อินเดีย : อีกด้านหนึ่งของ เกมภูมิรัฐศาสตร์เมียนมา


เพิ่มเพื่อน    

       ดูแผนที่แล้วก็จะเห็นว่าเมียนมาอยู่ระหว่างเพื่อนบ้านยักษ์สองประเทศ...จีนและอินเดีย...กับ “ยักษ์กลาง” บังกลาเทศ และ “ยักษ์เล็ก” ประเทศไทย

                พอเกิดรัฐประหารครั้งใหม่นี้ภาวะแห่งการแข่งขันด้านภูมิรัฐศาสตร์ก็เผยตัวขึ้นอย่างน่าสนใจทันที

                เมื่อวานผมเขียนถึงท่าทีของสหรัฐกับจีนที่ต่างก็ต้องการจะมีบทบาทในเมียนมา และต้องแข่งขันกันสร้างอิทธิพลในรูปแบบที่แตกต่างกัน

                สหรัฐภายใต้โจ ไบเดน ต้องการกดดันให้พลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย กลับไปสู่กระบวนการประชาธิปไตย

                จีนแสดงความเห็นใจรัฐบาลทหารมากกว่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจีนจะกระโจนไปอุ้มผู้นำกองทัพเมียนมาทั้งหมด เพราะจีนวันนี้ต้องการรักษาสถานภาพในเวทีระหว่างประเทศเช่นกัน

                อินเดียเป็นเพื่อนบ้านอีกด้านหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเมียนมา

                สหรัฐพยายามดึงอินเดียมาเป็นพรรคพวกในนโยบาย Indo-Pacific และจีนกับอินเดียก็มีเรื่องระหองระแหงกันมาตลอดช่วงประวัติศาสตร์อันยาวนาน

                ท่าทีของอินเดียตั้งแต่เกิดรัฐประหารคือการวางตัวกลางๆ...ไม่ประณาม แต่ก็ไม่สนับสนุน

                เพราะผลประโยชน์ของอินเดียในเมียนมามีหลายด้าน ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และการเมือง, ความมั่นคงและเศรษฐกิจ

                นายกฯ นารินทรา โมดี ได้แสดงความใกล้ชิดกับอองซาน ซูจี มาตลอด..เมื่อปีที่แล้วก็ส่งเรือดำน้ำมาให้เป็นของขวัญ

                เหตุเพราะอินเดียกับเมียนมามีประเด็นเครื่องความมั่นคงที่ต้องคอยประสานเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อกัน

                อินเดียเป็นห่วงกิจกรรมที่มีผลต่อด้านความมั่นคงที่รัฐยะไข่

                เหตุผลหนึ่งคือ การสร้างท่าเรือที่ Sittwe เพื่อเชื่อม 2 ประเทศ

                อีกเหตุผลหนึ่งคือ ยะไข่เป็นที่พำนักของชาวโรฮินจา

                อินเดียกังวลกิจกรรมของกลุ่มก่อเหตุร้ายที่หลบซ่อนในเมียนมา

                อินเดียกับเมียนมาคุยกันบ่อยๆ เรื่องที่เชื่อว่าจีนสนับสนุนกลุ่ม Arakan Army ติดอาวุธที่สนับสนุนกลุ่มโรฮีนจา และโจมตีโครงการ Kaladan ของอินเดีย

                บางครั้งนักรบอารข่านก็จับคนงานในโครงการอินเดียเป็นตัวประกัน

                อีกด้านหนึ่งอินเดียต้องการเมียนมาร่วมมือในการปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธว้าที่พม่าและอินเดียสงสัยว่าได้รับการสนับสนุนจากจีนเช่นกัน

                นโยบายของรัฐบาลอินเดียที่ผ่านมาคบหาทั้งรัฐบาลพลเรือนของอองซาน ซูจี และกองทัพภายใต้การนำของพลเอกอาวุโสมิน อ่องหล่าย

                แน่นอนว่าอินเดียไม่ต้องการเห็นเมียนมาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนมากเกินไป เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อความมั่นคงของอินเดียเอง

                แต่นักวิเคราะห์ที่ติดตามทิศทางการเมืองและการปรับตัวของเมียนมาก็ยอมรับว่า เอาเข้าจริงๆ แล้วคงไม่มีแรงกดดันภายนอกอะไรที่จะสามารถผลักดันให้เมียนมาไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

                “อนาคตของเมียนมาอยู่ในมือของเมียนมาเอง” คือข้อสรุปของนักวิเคราะห์บางคนที่กำลังประเมินก้าวย่างจากนี้ไปของกลเกมภูมิรัฐศาสตร์

                อินเดียเป็นคู่ค้ากับเมียนมาสูงอันดับที่ 4 (ไทย, จีนและสิงคโปร์คือ 3 ประเทศในอันดับต้น)

                เมียนมาสั่งสินค้าจากอินเดียเข้าประเทศเป็นอันดับ 7

                นั่นแปลว่าแม้จะเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดกันเพียงนั้น แต่การค้าการลงทุนก็ยังห่างจากจุดที่ทั้ง 2 ประเทศอยากจะเห็น

                จุดเชื่อมโยงที่น่าสนใจระหว่างอินเดีย, เมียนมาและไทยคือ “ทางหลวงมิตรภาพ” ยาว 3,200 กิโลเมตร ที่เชื่อม 3 ประเทศ

                ทางหลวงนี้เชื่อมรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย วิ่งผ่านมัณฑะเลย์ของเมียนมาและย่างกุ้งมาต่อกับแม่สอดของไทย

                อินเดียถือว่าเมียนมากับไทยเป็นส่วนสำคัญของนโยบาย Act East หรือการมุ่งสู่ตะวันออกของอินเดียในการสร้างความสัมพันธ์ทั้งเศรษฐกิจ, การเมืองและความมั่นคง

                พอทหารตัดสินใจ “ล้มกระดาน” รัฐบาลพลเรือน อินเดียก็ต้องชะงัก และกำลังประเมินสถานการณ์ใหม่อีกครั้ง

                แต่เมื่อผลประโยชน์ร่วมพื้นฐานของอินเดียกับเมียนมายังไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร เราคงจะเห็นการ “รอด้วยความอดทน” เพื่อให้สถานการณ์ “กลับฟื้นคืนภาวะปกติโดยเร็ว” อย่างที่บอกไว้ในแถลงการณ์ทางการจากนิวเดลี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"