13 สถาบันวิชาการจากหลายมหาวิทยาลัย เครือข่ายทางวิชาการจำนวนมาก และสหพันธ์นิสิตนักศึกษา ประกอบด้วยเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทยมหาวิทยาลัยนเรศวร , คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม,ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.),ศูนย์วิชาการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.),เครือข่ายพัฒนาศักยภาพผู้นำการสร้างสุขภาวะ (คศน.),ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย,แผนงานวิจัยนโยบายอาหารและโภชนาการ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ(FHP),สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.),สภาเภสัชกรรมและ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดเวทีวิชาการเพื่อให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน และประชาชน เรื่อง “ข้อเท็จจริงทางวิชาการในการควบคุมสารเคมีอันตราย : พาราควอต (Paraquat) ไกลโฟเซต (Glyphosate) และคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)” ในวันพุธที่ 16 พฤษภาคม 2561 เวลา 9.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุมนานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อภิปรายข้อมูลเชิงวิชาการโดยผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา , การเกิดพิษเฉียบพลันสูงในสิ่งมีชีวิต โดย รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์,ในแง่มุมผลกระทบต่อสุขภาพ โดย ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , ศ.ดร.พรพิมล กองทิพย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและ รศ.ดร.จุฑามาศ สัตยวิวัฒน์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายในแง่ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และการเกษตร โดยรศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้อำนวยการสถานวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการด้านวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร และผศ.ดร.นพดล กิตนะ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ตลอดจนเปิดให้สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปได้ร่วมอภิปรายซักถาม และสรุปปิดการประชุม โดย ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา
ประชาชนทั่วไปสามารถร่วมติดตามการแถลงผ่าน FB เพจ Healthstation สช.ออนไลน์
ผู้สื่อข่าวรายงาน การเคลื่อนไหวของ 13องค์กรวิชาการ น่าจะเป็นผลสืบเนื่องจากกรณีที่มีการประชุมพิจารณาการต่อหรือไม่ต่ออายุพาราควอต เมื่อวันที่ 24 เม.ย.ที่ผ่านมา ของคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ ที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายแต่งตั้งขึ้น ให้มีอำนาจตัดสินว่าจะต่อทะเบียนพาราควอต หรือยกเลิกการใช้นั้น ยังไม่มีสัญญาณที่บ่งบอกว่า จะมีการยกเลิกการใช้สารเคมีพาราควอต โดยกลุ่มเอ็นจีโอ ตั้งข้อสังเกตุว่า ความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ จะแตกเป็น 2 เสียง คือเสียงส่วนใหญ่ให้มีการใช้ต่อไป แต่ต้องมีการจำกัดการใช้ และบางส่วนให้มีการยุติการใช้ ตามมติของคณะกรรมการจาก 3 กระทรวง ที่นายกรัฐมนตรี แต่งตั้งขึ้นซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีข้อสรุปส่งมายังคณะอนุฯ จึงมีความกังวลว่าคณะกรรมการวัตถุอันตรายจะตัดสินตามเสียงส่วนใหญ่ จึงได้มีการล่ารายชื่อ 50,000 รายชื่อเป็นแคมเปญต่อเนื่องเพื่อคัดค้านการขึ้นทะเบียนต่อไปยัง นายกรัฐมนตรี แต่ถึงกระนั้น ก็ยังไม่มีหลักประกันว่าจะมีการยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างพาราควอตแต่อย่างใด.
---------
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |