7 ก.พ. 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีรายละเอียดดังนี้ สถานการณ์ทั่วโลก 7 กุมภาพันธ์ 2564
ทะลุ 106 ล้านคนไปแล้ว
ล่าสุดเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่ 21 ของโลกที่มีติดเชื้อเกิน 1,000,000 คน
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 452,593 คน รวมแล้วตอนนี้ 106,301,024 คน ตายเพิ่มอีก 11,622 คน ยอดตายรวม 2,318,021 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 127,096 คน รวม 27,508,101 คน ตายเพิ่มอีก 2,976 คน ยอดตายรวม 473,126 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 11,948 คน รวม 10,827,170 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 50,630 คน รวม 9,497,795 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 16,627 คน รวม 3,951,233 คน
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 18,262 คน รวม 3,929,835 คน ยอดตายรวมขณะนี้ 112,092 คน
อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลักหมื่นต่อวัน
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อิสราเอล อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มต่อเนื่องแบบทรงตัว
เกาหลีใต้ และไทย ติดเพิ่มหลายร้อย ส่วนจีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่เวียดนาม กัมพูชา และออสเตรเลีย ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
ล่าสุดเดนมาร์กทะลุสองแสนไปแล้ว ในขณะที่เกาหลีใต้ยอดรวมเกินแปดหมื่น ส่วนญี่ปุ่นกำลังจะแตะสี่แสนในวันนี้
เวียดนามสามารถกดการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ครั้งนี้ได้จนเหลือหลักเดียวในเวลา 10 วัน เนื่องจากดำเนินมาตรการอย่างเข้มงวดเคร่งครัด รวมถึงขยายการกักตัวคนเดินทางจากต่างประเทศเป็น 21 วันตั้งแต่เจอสายพันธุ์ใหม่ระบาดในวันที่ 28 มกราคมเป็นต้นมา ซึ่งตอนนี้กำลังจะลดเป็น 14 วันเช่นเดิม การระบาดครั้งนี้มีคนติดเชื้อไป 394 คน ทางการเวียดนามวางแผนที่จะทำการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนของเค้าภายในเดือนมีนาคมนี้โดยได้รับมาจาก COVAX
พอพูดถึงเรื่องไวรัสสายพันธุ์สหราชอาณาจักร ที่เรียกว่า B.1.1.7 นั้น ล่าสุดมีการกระจายไปทั่วโลกหลายสิบประเทศ ทางสหราชอาณาจักรได้มีการศึกษาวิจัยแล้วพบว่า นอกจากจะมีอัตราการแพร่ที่เร็วขึ้นกว่าเดิมแล้ว ยังมีความรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดิมอีกด้วย โดยจะทำให้คนติดเชื้อมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงขึ้นกว่าเดิมถึง 36% โดยเป็นทุกช่วงอายุ ทุกเพศ และทุกเชื้อชาติ
วิเคราะห์สถานการณ์ของเรา...
จะอยู่รอดปลอดภัยได้ ประชาชนทุกคนคงต้องช่วยกันดูแลตนเองอย่างเคร่งครัด
วัคซีนที่มีในแผนที่ประกาศมานั้น คงใช้เวลาอีกนาน คาดว่าอาจไปถึงกลางหรือปลายปีหน้ากว่าจะฉีดในประชาชนจำนวนมากเพียงพอ ดังนั้นจึงอาจมีโอกาสที่จะเกิดระบาดซ้ำไปได้เรื่อยๆ หากป้องกันไม่เคร่งครัดพอ
ธุรกิจห้างร้าน ทั้งเล็ก กลาง และใหญ่ ไม่ว่าจะอยู่ในวงการใดก็ตาม อาจจำเป็นต้องปรับตัวขนานใหญ่ เพราะต้องใช้เวลาไปอีก 1-1.5 ปี ที่ต้องเน้นการอยู่อย่างระแวดระวังสูง
หนึ่ง "มาตรการคัดกรองและดูแลรักษาความสะอาด" ทั้งในบุคลากรที่ทำงาน และผู้มารับบริการ ควรทำเป็นระบบอย่างถาวร อันไหนจำเป็นต้องลงทุนจัดซื้อจัดหามาก็ควรทำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องวัดอุณหภูมิ เจล สเปรย์แอลกอฮอล์ ตารางการทำความสะอาดสถานที่และสิ่งของสาธารณะ
สอง "ระบบงาน"คงต้องเปลี่ยนไปยาวๆ แบ่งทีมผลัดกันมาทำงาน บางส่วนทำที่ที่ทำงาน บางส่วนทำที่บ้าน หรือแยกการจ้างงานเป็นหลายประเภท เน้นการนำส่งผลงาน/สินค้า/บริการ มากกว่าเน้นสถานที่วันเวลาที่ทำงาน
สาม ไม่ว่าจะภาครัฐหรือเอกชน "การประเมินผลงาน"ควรหันมาให้น้ำหนักเรื่องพฤติกรรมการป้องกันตัวส่วนบุคคล (Personal sanitation) โดยให้ประเมินเรื่องการใส่หน้ากากในที่ทำงาน การล้างมือ การรักษาระยะห่างระหว่างกัน และการรักษาสุขภาพตนเอง เพราะหากทำให้ทุกคนเคร่งครัดดูแลตนเองได้ โอกาสติดเชื้อและนำมาแพร่เชื้อในที่ทำงานก็จะลดลง กิจการต่างๆ ก็จะเสี่ยงที่จะต้องปิดหรือได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อน้อยลงไปด้วย
สี่ อาจต้องคิดยาวไปถึงการพัฒนามาตรการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายและความปลอดภัยในการกินการอยู่การเดินทาง สำหรับบุคลากรของแต่ละที่ทำงาน การจัดอาหารแยกสำรับ โดยแชร์ค่าใช้จ่ายร่วมกันในองค์กรในราคาประหยัดกว่าแยกซื้อเอง หรือหากเคยมีการจัดรถขนส่งพนักงานรวมกัน อาจต้องหาวิธีการที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
ตอนนี้สถานการณ์ไม่ปลอดภัยนะครับ ไม่ใช่เวลาโต๋เต๋ ตะลอน ท่องเที่ยว สังสรรค์ พบปะกันเป็นกลุ่ม
ใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร
ลดละเลี่ยงการกินดื่มในร้าน ซื้อกลับจะปลอดภัยที่สุด
คอยสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงานและรีบไปตรวจรักษา
สวัสดีวันอาทิตย์ครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |