EU กับ AstraZeneca และข้อพิพาทวัคซีนที่กระทบไทย


เพิ่มเพื่อน    

       พอมีประเด็นว่าวัคซีนโควิด-19 ที่เราควรจะได้จาก AstraZeneca ที่ผลิตในอิตาลี กลับจะต้องถึงดึงเวลาออกไป เพราะบริษัทมีข้อพิพาทกับสหภาพยุโรป ก็เกิดคำถามว่าเขามีปัญหาอะไร

                คำตอบก็คือ อุปสรรคที่คาดไม่ถึงมาขวางทางเสียก่อน

                ผู้บริหารของบริษัทอ้างว่าเกิดปัญหาที่สลับซับซ้อนในกระบวนการผลิตวัคซีนที่โรงผลิต 2 แห่งในเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม

                ทำให้การจัดหาวัคซีนให้อียูต้องเลื่อนออกไปประมาณ 2 เดือน

                อียูบอกว่าถ้าอย่างนั้น บริษัทก็ควรจะต้องเอาวัคซีนที่ผลิตที่โรงงานที่สหราชอาณาจักรมาส่งแทน

                บริษัทแย้งว่าความจริงปัญหาทำนองเดียวกันก็เกิดกับโรงผลิตวัคซีนในอังกฤษเหมือนกัน

                แต่เพราะอังกฤษได้เซ็นสัญญากับบริษัทก่อนอียูประมาณ 3 เดือน บริษัทจึงมีเวลาที่จะจัดการปัญหาของอังกฤษได้

                ทันใดนั้นอังกฤษก็ออกมายืนยันว่าเขาต้องได้วัคซีนจากแอสตราเซเนกาให้ครบตามคำสั่งซื้อก่อน เพื่อให้คนของเขาได้ฉีดวัคซีนก่อน จะไม่ยอมให้ส่งวัคซีนจากโรงงานที่อังกฤษไปให้กับอียูเป็นอันขาด

                เพราะอังกฤษไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอียูแล้วตั้งแต่ก่อนสิ้นปีที่ผ่านมาด้วย Brexit

                เดิมตกลงกันที่ 80 ล้านโดส แต่แนวโน้มขณะนี้คืออียูจะได้รับวัคซีนน้อยกว่าที่แอสตราเซเนการับปากไว้สำหรับช่วงมกราคม-มีนาคมนี้ถึง 60%

                แน่นอนว่าอียูต้องเดือดร้อน เพราะเดิมได้ตกลงกันตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้วถึง 300 ล้านโดส

                ทำให้ต้องมีการประชุมต่อรองกันระหว่างกรรมาธิการด้านสาธารณสุขของอียูและแอสตราเซเนกา

                แต่อียูก็ยังไม่พอใจอยู่ดี ยืนกรานให้บริษัทนำส่งวัคซีนจากโรงผลิตแห่งอื่นมาให้สมาชิกอียูให้ได้ตามกำหนด

                พร้อมคำเตือนที่มีผลกระทบถึงไทยคือ

                “ถ้าจำเป็น อียูก็จะจำกัดการส่งออกวัคซีนที่ผลิตจากประเทศสมาชิกอียูไปยังประเทศอื่นเพื่อปกป้องพลเมืองของตน”

                ถ้าอียูทำตามที่ขู่จริงก็จะส่งผลกระทบต่ออังกฤษด้วย

                เพราะโรงงานผลิตวัคซีนของอีกยี่ห้อหนึ่งคือ ไฟเซอร์ในเบลเยียม จะเป็นผู้จัดส่งวัคซีนให้อังกฤษด้วย

                ก่อนหน้านี้ก็มี “สงครามแย่งอุปกรณ์ทางการแพทย์” มาครั้งหนึ่งแล้ว

                อียูเคยจำกัดการส่งออกอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อ (พีพีอี) ยาวถึง 2 เดือนเมื่อมีนาคมปีที่แล้ว

                โดยอ้างว่าต้องให้ชาติสมาชิกของตนมีพีพีอีเพียงพอใช้ก่อนที่จะอนุญาตให้ส่งออกไปนอกอียูได้

                คราวนี้กลายเป็นข้อพิพาทเรื่องวัคซีน ซึ่งกลายเป็นประเด็นการเมือง, เศรษฐกิจและสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

                อังกฤษกับอียูเคยเป็นพวกเดียวกัน วันนี้พอเกิดเรื่องทะเลาะวิวาทกรณีวัคซีนก็มีการ “เกทับ” กันอย่างรุนแรง

                สหภาพยุโรปอ้างว่าเป็นเงินจากอียูที่ทางบริษัทนำไปใช้พัฒนาโรงงานผลิตวัคซีนในอังกฤษ

                แต่แนวทางของ AstraZeneca เวลานี้กลับมองลูกค้าในสหภาพยุโรปว่ามีความสำคัญน้อยกว่าชาวอังกฤษ

                นำไปสู่ความสับสนในกระบวนการผลิต, แจกจ่ายและฉีดวัคซีนให้กับคนทั้งโลก

                การระบาดของโควิด-19 ทำให้เห็นสัจธรรมทั้งในแง่บวกและลบได้อย่างดียิ่ง

                แง่บวกคือโลกใบนี้ล้วนเชื่อมโยงกัน ไม่มีใครยิ่งใหญ่เก่งกาจกว่าใคร ประเทศร่ำรวยพัฒนาก้าวไกลกว่าใครก็ไม่รอดจากการโจมตีของโควิดได้

                จึงควรจะเป็นบทเรียนว่าทุกประเทศต้องร่วมมือกันในการสกัดการแพร่ระบาดด้วยความเห็นอกเห็นใจและเกื้อกูลซึ่งกันและกันมากกว่าเดิม

                แง่ลบก็คือเมื่อเกิดวิกฤติที่คุกคามชีวิตและทรัพย์สินอย่างกว้างขวางเช่นนี้ ประเทศต่างๆ ก็หาทางรอดของตัวเองก่อน ไม่สนใจว่าการที่ตัวเองรอดแต่เพียงประเทศเดียว ขณะที่ประเทศอื่นยังลำบากลำบนนั้น ในท้ายที่สุดตัวเองจะรอดหรือไม่

                เป็นบทเรียนที่แสนเจ็บปวดสำหรับทุกสังคมของโลกวันนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"