ท่ามกลางสถานการณ์ปัจจุบันที่การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจทั่วโลกต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคเน็กซ์นอร์มอลหรือความปกติถัดไป โดยออโต้บอทซึ่งเป็นแบรนด์หุ่นยนต์เครื่องดูดฝุ่น จึงได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยพบ 3 เทรนด์ที่สำคัญหลัก แต่จะมีอะไรบ้างนั้น ต้องลองมาดูข้อมูลกัน
นายธรรมสร มีรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท โรบอท เมคเกอร์ จำกัด ผลิตและจำหน่ายหุ่นยนต์ดูดฝุ่นแบรนด์ออโต้บอท ให้ข้อมูลว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งในด้านธุรกิจ สังคม และการดำเนินชีวิต ขณะเดียวกันก็ยังเป็นหนึ่งในตัวเร่งสำคัญที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคนี้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงนั้น ทำให้แบรนด์ต่างต้องตื่นตัวและค้นหาวิธีที่จะรับมือกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที การศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเป็นเรื่องสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการและธุรกิจต่างๆ สามารถนำไปวางกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดเพื่อตอบรับกับความต้องการของพวกเขาได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น
โดยในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา พบว่าหลังจากที่ต้องกักตัวอยู่บ้านและทำกิจกรรมต่างๆ ภายในบ้านมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมี 3 พฤติกรรมที่สำคัญ ได้แก่ 1.ให้ความสำคัญกับชีวิตภายในบ้านมากยิ่งขึ้น
ในช่วงเวลาปกติ ผู้คนมักใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ข้างนอกบ้านเพื่อออกไปทำงาน ไปโรงเรียน หรือไปทำกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ และจะกลับมาอยู่บ้านเพื่อพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่ด้วยการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 และมาตรการการล็อกดาวน์ในช่วงปี 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้คนต้องใช้เวลาอยู่บ้านมากกว่าปกติ และทำให้ความสนใจในการดูแลความเรียบร้อย และปรับปรุงสภาพแวดล้อมในบ้านให้ดูน่ารื่นรมย์เพิ่มมากยิ่งขึ้นจนเกิดเป็นเทรนด์ อาทิ ปรับแต่งบ้านให้ดูสวยงามน่าอาศัย เกิดเป็นกระแสการปลูกต้นไม้ การหาเฟอร์นิเจอร์สวยๆ มาประดับห้อง รวมไปถึงวิธีการบริหารพื้นที่จัดเก็บภายในบ้านขึ้น
ส่วนต่อมาข้อ 2 เทคโนโลยีต้องตอบโจทย์ความสะดวกสบายและช่วยลดภาระจากการที่ต้องทำกิจกรรมและติดต่อกับโลกภายนอกผ่านโลกดิจิทัลและอินเทอร์เน็ตเป็นหลัก ทำให้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น จนทำให้ผู้บริโภคยึดติดกับการพึ่งพาความชาญฉลาด ความรวดเร็วและความสะดวกสบายทันใจของเทคโนโลยี จนเกิดเป็น Lazy Economy หรือเศรษฐกิจของคนขี้เกียจ เปิดเป็นช่องทางการตลาดมาเพื่อตอบรับกับความขี้เกียจของคนมากขึ้น
แน่นอนว่าเหตุการณ์การล็อกดาวน์และการระมัดระวังตัวของผู้คนมากขึ้น เป็นตัวบีบให้ต้องหันมาทำการช็อปปิ้งและซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันบนช่องทางออนไลน์มากขึ้นจนเกิดเป็นนิสัย โดยปัจจุบันการช็อปปิ้งออนไลน์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้คนไปแล้ว และจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เพราะเนื่องจากสะดวกสบาย และมีการขนส่งที่รวดเร็ว เพียงอยู่บ้านก็สามารถรับสินค้าได้
ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีล้ำสมัย ปัจจุบันผู้คนมักมีหลายเรื่องให้ต้องทำในแต่ละวัน ทำให้การดูแลเรื่องจุกจิกเล็กน้อยภายในบ้านกลายเป็นเรื่องหน้าเบื่อ ดังนั้นการมีเทคโนโลยีที่จะลดภาระและเสริมสร้างความสะดวกสบายจึงเป็นที่นิยม ออโต้บอทจึงได้ออกแบบและพัฒนาให้ผลิตภัณฑ์มาพร้อมกับความชาญฉลาดและฟังก์ชันล้ำสมัยตอบรับกับความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอๆ ไม่ว่าจะเป็นปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI ที่จะช่วยคำนวณพื้นที่ในการทำความสะอาด พร้อมเดินกลับแท่นชาร์จเองแบบอัตโนมัติเมื่อทำครบพื้นที่ หรือหลังจากแบตเตอรี่หมด ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาด เหลือเวลาให้ทำกิจกรรมอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่
ส่วนเทรนด์สุดท้ายข้อ 3 ประสบการณ์การใช้งานแบบไร้การสัมผัสเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจากเชื้อโควิด-19 คือการใช้เทคโนโลยี เพื่อลดการสัมผัสสิ่งของต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธนบัตร เนื่องจากโควิด-19 เป็นเชื้อที่สามารถแพร่กระจายได้ผ่านการสัมผัสเชื้อโรคเข้าสู่ดวงตาและริมฝีปาก จึงเกิดเป็นพฤติกรรมแบบ Contactless หรือประสบการณ์การใช้งานแบบไร้การสัมผัสขึ้น ส่งผลให้ผู้คนหันมาทำธุรกรรม และชำระเงินผ่านหน้าจอสมาร์ทโฟน โดยพฤติกรรมนี้ก็ยังคงอยู่กับผู้บริโภคต่อไป และยังคงมองหาเทคโนโลยีที่ช่วยให้สัมผัสกับสิ่งของได้น้อยลงอย่างต่อเนื่องอีกด้วย
แน่นอนว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคเน็กซ์นอร์มอล จะมุ่งหาความสะดวกสบายจากเทคโนโลยี และหันมาสนใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่หลายๆ แบรนด์ต้องหันมาพัฒนานวัตกรรมให้มีความล้ำสมัยขึ้นไปอีกระดับ เพื่อตอบโจย์และสอดรับกับพฤติกรรม และนำมาซึ่งยอดขายของสินค้านั่นเอง.
รุ่งนภา สารพิน
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |