คนอีสานจ่อบุกทำเนียบสกัดรัฐปล่อยผีโรงงานน้ำตาลโรงไฟฟ้าชีวมวล


เพิ่มเพื่อน    

7 ก.พ.64 -  กลุ่มประชาชนในนาม กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง ประมาณกว่า 100 คน ได้จัดเวทีเสวนา ครบรอบ 4 ปี “กระบวนการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล” และ ได้ร่วมกันแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการเผาหุ่น เผาพริกเผาเกลือ เพื่อสาปแช่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและโรงงานน้ำตาลโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยนายสิริศักดิ์ สะดวก ที่ปรึกษากลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็ง กล่าวว่า วันนี้ทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเชียงเพ็งได้ร่วมกันจัดกิจกรรม ครบรอบ 4 ปี กับกระบวนการเคลื่อนไหวคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ซึ่งทางชาวบ้านได้ร่วมกันคัดค้านตั้งแต่กระบวนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่ไม่เคยรับรู้ข้อมูลข่าวสารมาก่อนเลย

นายสิริศักดิ์ ระบุว่า ถึงแม้ว่าปัจจุบันโรงงานได้สร้างเสร็จแล้วและเริ่มดำเนินการมาได้ประมาณ 2 ปี จากการเก็บข้อมูลสะท้อนให้ถึงเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะ ด้านเสียง ด้านกลิ่น ด้านฝุ่น ด้านการจราจร ซึ่งทางกลุ่มชาวบ้านอนุรักษ์ลำน้ำเซบายยังยืนยันคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล และต่อไปข้างหน้าจะร่วมกับทางคณะกรรมการประชาชนคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล(คปน.ภาคอีสาน) เพื่อเดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกมติ ครม.ปี 58 ประเด็นเรื่องการดำเนินการของโคงการโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล

ขณะที่ นางมะลิจิตร เอกตาแสง กรรมการกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย ได้อ่านแถลงการณ์โดยมีเนื้อหาดังนี้ “หยุดนโยบายคุกคามแผ่นดินอีสาน หยุดนโยบายโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล” โดยระบุว่า ภายหลังการยึดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และรัฐบาล คสช. เข้าบริหารประเทศ 17 สิงหาคม 2558 กระทรวงอุตสาหกรรมได้ออกประกาศ เรื่องการให้ตั้งหรือขยายโรงงานน้ำตาลในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2558 โดยนิยามจากเดิมคำว่า “ตั้งโรงงานน้ำตาล” หมายความว่า ตั้งโรงงานน้ำตาลขึ้นใหม่เท่านั้น แต่ประกาศกระทรวงในครั้งนี้ให้หมายความรวมถึง “การขยายโรงงาน” และ “การย้ายโรงงานน้ำตาล” ไปตั้งยังพื้นที่อื่นได้ด้วย เป็นการปลดล็อคให้ผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ และขอขยายหรือย้ายโรงงานน้ำตาลไปยังพื้นที่อื่นโดยมีระยะห่างระหว่างโรงงานเดิมกับโรงงานใหม่ไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร 

ปลายปี 2558 สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ออกใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลซึ่งผูกขาดด้วยผู้ประกอบการรายใหญ่ 6 กลุ่มสามารถตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ หรือย้าย หรือขยายกำลังผลิตไปตั้งยังที่แห่งใหม่ รวมกับโรงงานที่ได้รับอนุญาตตามมติ ครม. ปี 2554 ในภาคอีสานจะมีไบโอฮับเป็นศูนย์กลางในพื้นที่ฐานการผลิต และจะมีโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น 29 โรงงาน ในพื้นที่ ภาคอีสาน ความชัดเจนเริ่มปรากฏชัดเมื่อแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่นถูกกำหนดและผูกขาดด้วยทุนขนาดใหญ่ รวมถึงกระบวนการในการแก้ไขกฏหมายและระเบียบของภาครัฐเอื้อต่อการลงทุน เพิ่มกลไกให้กลุ่มทุนขยายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นในรูปแบบของพลังประชารัฐ และสามารถวางกรอบนโยบายไว้ในแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อมุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ ผ่านการผลักดันของคณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คือคณะทำงานด้านการพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ ดังนั้นนับตั้งแต่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลได้ขยายฐานการผลิตจากภาคกลางมายังอีสานกว่า 15 ปีที่ผ่านมา ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคอีสานซึ่งมีพื้นที่ปลูกอ้อยมากกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ 

นางมะลิจิตร ระบุว่า เป็นเวลา 4 ปีแล้วที่กลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายตำบลเชียงเพ็งได้ยืนหยัดคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ที่ตั้งในพื้นที่ตำบลน้ำปลีก ในขณะที่โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีมวลได้ดำเนินการมาปีนี้เป็นปีที่ 2 แล้ว เรารับรู้ได้ถึงมลภาวะที่เกิดจากเสียงดังรบกวนวิถีชีวิตปกติสุขของชุมชน การจราจร และกลิ่น เป็นต้น การเคลื่อนไหวของกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบายเพื่อคัดค้านโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล เรามีจุดยืนที่ชัดเจนในการปกป้องวิถีชีวิตบ้านเกิด ปกป้องทรัพยากร แต่รัฐบาลไม่เคยที่จะฟังเสียงของชาวบ้าน ในทางกลับกันยังเปิดช่องทางเอื้อให้กับทุน  ตลอดจนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศในครั้งนี้ซึ่งจะทำให้ภาคอีสานมีนิคมอุตสาหกรรมชีวภาพ หรือศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ มีกลุ่มโรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล และโรงงานซึ่งเกิดจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายประเภทภายในพื้นที่เดียวกันในพื้นที่ 13 จังหวัดของภาคอีสาน

 

เธอระบุด้วยว่า จึงนับเป็นการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ขนาดใหญ่จากนโยบายรัฐ ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ทั้งนัี้สิ่งสำคัญคือจะต้องมีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ก่อน ไม่ใช่แค่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเป็นรายโครงการเหมือนที่ผ่านมา รวมถึงการกำหนดนโยบายที่ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร และเมื่อประชาชนในแต่ละพื้นที่ติดตามข้อมูลโดยยื่นหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความกังวลในเรื่องผังเมือง พื้นที่เปราะบางหรือพื้นที่ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ผลกระทบต่อวิถีชีวิต ความมั่นคงทางอาหาร และผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ ดังนั้นทางกลุ่มอนุรักษ์ลำน้ำเซบาย จึงเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ยุติดำเนินนโยบายโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลในภาคอีสาน และให้ประเมินยุทธศาสตร์ทางด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ชาวบ้านในพื้นที่เข้าไปมีส่วนร่วม .


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"