1 ก.พ.64 -นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) ว่า พบว่าโรงเรียนในพื้นที่ กทม.มีการกระจุกตัวของนักเรียนที่เกิดจากค่านิยมในเรื่องความต้องการเข้าเรียนโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูง ดังนั้น ขณะนี้ตนคิดว่า ศธ.มีความจำเป็นจะต้องสร้างโอกาสกับโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมืองมากขึ้น เพราะเท่าที่สำรวจดูเรามีความพร้อมด้านสถานที่เพียงแต่การจัดการเรียนการสอนอาจไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่ทำให้หมดโอกาสในการสร้างความสนใจให้แก่ผู้ปครองและนักเรียน ซึ่งตนมองว่าโรงเรียนในพื้นที่ กทม.มีโอกาสได้รับการสนับสนุนหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นดิจิทัลเทคโนโลยี ครูสอนภาษาต่างประเทศ และกระบวนการยกระดับความรู้ของในแต่ละหลักสูตรให้มีความน่าสนใจ นอกจากนี้การปรับบทบาทโรงเรียนที่ต้องการเป็นโรงเรียนนิติบุคคล เพื่อจะทำให้โรงเรียนมีโอกาสพัฒนาโรงเรียนได้เอง แต่ขณะนี้มีข้อกังวลจากระเบียบ ศธ.จึงทำให้โอกาสพัฒนาโรงเรียนในฝันมีข้อจำกัดอยู่
“สำหรับแผนการศึกษาจังหวัดของพื้นที่ กทม.นั้น ผมจะต้องมีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเขต กทม. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เพื่อวางแผนการศึกษาร่วมกันว่าแต่ละเขตมีความต้องจัดการศึกษาแบบไหน ขณะนี้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานยังเป็นปัญหาของผู้เรียนอยู่ เนื่องจากหลักสูตรที่ใช้เรียนจะนำมาตรฐานมาครอบวัดความสามารถของเด็ก แต่การเรียนของเด็กระดับมัธยมศึกษามีอนาคตความต้องการแตกต่างกัน ดังนั้นเราต้องยืดหยุ่นการจัดการเรียนการสอน ต้องให้ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนตามทักษะความถนัดของแต่ละคน ซึ่งผมเชื่อมั่นว่าจะผลักดันหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ได้ใช้ในปี 2565“รมว.ศธ.กล่าว
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |