7 ก.พ.64- นายอนุสรณ์ ธรรมใจ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง และอดีตคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม. รังสิต กล่าวว่า หากกลุ่มผู้นำอาเซียนไม่ได้มีการหารือในเรื่องสถานการณ์ในเมียนมาให้ชัดเจน มีโอกาสที่รัฐบาลแต่ละประเทศจะมีจุดยืนที่แตกต่างหลากหลายตามผลประโยชน์ของแต่ละประเทศต่อรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าชุดใหม่ แม้นอาเซียนจะยึดถือแนวทางการไม่ยุ่งเกี่ยวกิจการภายในต่อประเทศสมาชิก แต่อาเซียนเองก็เคยดำเนินนโยบายพัวพันอย่างสร้างสรรค์เพื่อผลักดันให้พม่าจัดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นธรรมและพัฒนาสู่ประชาธิปไตย และ เป็นเงื่อนไขสำคัญของอาเซียนในการรับประเทศเมียนมาเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของอาเซียน
นายอนุสรณ์ ระบุว่า การไม่หารือกันให้ชัดเจนโดยเร็วอาจก่อให้ความแตกแยกในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียนจากจุดยืนที่แตกต่างกันต่อรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ขอให้ “รัฐบาลไทย” แสดงจุดยืนและบทบาทต่อการแก้ไขปัญหาในพม่าด้วยแนวทางสันติวิธี เคารพระบบนิติรัฐและหลักการประชาธิปไตยด้วยการเสนอให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดการประชุมวาระพิเศษเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการล้มล้างอำนาจของประชาชน ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการจับกุมสมาชิกรัฐสภา แกนนำฝ่ายค้าน นักวิชาการ สื่อมวลชน กลุ่มนักกิจกรรมและนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจำนวนมาก การชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยและต่อต้านการรัฐประหารอาจถูกปราบปรามด้วยความรุนแรงและอาวุธสงคราม หากอาเซียนนิ่งเฉย อาเซียนควรออกมาปกป้องสิทธิพื้นฐานดังกล่าวของประชาชนชาวเมียนมาและให้หลักประกันประชาชน จะไม่ถูกปราบปรามด้วยอาวุธเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นในหลายครั้งจากผู้นำเผด็จการทหารพม่ามือเปื้อนเลือดในอดีต หากผู้นำอาเซียนทำงานเชิงรุกและกระตือรือร้นต่อปัญหาประชาธิปไตยและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา เหตุการณ์นองเลือดจากการปราบปรามของรัฐทหารพม่าอย่างเหตุการณ์ 8-8-88 และ ปราบปรามผู้ชุมนุมในเหตุการณ์การปฏิวัติผ้ากาสาวพัสตร์ (Saffron Revolution) ต้องไม่เกิดขึ้นอีก.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |