ปริมาณประชากรที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีส่งผลกระทบกับสภาพแวดล้อม และที่หนีไม่พ้นคือขยะมูลฝอยที่เพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งในปี 2560 ปริมาณขยะมูลฝอยทั่วประเทศมี 27.40 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่มี 27.06 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 1.26 หรือ 120,000 ตัน ขณะที่อัตราการเกิดขยะมูลฝอยต่อคนลดลงจาก 1.14 กิโลกรัม/คน/วัน ในปี 2559 แต่ปี 2560 ลดลง อยู่ที่ 1.13 กิโลกรัม/คน/วัน
เฉพาะกรุงเทพมหานครเมืองเดียว และยังเป็นเมืองหลวงของประเทศ พบว่า มีขยะถูกทิ้งต่อวันถึง 4.2 ล้านตัน ซึ่งติด 1 ใน 5 จังหวัดที่มีขยะที่มีขยะมูลฝอยเกิดขึ้นต่อวันมากที่สุด รองลงมาคือ ชลบุรี นครราชสีมา สมุทรปราการ ขอนแก่น ปัจจุบันคนไทยสร้างขยะเฉลี่ย 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน หรือคิดเป็น 74,130 ตันต่อวัน
ต้องยอมรับว่ายิ่งเมืองมีการเติบโตเท่าไหร่ ขยะก็จะมีปริมาณมากขึ้น ดังนั้นการกำกัดขยะจึงมีความสำคัญ ซึ่งในประเทศได้เริ่มหันมาใช้วิธีการกำจัดขยะโดยการก่อสร้างโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้า เพราะนอกจากจะใช้พื้นที่น้อยยังสามารถลดมลพิษทางด้านสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าการฝังกลบ
สำหรับในประเทศไทยขณะนี้ได้มีหลายพื้นที่เริ่มให้ความสนใจที่จะก่อสร้างโรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้า ตัวอย่างที่เห็นกันชัดเจนก็คือ โรงกำจัดขยะผลิตไฟฟ้าเพื่อสิ่งแวดล้อม หนองแขม ของ บริษัท ซีแอนด์จี เอ็นไวรอนเมนทอล โปรเท็คชั่น (ประเทศไทย) ซึ่งได้ก่อสร้างเป็นเตาเผาขนาด 500 ตันต่อวัน บนพื้นที่ภายในศูนย์จัดเก็บมูลฝอยหนองแขมซึ่งเป็นที่ดินของ กทม. โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโรงงานและบริหารจัดการ ระยะเวลาต่อเนื่อง 20 ปี และ กทม.จะว่าจ้างการเผากำจัดขยะในราคาตันละ 970 บาท ด้วยการเผาเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า และในอนาคตมีแผนที่จะก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ ศูนย์กำจัดขยะหนองแขมเพิ่มอีก 1 เตา และที่ศูนย์กำจัดขยะอ่อนนุช 1 เตา ในขนาดเตาละ 1,000 ตัน
ผลจากการสร้างโรงงานกำจัดขยะมูลฝอยทั่วไปด้วยระบบเตาเผาเป็นที่แรกของ กทม. ซึ่งผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้วันละ 7-9.8 เมกะวัตต์ หรือประมาณ 200,000 ยูนิตต่อวัน โดยพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ ส่วนหนึ่งจะนำมาใช้เป็นพลังงานภายในโรงกำจัดขยะ และส่วนที่เหลือจะขายแก่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
อย่างไรก็ตาม การกำจัดขยะโดยวิธีการดังกล่าวนั้น มีหลายพื้นที่ให้ความสนใจจะนำไปดำเนินการ แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดตั้งได้ นอกจากกจะได้รับการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ เพราะกลัวในเรื่องของมลพิษทั้งกลิ่น และยังเป็นแหล่งบ่มเพาะให้เกิดเชื้อโรค ทำให้โครงการหลายโครงการต้องพับไป
ส่วนหนึ่งภาคธุรกิจที่ให้ความสนใจต่างระบุเป็นเสียงเดียวกันว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้โครงการโรงไฟฟ้าขยะ ไม่สามารถเดินหน้าต่อได้นั้น ปัจจัยหลักๆ มาจากความไม่ชัดเจนของนโยบายภาครัฐในการส่งเสริม ทั้งในด้านของแผนงาน ขั้นตอนการดำเนินงาน เป้าหมายการลงทุน หรือแม้กระทั่งนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐที่ไม่จริงจัง ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนทำงาน ท้องถิ่นต่างคนต่างศึกษา สะเปะสะปะมั่วไปหมด ยังไม่รวมถึงทุจริต ดึงโครงการให้พวกพ้อง
จนทุกวันนี้เกิดปัญหาแกร่งแย่งกันที่เพื่อกำจัดขยะ แต่ถามว่าไอ้ที่กำจัดทุกวันนี้ถูกต้องตามหลักอนามัยกันหรือเปล่า และที่แย่งชิงกันราวกับทำสงครามกันเพื่ออะไร เพื่อตัวเองหรือประเทศชาติ เพราะถ้ายังคงแย่งชิง สาดโคลนใส่กันแบบนี้ ปัญหาขยะก็ยังคงมีความรุนแรงมากขึ้น สุดท้ายก็ล้นเมือง
ดังนั้น นอกจากภาครัฐจะต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดหันมาส่งเสริมการลงทุนอย่างจริงจังแล้ว ต้องหันมาสนใจที่จะมุ่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภค การบริหารจัดการขยะ และต้องจัดโซนนิ่งเพื่อการกำจัดขยะ แก้ปัญหาประชาชนต่อต้านการสร้างโรงงานแปรรูปขยะอย่างจริงจังเช่นกัน
และต้องรณรงค์การคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง เพราะต้องยอมรับว่าที่ประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เพราะไม่ได้ปลูกฝังมาตั้งแต่เยาว์วัย ทำได้เพียงแค่การกระตุ้นจิตสำนึกเท่านั้น
นอกจากนี้ รัฐบาลเองก็ต้องมุ่งสร้างจิตสำนึกของหน่วยงานเช่นกัน ว่าต้องทำงานอย่างโปร่งใส ไม่ทุจริต ทำงานต้องจริงจังไม่สักแต่ทำๆ ไปวันๆ เหมือนที่ผ่านมา การรณรงค์ลดอุบัติเหตุ การใช้ถนนอย่างปลอดภัย จะมีการกระตือรือร้นกันก็แค่ในช่วงเทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ พอหลังหมดเทศกาลทุกอย่างเหมือนเดิม บอกกันได้เลยว่านอกเทศกาล บาดเจ็บล้มตายกันมากกว่าตอนเทศกาลเสียอีก ถ้าเป็นไปได้อยากให้ไม่ใช่แค่รัฐบาล แต่มันต้องทุกคนทั้งราชการ เอกชน ประชาชนร่วมกันสร้างจิตสำนึก ลดการสร้างขยะเพื่อลดการก่อเกิดมลพิษให้กับโลกสีเขียวของเราจะดีกว่าไหม
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |