15 พ.ค.61- ที่รัฐสภา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สถาบันพระปกเกล้า และสมาคมรัฐประศาสนศาตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) จัดเวทีสัมมนา เรื่อง "การใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญกับการใช้อำนาจรัฐ" ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการอภิปรายเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 ที่จะนำไปสู่ปัญหาในการตีความและการบังคับใช้
นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ สมาชิกสนช. อภิปรายว่า ประเด็นสำคัญของรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 อยู่ที่การกำหนดในมาตรา 25 ว่าให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพนอกเหนือไปจากที่รัฐธรรมนูญเขียนไว้ ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรม แต่คำถามใหญ่ คือ ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพอะไรบ้าง
“เดิมสิทธิเสรีภาพ ถ้ารัฐธรรมนูญเขียนไว้ 20 มาตรา ก็มี 20 แต่อาจารย์มีชัยมาเขียนในลักษณะ 25มาตราบวกบวก ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีที่ว่าคนเราเกิดมาจะมีสิทธิเสรีภาพติดตัวมาแต่กำเนิด และรัฐค่อยมารับรองสิทธิเสรีภาพนั้น แต่ปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ อาจารย์มีชัยเขียนโดยมาตรา25ที่มีการบวกบวกเพิ่มเข้าไปนั้นมีทั้งเรื่องสิทธิและเสรีภาพเข้าไปพร้อมกันอาจจะมีปัญหาทางกฎหมายว่าที่สุดแล้วประชาชนจะมีสิทธิที่รัฐจะรับรองมีอะไรบ้าง”
นายสมคิด กล่าวว่า คนใช้กฎหมายต้องอ่านรัฐธรรมนูญให้ดี เช่น มาตรา 44ว่าด้วยเสรีภาพของประชาชนในการชุมนุมนั้นไม่สามารถจะไปจำกัดได้ เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ซึ่งการระบุเช่นนี้เป็นการย้ำว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้การชุมนุมเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ไปตีความว่าทุกเรื่องเป็นเรื่องการรักษาความมั่นคงของรัฐหมด แบบนี้การชุมนุมประท้วงจะทำไม่ได้เลย ถ้าเราอยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ก็ต้องยอมรับเรื่องความขัดแย้งและการชุมนุม มิเช่นนั้น การพูดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน ประชาธิปไตยและเสรีภาพก็จะเป็นเพียงลมปากเท่านั้น
“ปัญหาใหญ่ คือ เราไม่อยากให้การชุมนุมทุกครั้ง เป็นเรื่องที่ฝ่ายรัฐไม่ประสงค์ให้ชุมนุม ถ้าเจ้าหน้าที่ที่บังคับใช้กฎหมายคิดในเชิงว่าทุกอย่างการชุมนุมทุกอย่าง คือ ความวุ่นวายและกระทบความมั่นของรัฐ การชุมนุมซึ่งบางเรื่องเป็นเรื่องที่ทำให้คนได้รับการศึกษาและสะท้อนให้ผู้มีอำนาจเห็นประโยชน์จากเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น เราก็น่าจะกระทำ"
นายบรรเจิด สิงคะเนติ ผู้อำนวยการหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต นิด้า กล่าวว่า ความมั่นคงของรัฐกับความมั่นคงของรัฐบาลต้องแยกออกจากกันให้ดี ซึ่งส่วนตัวตัวคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับเดิมบัญญัติไว้ชัดว่าการจะใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนจะกระทำไม่ได้ก็ต่อเมื่อเป็นการใช้ในลักษณะที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ เช่น ไทยเป็นรัฐเดี่ยว ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถ้าใครใช้สิทธิเสรีภาพเป็นปฏิปักษ์กับสิ่งเหล่านี้จะกระทำไม่ได้ เป็นต้น ผิดกับรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 ที่บัญญัติเรื่องการกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการตีความทันที
“การจะแก้ปัญหาการชุมนุม ผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องแก้ไขความขัดแย้งทางกรารเมือง ตราบเท่าที่ความขัดแย้งทางการเมืองยังดำรงอยู่ การแสดงออกทางการเมืองย่อมเป็นเงาตามตัว” นายบรรเจิด กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |