เทศกาลตรุษจีนจะเริ่มต้นนับหนึ่งวันพรุ่งนี้ หรือวันไหว้เจ้า ส่วนวันที่ 12 ก.พ. ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งว่ากันว่าคนจีนหรือคนไทยเชื้อสายจีนทั้งหลาย จะพยายามยึดถือธรรมเนียมเก่าแก่แต่โบราณให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น การแต่งตัวด้วยสีแดง การแจกอั่งเปา การควบคุมสติไม่ให้อารมณ์เสีย และพูดจากันด้วยคำที่ไพเราะหรือไม่ก็อวยพรกันด้วยคำแปลได้ว่า ขอให้ทำมาค้าขึ้น สุขภาพแข็งแรง มีเหลือกินเหลือใช้ ลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง ..เป็นต้น
จดจำได้ว่า วันไหว้เจ้านั้น ต่อให้บ้านยากจนหรือแค่หาเช้ากินค่ำ หัวหน้าครอบครัวจะต้องดิ้นรนหา “ไก่” และ “เป็ด” ขึ้นโต๊ะไหว้ให้ได้ ถือเป็นเรื่องใหญ่เลยทีเดียว ถ้าไม่มีอาหาร 2 อย่างนี้ เพราะคนจีนเชื่อว่าไก่ หมายถึงความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ส่วนเป็ด หมายถึงความสะอาดบริสุทธิ์
บ้านที่หรูหน่อยก็ต้องมี “ปลา” ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ความมั่งคั่ง กินแล้วจะอยู่ดีกินดี เงินทองเหลือกินเหลือใช้ อีกเมนูที่ต้องมีก็คือ “เส้นหมี่” อันเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืน
แต่วันนี้โลกเปลี่ยน ความคิดความเชื่อก็ถูกปรับตามสถานการณ์ไป โดยเฉพาะในสังคมของคนสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่คนรุ่นใหม่ลืมเลือนหรือมองข้ามประเพณีวันตรุษจีนแบบรูปเก่าๆ ปรากฏเห็นชัดเจนว่า โต๊ะไหว้เจ้า จากไก่หรือเป็ดเป็นตัวๆ บางบ้านซื้อไก่เคเอฟซีมาขึ้นโต๊ะแบบสะดวกซื้อ ในขณะที่บางบ้านซื้อหมูแผ่นมาทดแทนหมูสามชั้นที่ต้องเสียเวลาต้มเป็นชิ้นๆ นานแสนนาน
นอกจากนี้ยังมีบางครอบครัวเชื่อว่า การไหว้ด้วยผลไม้จะดีกว่า และสิ่งที่มองข้ามไม่ได้ก็เห็นจะเป็นเรื่องการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ซึ่งลดน้อยถอยลงตามฤทธิ์เดชของฝุ่นจิ๋ว PM2.5 นั่นแหละ
นี่แหละชีวิตจริงของโลกใบนี้ แต่ที่ไม่เปลี่ยนแม้จะเกิดวิกฤติโควิด-19 หรืออะไรก็ตามแต่ ก็เห็นจะเป็นอั่งเปานี่แหละ ยังคงเป็นอะไรที่ปรารถนา ไม่ถือว่าเชยหรือล้าสมัยเลยนะ.
"ป้าเอง"
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |