1 ก.พ. 64 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "สถานการณ์ทั่วโลก 1 กุมภาพันธ์ 2564
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 380,810 คน รวมแล้วตอนนี้ 103,447,819 คน ตายเพิ่มอีก 9,040 คน ยอดตายรวม 2,235,594 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 104,693 คน รวม 26,736,283 คน ตายเพิ่มอีก 1,624 คน ยอดตายรวม 451,540 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 6,480 คน รวม 10,753,351 คน
บราซิล ติดเพิ่ม 27,756 คน รวม 9,204,731 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 18,359 คน รวม 3,850,439 คน
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 21,088 คน รวม 3,817,176 คน
อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลักหมื่นต่อวัน
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อิสราเอล อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
เมียนมา เกาหลีใต้ และไทย ติดเพิ่มหลายร้อย ส่วนจีน ฮ่องกง เวียดนาม และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่กัมพูชา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...สถานการณ์ในเมียนมา เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 281 คน ตายเพิ่มอีก 6 คน ตอนนี้ยอดรวม 140,145 คน ตายไป 3,131 คน อัตราตายตอนนี้ 2.2%...
วิเคราะห์สถานการณ์...
หลักวิชาการแพทย์นั้นมีความชัดเจนว่า การระบาดจะมากขึ้นแน่นอน หากมีการพบปะเจอกันมากขึ้น มีการเคลื่อนที่ของประชากรมากขึ้น ระยะเวลาที่จะสัมผัสติดต่อนานขึ้น และจะมากขึ้นอีกหากมีเชื้อโรคที่มีสมรรถนะในการแพร่ที่เร็วขึ้น เช่น พวกเชื้อที่กลายพันธุ์หากมีหลุดเข้ามา
อุซเบกิสถานนั้นเป็นประเทศที่มีลักษณะการระบาดที่น่าสนใจคือ ระลอกแรกขึ้นพีคเกือบพันคนต่อวันในช่วงต้นสิงหาคม และลดลงมาระดับ 200-400 คนต่อวันอยู่ประมาณ 3 สัปดาห์ และขึ้นพีคที่สองไปราว 750 คนต่อวัน สู้ยาวนานต่อเนื่องอีกสามเดือนกว่าจะกดลงมาต่ำกว่าร้อยต่อวันได้
นั่นคือบทเรียนให้เราศึกษา และสังเกต แม้จะเป็นบทเรียนจากระลอกแรกที่มีสองพีคต่อเนื่องกัน และส่งผลยาวนาน
ยิ่งหากเราเผชิญการระบาด แล้วกดการระบาดได้ไม่เด็ดขาด ครึ่งๆ กลางๆ เช่น เร่งตรวจให้พอรู้ แล้วก็หยุดหรือตรวจน้อยลง โอกาสกลับซ้ำย่อมมีสูง
หันมามองบทเรียนของประเทศที่เจอระลอกสอง และต่อด้วยการระบาดเพิ่มอีกครั้งกันบ้างว่าเค้าบอกอะไรเรา
หากอัตราการติดเชื้อต่อวันเป็นหลักสิบ โดยเฉลี่ยแล้วจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อทวีคูณเป็นสองเท่าภายใน 10 วัน
หากอัตราการติดเชื้อต่อวันเป็นหลักร้อย หรือหลักพัน โดยเฉลี่ยแล้วจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อทวีคูณเป็นสองเท่าภายใน 16-19 วัน บวกลบได้ราวหนึ่งสัปดาห์
หากอัตราการติดเชื้อต่อวันเป็นหลักหมื่น โดยเฉลี่ยจะมีโอกาสเกิดการติดเชื้อทวีคูณเป็นสองเท่าภายใน 25 วัน บวกลบได้ราวสองสัปดาห์
นอกจากนี้ช่วงเวลาของการติดเชื้อสูงสุดในการระบาดระลอกสองนั้นยังทำนายระยะเวลาที่มีโอกาสเกิดการระบาดซ้ำได้ด้วย และหากรู้ได้ล่วงหน้า จะได้วางแผนรับมือได้
พอเราเข้าใจเช่นนี้ เราก็จะเข้าใจความคิดของประเทศอื่นๆ โจทย์หลักที่ทุกประเทศต้องตีให้แตกคือ ตกลงสถานการณ์จริงของประเทศฉันเป็นอย่างไรกันแน่?
จึงไม่มีทางเลือกที่จะต้องตรวจให้มากที่สุด ครอบคลุมประชากรให้มาก และต่อเนื่อง ไม่ใช่ตรวจๆ หยุดๆ
ด้วยข้อมูลที่สาธารณะรับทราบกันอยู่ในปัจจุบัน บอกตรงๆ ว่าเราคงไม่ทราบว่าเรามีการติดเชื้อจริงเท่าใดกันแน่ รู้เพียงว่าน่าจะมีคนติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว และ/หรือไม่ได้รับการตรวจอยู่อีกจำนวนไม่น้อย และกระจายอยู่หลายต่อหลายจังหวัด
Best guess ตอนนี้ หากต้องการให้คาดการณ์เพื่อให้พวกเราทุกคนเตรียมตัว ระวังตัวในการใช้ชีวิต และวางแผนการใช้ชีวิต คงจะประเมินว่า โอกาสทวีคูณอาจใช้เวลาราว 3-4 สัปดาห์
ตอนนี้คงประเมินแบบเป๊ะๆ ได้ยากว่าจะเกิดระลอกถัดไปช่วงไหน เพราะระบาดซ้ำของเราครั้งนี้ยังไม่ได้อยู่ในภาวะคงที่เงียบสงบ จำเป็นต้องรอดูช่วงกลางมีนาคมเป็นต้นไปจึงจะพอเห็น
เน้นย้ำว่า ขอให้เราทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะอยู่พื้นที่ใดก็ตามครับ
ใส่หน้ากากเสมอ ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างคนอื่นหนึ่งเมตร เลี่ยงการกินดื่มในร้าน ซื้อกลับบ้านดีกว่า
คอยสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบาย ต้องรีบไปตรวจรักษา อย่าปล่อยไว้ เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อให้คนอื่นได้อีกมาก
ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาเที่ยว สังสรรค์ ตะลอนหลั่นล้าครับ".
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |