·
5 ก.พ.64 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า วันนี้ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2560 ม.148(2) ในการวินิจฉัยว่า(ร่าง)กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ฉบับที่... พ.ศ... ม.301 ม.305(4) และ ม.305(5) ซึ่งอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างเสรีหากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ เป็นการตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือไม่
ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากได้มีกลุ่มแพทย์ทางด้านเวชกรรมทางสูตินรีแพทย์ ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว ไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มแพทย์ทางด้านสูตินรีแพทย์ ซึ่งเป็นผู้ที่จะต้องทำแท้งให้มารดาที่ไม่ประสงค์จะมีบุตรตามข้อบัญญัติของกฎหมายโดยตรง อีกทั้งร่างกฎหมายดังกล่าวไม่มีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ ตามที่รัฐธรรมนูญ 2560 ม.77 วรรคสอง กำหนดไว้
การที่ไม่นำข้อมูลเหตุผลมาพิจารณาอย่างรอบด้าน จะส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศและอาจมีวาระซ่อนเร้น กล่าวคือ ในทางการแพทย์นั้น ต่างรับรู้กันโดยทั่วไปว่าปัจจุบันเครื่องอัลตราซาวด์ สามารถตรวจพบหัวใจทารกเต้นตั้งแต่อายุครรภ์ 6 สัปดาห์ และแม้อายุครรภ์เพียง 10 สัปดาห์ ก็ตรวจพบมีกระดูกสันหลัง ซี่โครง กระดูกแขนขา และเห็นทารกเคลื่อนไหวตัวแล้ว ซึ่งสามารถตรวจเลือดมารดาเพื่อตรวจด้วยวิธี NIPT (Noninvasive Prenatal Testing) เพื่อบอกเพศของทารกได้แล้ว ซึ่งจะมีความแม่นยำในผลการตรวจ 99.99%
เมื่อนำกฎหมายที่แก้ไขนี้มาบังคับใช้ ย่อมคาดการณ์ได้ว่าจะมีชาวต่างชาติที่มีกฎหมายห้ามทำแท้งภายในประเทศของเขา เช่น จีน อินเดีย (อินเดียมีกฎหมายห้ามทำแท้งเพื่อเลือกเพศทารก และกฎหมายห้ามสูติแพทย์แจ้งเพศทารกในครรภ์แก่บิดามารดาตลอดการตั้งครรภ์) จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อมาใช้บริการจำนวนมาก จะเป็นธุรกิจการแพทย์และเป็นประโยชน์มหาศาลของผู้ที่ทำอุตสาหกรรมด้านนี้ ซึ่งแพทย์ไทยไม่สามารถปฏิเสธได้ ประเทศไทยจะกลายเป็น Hub for Abortion จะเป็นการสูญเสียเกียรติยศศักดิ์ศรีของคนในชาติ กระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคล กระทบต่อมโนธรรมชั้นสูงของแพทย์ และจะสร้างบาดแผลในจิตใจของแพทย์ผู้กระทำและมารดาของทารกไปตลอดชีวิต เป็นการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของบุคคลากรทางการแพทย์ โดยเฉพาะสูตินรีแพทย์ประกอบวิชาชีพเวชกรรมส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธ ยึดมั่นในศีล 5 ในเรื่องฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หากละเมิดย่อมมีรู้สึกขัดแย้งภายใน ความเชื่อทางศาสนา ศีลธรรม บาปบุญ ต่อตัวเองและครอบครัว เป็นปัจเจกบุคคลจะล้มล้างไม่ได้
ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ที่มีอำนาจในการยับยั้งร่างกฎหมายดังกล่าวได้ คือ นายกรัฐมนตรี ที่สามารถใช้อำนาจตาม ม.148(2) ในการส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยว่า(ร่าง)กฎหมายดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อ ม.26 ประกอบ ม.4 และ ม. 77 ของรัฐธรรมนูญ 2560 หรือไม่ได้และหากนายกรัฐมนตรีไม่ดำเนินการ ก็จะนำความไปยื่นฟ้องศาลเอาผิดนายกฯ ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |