2 ก.พ. 2564 นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้า หรือเดือนเมษายน 2564 อยู่ที่ระดับ 132.55 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.5% จากเดือนก่อน ยังคงอยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง โดยนักลงทุนคาดหวังการไหลเข้าของเงินทุนเป็นปัจจัยหนุนมากที่สุด รองลงมาคือการคลี่คลายของสถานการณ์ไวรัสโคสิด-19 จากข่าวดีเรื่องวัคซีนที่ทยอยออกมา และผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ส่วนปัจจัยที่ฉุดความเชื่อมั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ รองลงมาคือสถานการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน และการถดถอยของเศรษฐกิจในประเทศ
สำหรับความเชื่อมั่นกลุ่มนักลงทุนรายย่อยปรับเพิ่มขึ้น 22% อยู่ที่ระดับ 144.07, กลุ่มบัญชีบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ปรับลดลง 3% อยู่ที่ระดับ 125.00 และกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ปรับลดลง 17% อยู่ที่ระดับ 125.00 อยู่ในเกณฑ์ “ร้อนแรง” ส่วนกลุ่มนักลงทุนสถาบันปรับลดลง 1% อยู่ที่ระดับ 117.65 อยู่ในเกณฑ์ “ทรงตัว” โดยหมวดธุรกิจที่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดพลังงานและสาธารณูปโภค (ENERGY) และหมวดธุรกิจที่ไม่น่าสนใจมากที่สุด คือหมวดเหล็ก (STEEL)
“ในช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2564 ดัชนีหุ้นไทยมีความผันผวน อยู่ระหว่าง 1,468.24-1,547.31 จุด จากการเทขายหุ้นที่มี free float ต่ำ โดยหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ได้รับผลกระทบมากที่สุด ช่วงครึ่งเดือนหลังดัชนีปรับตัวในกรอบแคบโดยมีข่าวดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมผ่านโครงการ “เราชนะ” ที่ออกมาช่วยเสริมสภาพคล่องด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ และการประกาศผ่อนคลายพื้นที่ควบคุม แต่ดัชนีได้รับผลกระทบจากแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่อาจเกิดจากการปรับฐานการลงทุนซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีตลาดหุ้นต่างประเทศ โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม ปิดที่ 1,466.98 ปรับเพิ่มขึ้น 1.22% จากเดือนก่อนหน้า”
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยต่างประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ โอกาสการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจากการแจกจ่ายวัคซีน, การทบทวนข้อตกลงการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน และการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ ส่วนปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตาม ได้แก่ การประกาศงบการเงินบริษัทจดทะเบียน (บจ.), ผลการประชุมรัฐสภาในส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจและการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญวาระสองที่อาจส่งผลต่อสถานการณ์การเมือง, จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ใหม่รายวันที่ยังเพิ่มสูงอยู่รวมถึงแผนการแจกจ่ายวัคซีนให้กับประชาชนในประเทศ และติดตามความเป็นไปได้ในการพิจารณาต่ออายุมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ต่าง ๆ ของภาครัฐ
นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย กล่าวว่า คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) รอบเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำแล้ว และมาตรการการคลังที่ออกมาตั้งแต่ช่วงต้นปีจะลดความจำเป็นในการลดดอกเบี้ยนโยบายลง ทั้งนี้ หากสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 มีแนวโน้มแย่ลง อาจมีการพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยนโยบายได้ ส่วนคาดการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล 5 ปี ยังทรงตัวใกล้เคียงระดับ 0.70% และ 10 ปี อยู่ที่ 1.29%
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |