มาแต่ไก่โห่!อธิบดีปภ.สั่งทุกจังหวัดบูรณาการป้องกันภัยแล้ง


เพิ่มเพื่อน    

03 ก.พ.2564 - นายบุญธรรม เลิศสุขีเกษม อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า แม้ในปี  2564 ประเทศไทยจะมีปริมาณฝนมากกว่าปกติ แต่สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำและแม่น้ำสายหลักมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากในช่วงปี 2562 – 2563 มีปริมาณฝนน้อยกว่าค่าปกติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้หลายพื้นที่ของประเทศมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รัฐบาลห่วงใยประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง จึงได้สั่งการให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย บูรณาการจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ภายใต้กลไกระบบบัญชาการเหตุการณ์ตามกฎหมายและแผนว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย มุ่งบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดผ่านกลไกหลักแก้ไขปัญหาภัยแล้งใน 3 กลุ่มภารกิจ ดังนี้  

1.กลุ่มพยากรณ์ ทำหน้าที่ตรวจสอบสภาพอากาศ ปริมาณน้ำท่า และสถานการณ์น้ำในแหล่งเก็บน้ำต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์และประเมินปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำ 2.กลุ่มบริหารจัดการน้ำ ทำหน้าที่วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำและครอบคลุมการใช้น้ำทุกประเภท ทั้งการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศน์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม รวมถึงกำหนดแนวทางการระบายน้ำและสำรองน้ำไว้ใช้ประโยชน์ และ 3.กลุ่มปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ บูรณาการฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และภาคเอกชนจัดเตรียมกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องจักรกล ด้านสาธารณภัยให้พร้อมปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำ โดยแบ่งพื้นที่รับผิดชอบและมอบหมายภารกิจอย่างชัดเจน ควบคู่กับการจัดหน่วยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาครอบคลุมทุกพื้นที่เสี่ยง

นายบุญธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้ง 3 กลุ่มภารกิจหลักแก้ไขปัญหาภัยแล้งจะได้ขับเคลื่อนมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งเชิงพื้นที่อย่างรอบด้านใน 5 แนวทาง ได้แก่ 1.การทบทวนแผนเผชิญเหตุภัยแล้งระดับจังหวัด เพื่อวางแผนบูรณาการแก้ไขปัญหาภัยแล้งภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงประสานฝ่ายปกครองและหน่วยทหารในพื้นที่สร้างการรับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำและแนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งชิงน้ำ 2.การจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้เพียงพอ โดยสำรวจและจัดทำบัญชีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำครอบคลุมถึงระดับหมู่บ้านและชุมชน พร้อมประสานโครงการชลประทาน การประปาส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางแนวทางรับมือให้สอดคล้องกับความเสี่ยงภัยและสภาพพื้นที่ ทั้งการจัดทำแหล่งสำรองน้ำดิบ แผนการวางท่อน้ำประปา แผนการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำโดยตรง แผนการจัดสรรน้ำดิบ 

3.การบูรณาการแก้ไขปัญหาน้ำเพื่อการเกษตร โดยดำเนินการตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง ปี พ.ศ.2563/64 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกำหนดมาตรการลดผลกระทบกรณีไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเกษตร อีกทั้งประสานการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในช่วงที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย เพื่อเติมน้ำในแหล่งกักเก็บน้ำให้ได้มากที่สุด 4.การกำหนดแนวทางการใช้น้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศ เฝ้าระวังและคุมเข้มไม่ให้มีการปล่อยน้ำเน่าเสียลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย ควบคู่กับการส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมจัดการน้ำเสียตามหลัก 3 R (Reduce : Reuse : Recycle) รวมถึงสำรวจเส้นทางคมนาคมเลียบคลอง ลำน้ำ หรือแม่น้ำ เพื่อวางมาตรการป้องกันการพังทลายของตลิ่ง และ 5.การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับปัญหาภัยแล้ง ทั้งข้อมูลสถานการณ์น้ำ และมาตรการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ ควบคู่กับการรณรงค์การใช้น้ำอย่างประหยัด รวมถึงส่งเสริมให้ประชาชนจิตอาสาในพื้นที่มีส่วนร่วมในการก่อสร้างและซ่อมแซมแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็ก
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"