“วราวุธ” ยก “เล่งเน่ยยี่” ต้นแบบ “ตรุษจีนวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” ย้ำ ลดเผา เท่ากับ ลดฝุ่น PM.2.5


เพิ่มเพื่อน    

 

วันนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2564) นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำทีมผู้บริหารกระทรวงฯ เข้าสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ แขวงป้อมปราบ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กทม. เนื่องในวันตรุษจีนหรือวันขึ้นปีใหม่ของชาวจีนที่กำลังจะมาถึง โดยวัดเล่งเน่ยยี่ นับเป็นศูนย์กลางของคนเยาวราชและนักท่องเที่ยว เป็นต้นแบบการไหว้ไม่ก่อฝุ่นพิษ พร้อมกันนี้ ยังได้แจกถุงผ้า เชิญชวนนักท่องเที่ยวและพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนร่วมกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สู่การใช้ชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม อีกด้วย

 

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. กล่าวว่า เทศกาล “ตรุษจีน” เป็นหนึ่งในเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวจีน ถือ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามปฎิทินจีน  ซึ่งปีนี้ ตรงกับวันศุกร์ที่ 12 ก.พ. 2564 ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาครัฐได้รณรงค์เชิญชวนให้ช่วยกันลดพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดฝุ่น PM2.5 มาโดยตลอด โดยเฉพาะการเผา ยิ่งช่วงเทศกาลตรุษจีน มักพบการจุดธูป การเผากระดาษเงิน กระดาษทอง เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่พี่น้องประชาชนและวัดหลายแห่งได้ตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อย่างเช่น วัดเล่งเน่ยยี่แห่งนี้ ที่เป็นต้นแบบของศาสนสถาน ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม มีบทบาทสำคัญในการจัดการมลภาวะทางอากาศ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการเริ่มจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม และ เป็นผู้นำทางความคิดทางวัฒนธรรมจีน จัดการแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดยชุมชนและภาคีเครือข่ายในพื้นที่ย่านเยาวราช-เจริญกรุง ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการไหว้ ให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดจำนวนกระถางธูป กระดาษไหว้เจ้า เพื่อลดการเผาของสักการะ ซึ่งปัจจุบันเหลือกระถางธูป 5 กระถาง จากเดิม 10 กระถาง รวมทั้งการลดจำนวนธูป   ในการไหว้แต่ละครั้ง จาก 15-20 เหลือเพียง 9 ดอก และปรับเปลี่ยนรูปแบบของธูปให้ก้านสั้นลง ตลอดจน การใช้ QR Code อ่านคำทำนายเซียมซี เพื่อช่วยลดปัญหาการจัดการขยะ ฯลฯ

 

ในโอกาสปีใหม่ไทยและปีใหม่ของจีนที่กำลังจะมาถึง จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยและพี่น้องเชื้อสายจีนทุกคน มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสังคมสู่ “ชีวิตวิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม”ที่ส่งผลดีทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มง่ายๆ จากตัวเอง ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการทิ้งขยะให้ถูกที่ มีการคัดแยกขยะ ช่วยกันใช้น้ำและพลังงานอย่างประหยัด ตลอดจนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างคุ้มค่า มีการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ถุงผ้าที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ฯลฯ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"