  กทม.จี้บริษัทรับเหมาเร่งก่อสร้างเขื่อนให้เสร็จตามสัญญาภายในมิถุนายนปีหน้า

 

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาพื้นที่ริมคลองลาดพร้าว  โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ริมคลองลาดพร้าว  มีผู้บัญชาการทหารบกเป็นประธานฯ    และให้กรุงเทพมหานครรับผิดชอบการสร้างเขื่อนระบายน้ำคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วมในคลองลาดพร้าวระยะทาง (ทั้งสองฝั่ง) 45.3 กิโลเมตร  และให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.จัดทำแผนงานรองรับชาวชุมชนที่ต้องรื้อย้ายบ้านออกจากแนวก่อสร้างเขื่อนฯ รวม 50 ชุมชน  จำนวน  7,069   ครัวเรือน  เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559 

 

ล่าสุดวันนี้ (15 พฤษภาคม)  เวลา  13.30 น. พลเอกเฉลิมชัย  สิทธิสาท  ผู้บัญชาการทหารบก  ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ริมคลองลาดพร้าว  และคณะ  ได้เดินทางมาที่สำนักงานเขตสายไหม  เพื่อประชุมคณะอนุกรรมการบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ริมคลองลาดพร้าว  หลังจากนั้น ผบ.ทบ.ได้ลงเรือสำรวจความคืบหน้าการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำฯ และการก่อสร้างบ้านใหม่ในคลองลาดพร้าว เขตสายไหม  โดยมีนางรัตนธร รัตนสกุล ผู้อำนวยการเขตสายไหม นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และชาวชุมชนริมคลองประมาณ 200 คนให้การต้อนรับ

รวมทั้งได้มอบทะเบียนบ้านให้แก่ชุมชน กสบ.หมู่ 5 และชุมชนหลังสนามมวย ทอ.รวม 75 หลัง  ซึ่งทั้ง 2 ชุมชนนี้  ชาวชุมชนได้รื้อถอนบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้างเขื่อนฯ และสร้างบ้านใหม่ในพื้นที่ที่เหลือจากแนวก่อสร้างเขื่อน  นอกจากนี้ ผบ.ทบ.ยังมอบสีทาบ้านและรถเข็นให้แก่ชาวชุมชนด้วย   พลเอกเฉลิมชัย กล่าวว่างานคลองลาดพร้าวมีงานที่สำคัญ 3 งานด้วยกันงานแรกคือการรื้อถอนบ้านออกจากแนวเขื่อนงานที่สองคือการสร้างบ้านมั่นคงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยเป้าหมาย 50 ชุมชนกว่า 7,000 ครัวเรือน ดำเนินการไปแล้วกว่า 2,000 ครัวเรือนส่วนที่สามคือการปักเสาเข็มสร้างเขื่อนซึ่งตอนนี้ดำเนินการไปแล้วประมาณ 15 กิโลเมตร ซึ่งทั้งสามงานมีการทำงานที่ต้องประสานกัน ในภาพรวมของทั้งสามงานที่มีการขับเคลื่อนไปแล้วรวมกว่า 36%  ก็ถือว่ามีความคืบหน้าไปพอสมควร อย่างไรก็ตามแต่ยังช้ากว่าแผนที่กำหนดซึ่งปัญหาอุปสรรคอยู่ที่พี่น้องประชาชนบางส่วนที่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ ซึ่งคณะทำงานได้ลงพื้นที่เน้นการเจรจาสร้างความเข้าใจเป็นหลัก เพื่อให้เป็นประโยชน์ส่วนร่วมในการเข้าร่วมโครงการให้โครงการสามารถเดินหน้าไปได้ด้วยดีสำหรับโครงการของลาดพร้าวถือเป็นโครงการที่สำคัญมาก อย่างไรก็ตามต้องผลักดันให้บรรลุถึงผลสำเร็จให้ได้ เพื่อให้คุณภาพชีวิตพี่น้องชุมชนริมคลองดีขึ้น อีกทั้งช่วยให้การระบายน้ำมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้ที่ไม่เข้าร่วมต้องใช้เวลาในการสร้างความเข้าใจต่อไป ในส่วนของโครงได้ดำเนินการไปแล้วตามแผน ไม่สามารถเรียกร้องอะไรเพิ่มเติมได้ ท้ายสุดก็ต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย ดังนั้นทุกๆ 3 เดือนจะมีการติดตามการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้งานแล้วเสร้จตามแนวทางรัฐบาล เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนริมคลองต่อไป

นายอดุลย์  จงเกาะกลาง  ประธานชุมชน กสบ.หมู่ 5  กล่าวว่า  ชุมชน กสบ. เดิมเป็นพื้นที่ของกองการสร้างสนามบิน (กสบ.) กองทัพอากาศ  อยู่ติดกับคลองสอง (คลองลาดพร้าว) เมื่อการสร้างสนามบินแล้วเสร็จ  จึงมีประชาชนเข้ามาปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย  เพราะอยู่ใกล้กับตลาดยิ่งเจริญ  ทำให้สะดวกต่อการทำมาหากิน  ต่อมาชุมชนเริ่มขยายตัวขึ้น  พื้นที่บนบกไม่เพียงพอต่อการอยู่อาศัย จึงมีการปลูกบ้านรุกล้ำลงไปในคลองมากขึ้น

