เคล็ดลับสว.ซิ่งปลอดภัย 7ข้อพึงปฏิบัติก่อนสตาร์ท


เพิ่มเพื่อน    

 

    การขับรถให้ปลอดภัยต้องการมากกว่าความเข้าใจป้ายจราจรและกฎจราจร เมื่อคุณอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะไม่แข็งแรงเหมือนเคย ทำให้ประสิทธิภาพในการมองเห็นและความว่องไวในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ลดน้อยลงไปด้วย รวมไปถึงความสามารถในการขับขี่รถยนต์ต่างๆ เช่น การเอี้ยวคอไปมองรถด้านข้างในขณะที่กำลังจะเลี้ยวอาจทำได้ยากขึ้น เป็นต้น 

    ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว และยังมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีสุขภาพที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองและยังขับรถด้วยตนเองได้ และในบางครั้งอาจต้องเดินทางไปทำธุระด้วยตนเอง หรือออกไปพบเจอเพื่อน จึงควรปฏิบัติตามเคล็ดลับ 7 ข้อ เพื่อผู้สูงอายุขับขี่รถยนต์ได้ปลอดภัย 

    1.คุณอาจเริ่มสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตนเองระหว่างขับรถเมื่ออายุมากขึ้นได้ ว่ามีการตอบสนองที่แย่ลง เช่น การหมุนพวงมาลัย การมองข้ามหัวไหล่เพื่อมองหลัง หรือการถอยรถไปจอด ทำได้ลำบากมากขึ้น ดังนั้นการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายของคุณแข็งแรงและมีการตอบสนองของร่างกายที่ดีขึ้น

     2.ประสาทตาและหูมักจะแปรผกผันกับอายุที่เพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าการทำงานของตาและหูช้าลงหรือแย่ลง จนไม่ได้ยินเสียงรถที่กำลังพุ่งมาหรือเสียงบีบแตร คงจะไม่ดีแน่ๆ และโรคทางสายตาในผู้สูงอายุ เช่น ต้อกระจก ต้อหิน หรือโรคจอประสาทตาเสื่อม อาจทำให้มองในที่มืดได้ไม่ชัดเจนจนเป็นปัญหาในการขับรถตอนกลางคืน ควรไปตรวจเช็กสุขภาพตาและหูอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ถึงแม้ว่าคุณคิดว่าตาและหูของคุณยังดีอยู่ก็ตาม 

    3.ปรึกษาและหาหมออย่างเป็นประจำเพื่อรับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคที่อาจส่งผลต่อการขับรถได้ เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก ทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเพื่อให้อาการคงที่หรือบรรเทาลง หากหมอสั่งห้ามขับขี่อย่างเด็ดขาด คุณควรทำตามที่หมอสั่งอย่างเคร่งครัด นอกจากนั้นการรู้จักยาของตนเองยังสำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาต้านภูมิแพ้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขับรถได้ ถึงแม้ว่าคุณจะรู้สึกปกติดี อ่านฉลากยาหรือถามแพทย์ให้ชัดเจนว่ายาตัวไหนมีผลอย่างไรบ้าง และห้ามขับรถเด็ดขาดหากคุณได้ทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วง 

    4.รู้ลิมิตของร่างกายตนเอง โดยรู้ว่าเมื่อไหร่ร่างกายของตนเองกำลังแสดงอาการผิดปกติ และเลือกใช้สิ่งที่ช่วยให้การขับขี่ง่ายขึ้น

    5.เลือกขับรถเวลาที่มองเห็นได้ชัดเจน อย่างเช่น ในเวลากลางวัน เลือกช่วงเวลาที่อากาศดี ถนนมีรถไม่มาก หรือขับในเส้นทางที่คุ้นเคย หากสภาพอากาศหรือเส้นทางไม่เป็นใจควรเลี่ยงการขับรถเอง โดยเลื่อนเวลานัด หรือใช้ขนส่งมวลชน หรือเดินทางด้วยวิธีอื่นๆ จะดีกว่า อย่าขับรถเวลาที่โกรธมากๆ หรือเหนื่อยมากๆ เพราะจะทำให้เราไม่โฟกัสกับการขับขี่ และลดทอนความสามารถในการขับขี่และห้ามขับรถหลังดื่มแอลกอฮอล์     

    6.วางแผนเส้นทางล่วงหน้าก่อนจะออกรถ มองสัญญาณป้ายบอกทางต่างๆ หากคุณใช้ GPS เป็นตัวช่วยในการเดินทาง เปิดการนำทางสถานที่ที่จะไปให้เสร็จเรียบร้อยก่อนออกรถ อย่ารับประทานอาหารว่าง คุยโทรศัพท์ เปลี่ยนช่องวิทยุ ระหว่างการขับรถ หรือทำอะไรที่เป็นการทำลายสมาธิของการขับรถ 

    7.อัพเดตสกิลการขับรถของคุณ อย่างเช่น ไปเรียนขับรถดูอีกสักครั้ง นอกจากจะเป็นการอัพเดตสกิลการขับรถของคุณแล้ว ยังเป็นการเรียนรู้และอัพเดตกฎหมายใหม่ๆ ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงด้วย

    ผู้สูงอายุคนไหนที่ต้องขับรถเป็นประจำ มีวิธีขับรถให้ปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุมาฝาก 1.ก่อนสตาร์ทรถ ถามตัวเองว่าวันนี้สุขภาพดี พร้อมขับรถหรือไม่ 2.เพื่อเป็นการไม่ประมาท ควรขับรถช่วงกลางวันและสภาพอากาศเป็นใจ เพราะทัศนวิสัยที่ดีจะช่วยลดอุปสรรคระหว่างการขับรถได้มาก 3.มือจับพวงมาลัย ตามองถนน ไม่วอกแวกหรือเสียสมาธิไปกับสิ่งเร้ารอบตัว 4.ตรวจสอบสภาพรถก่อนขับ ว่าไฟหน้า เบรก ที่ปัดน้ำฝน ลมยาง ยังอยู่ในสภาพดีหรือไม่ 5.ขับรถเคารพกฎจราจรเสมอ 

    หลายคนมักมองว่าผู้สูงอายุไม่ควรขับรถ เพราะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย แต่ถ้าคุณเป็นผู้สูงอายุที่ใช้ความระมัดระวัง มีความรอบคอบ ใจเย็น และสุขภาพร่างกายพร้อม การขับขี่ของคุณก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสมัยหนุ่มสาว เพียงแต่คุณต้องเตรียมความพร้อมในการขับรถให้มากกว่าหนุ่มสาวก็เท่านั้น.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"