 

เมื่อรัฐบาลมีโครงการพัฒนาคลองลาดพร้าว  โดยจะมีการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วม  ชาวบ้านก็ไม่ได้คัดค้าน  และยินดีให้ความร่วมมือ  เพราะรัฐบาลก็ไม่ได้ทอดทิ้งประชาชน  ให้หน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูแลช่วยเหลือ  โดยเฉพาะการสร้างบ้านใหม่ในชุมชนเดิมให้ดีกว่าเก่า  เพราะบ้านที่ชาวบ้านปลูกมานานหลายสิบปีส่วนใหญ่ก็เก่าทรุดโทรมหมดแล้ว  ชาวบ้านจึงยอมรื้อย้ายออกจากแนวเขื่อนฯ เพื่อสร้างบ้านใหม่”  ประธานชุมชนกล่าว

 

ชุมชน กสบ.หมู่ 5  เดิมมีทั้งหมด  155 ครัวเรือน  สร้างบ้านใหม่ในชุมชนเดิม  121 ครัวเรือน  ส่วนอีก 34 ครัวเรือนจะย้ายไปอยู่ที่ดินแปลงอื่น  ได้รับสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์เมื่อปี 2559  ในอัตราตาราวาละ 1.50 บาทต่อเดือน  พื้นที่ทั้งหมด  8 ไร่เศษ  เริ่มก่อสร้างบ้านเฟสแรกจำนวน  40 หลังในเดือนเมษายน 2560 ปัจจุบันการก่อสร้างบ้านเสร็จแล้ว  และมีชาวบ้านบางส่วนเข้าอยู่อาศัยแล้ว  ส่วนที่เหลืออีก 81 ครัวเรือนจะทยอยก่อสร้างต่อไป

 

สำหรับแบบบ้านมี 4 แบบ  ตามจำนวนสมาชิกและความสามารถในการผ่อนส่ง  คือ 1. บ้านแถว 1 ชั้น (4x7 ม.) จำนวน 6 หลัง ราคาหลังละ  184,119 บาท 2. บ้านแถว 2 ชั้น (4x7 ม.) จำนวน 29 หลัง ราคาหลังละ  330,271 บาท3. บ้านแฝด 2 ชั้น (4x7 ม.) จำนวน 2 หลัง ราคาหลังละ  356,889 บาท และ 4. บ้านแถว 2 ชั้น (6x7 ม.) จำนวน   3 หลัง ราคาหลังละ  501,301 บาท

 

ทั้งนี้ชาวชุมชน กสบ.หมู่ 5 เฟสแรก  40  ครัวเรือนได้รวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อเป็นทุนในการสร้างบ้าน  และจดทะเบียนเป็นสหกรณ์เคหสถาน  เพื่อร่วมกันบริหารโครงการ  โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสนับสนุนงบประมาณสาธารณูปโภค  รวม 2,150,000 บาท   อุดหนุนการสร้างที่อยู่อาศัย  รวม 1,075,000 บาท  ช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบและเสียโอกาส  รวม  2,880,000 บาท และงบสินเชื่อสร้างบ้าน  รวม 9,980,244 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 บาทต่อปี  ระยะเวลาผ่อนส่ง 15  ปี

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากการสร้างบ้านใหม่ดังกล่าวแล้ว  ชุมชนยังมีแผนงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ส่งเสริมอาชีพชาวชุมชน  ดูแลสิ่งแวดล้อม  โดยจะร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  จัดทำแผนและดำเนินโครงการต่างๆ ภายในเร็วๆ นี้  นอกจากนี้การก่อสร้างบ้านใหม่ในเฟสต่อไปจะมีการสร้างบ้านกลาง  เพื่อให้ผู้ที่ด้อยโอกาส  คนชรา  หรือผู้พิการได้อยู่อาศัยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย  รวมทั้งหมด  4 หลัง

 

นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า  แผนงานรองรับประชาชนที่ต้องรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำฯ ในคลองลาดพร้าว  หรือโครงการ บ้านประชารัฐริมคลองเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2559  มีเป้าหมายดำเนินการในคลองลาดพร้าวและคลองบางซื่อ  รวม  50 ชุมชน  จำนวน  7,069   ครัวเรือน  เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกสร้างบ้านเรือนกีดขวางทางระบายน้ำ  และพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนให้มีความมั่นคง  และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 

ส่วนกระบวนการสร้างบ้าน  นายสมชาติกล่าวว่า  โครงการบ้านประชารัฐริมคลองมีหลักการ  คือ  1. หากชุมชนใดสามารถอยู่ในที่ดินเดิมได้ (หลังจากสำรวจและวัดแนวเขตว่าพ้นจากแนวเขื่อนฯ แล้ว) จะต้องทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์  ระยะเวลาช่วงแรก 30 ปี (สามารถต่อสัญญาได้ครั้งละ 30 ปี) อัตราค่าเช่าไม่เกิน 2 บาท/ตารางวา/เดือน)  นอกจากนี้ชาวชุมชนจะต้องรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อออมเงินสร้างบ้าน  และจัดตั้งสหกรณ์เคหสถานขึ้นมาเพื่อบริหารโครงการ   มีการสำรวจข้อมูลชุมชน   ออกแบบผังชุมชน  ออกแบบบ้านร่วมกัน  โดยมีสถาปนิกจาก พอช.เป็นที่ปรึกษา  ใช้วิธีการจ้างผู้รับเหมาหรือบริษัทก่อสร้างบ้าน

 

และเนื่องจากพื้นที่ชุมชนริมคลองมีจำกัด ดังนั้นครอบครัวใดที่เคยครอบครองที่ดินมากก็จะต้องเสียสละแบ่งปันที่ดินให้ครอบครัวอื่นๆ ได้อยู่อาศัยร่วมกัน  โดยการแบ่งที่ดินให้แต่ละครอบครัวเท่ากัน  โดย พอช.จะสนับสนุนเรื่องสินเชื่อไม่เกิน  360,000 บาท/ครัวเรือน  ระยะเวลาผ่อน 20 ปี  ดอกเบี้ยร้อยละ 4 บาทต่อปี  รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณสร้างสาธารณูปโภคครัวเรือนละ  75,000 บาท  เงินอุดหนุนและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบครัวเรือนละ  72,000  บาท

 

  2. หากชุมชนใดมีพื้นที่ไม่เพียงพอ ชาวบ้านอาจจะรวมตัวกันไปหาที่ดินแปลงใหม่ที่อยู่ไม่ไกลจากชุมชนเดิม เพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ  การเดินทาง สถานศึกษา  เช่น ที่ดินของบรรษัทสินทรัพย์ในสังกัดกระทรวงการคลัง หรือที่ดินเอกชน  โดย พอช.จะให้การสนับสนุนสินเชื่อครัวเรือนละไม่เกิน 450,000   บาท  และช่วยเหลือเหมือนกับข้อ 1

 

  3.หากไม่มีที่ดินที่เหมาะสม พอช.จะประสานกับการเคหะแห่งชาติเพื่อหาที่อยู่อาศัยรองรับชาวชุมชน  เช่น  โครง การบ้านเอื้ออาทร  ฯลฯ

 

  “โครงการบ้านประชารัฐริมคลอง  เป็นความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ  เช่น  กรมธนารักษ์  กรมส่งเสริมสหกรณ์  คสช.  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กระทรวงมหาดไทย   กรุงเทพมหานคร  สำนักงานเขต  การไฟฟ้า  การประปา  สสส. ฯลฯ  เพื่อทำให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง  มีสภาพแวดล้อมที่ดี  และนอกจากจะสร้างบ้านใหม่แล้ว  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสนับสนุนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของชาวชุมชน  เช่น  ส่งเสริมเรื่องอาชีพ  การจัดการขยะ  การบำบัดน้ำเสีย  ส่งเสริมกิจกรรมเด็ก  เยาวชน   สตรี  ผู้สูงอายุ  และคนพิการด้วย”  นายสมชาติกล่าว

 

สำหรับความคืบหน้าในการก่อสร้างเขื่อนระบายน้ำคอนกรีตเพื่อป้องกันน้ำท่วม ระยะทางสองฝั่งคลองยาว 45.3 กิโลเมตร จากคลองลาดพร้าวบริเวณอุโมงค์เขื่อนพระราม 9 เขตวังทองหลาง ไปยังคลองสอง (คลองลาดพร้าว) เขตสายไหม  งบประมาณในการก่อสร้างทั้งสิ้น 1,645 ล้านบาท  โดยบริษัทริเวอร์เอ็นจิเนียริ่ง  จำกัด  ประมูลงานได้ ซึ่งตามแผนการงานจะใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 1,260 วัน หรือแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2562 นั้น 

ขณะนี้ กทม.ได้ส่งมอบพื้นที่ที่ประชาชนรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวเขื่อนฯ และพื้นที่ว่างริมคลองให้แก่บริษัทริเวอร์ฯ เพื่อให้เข้าตอกเสาเข็มก่อสร้างเขื่อนไปแล้ว 120,826 เมตร และบริษัทสามารถตอกเสาเข็มได้ 20,867 ต้น  คิดเป็นความคืบหน้าโครงการ 28.03 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งล่าช้ากว่าแผนงานมาก  ดังนั้น กทม.จึงได้เร่งรัดให้บริษัททำงานให้ได้ตามแผนที่กำหนด  โดยจะต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนปีหน้า  

 

อย่างไรก็ตาม  ก่อนหน้านี้บริษัทริเวอร์ฯ ชี้แจงว่าเกิดปัญหาความล่าช้าเนื่องจากประชาชนจำนวนมากยังไม่ยอมรื้อย้ายบ้านเรือนออกจากแนวก่อสร้างเขื่อนฯ  ทำให้บริษัทเข้าไปตอกเสาเข็มไม่ได้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"