สัตว์เศรษฐกิจที่น่าจับตา


เพิ่มเพื่อน    

    'ปลาแซลมอน' คือสัตว์เศรษฐกิจระดับโลก และกลายเป็นเมนูอาหารสุดฮิตที่ทุกประเทศต้องลิ้มลอง ซึ่งความสำเร็จที่เกิดขึ้นไม่ได้มาจากความอร่อยของเนื้อปลาหรือคุณค่าทางอาหารเพียงอย่างเดียว แต่เกิดจากการทำตลาดและสร้างการรับรู้ของสินค้าให้กับผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โดยเรื่องนี้ต้องยกความดีความชอบให้กับรัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมของนอร์เวย์ ซึ่งเป็นประเทศผู้เลี้ยงปลาแซลมอนเพื่อส่งออกรายใหญ่ของโลก  ที่สามารถสร้างแผนการตลาด, ควบคุมคุณภาพการผลิต และการโปรโมตสินค้าได้แบบครบวงจร จนทำให้มียอดคำสั่งซื้อเข้าอย่างต่อเนื่อง อย่างประเทศไทยเองในปี 2563 ที่ผ่านมา ก็มีการสั่งนำเข้าแซลมอนนอร์เวย์สูงถึง 16,771 ตัน มูลค่า 3,650 พันล้านบาท
    เห็นได้ชัดเจนว่าความสำเร็จในการทำตลาดของ 'แซลมอนนอร์เวย์' สามารถใช้เป็นกรณีศึกษาให้กับการทำแผนโปรโมต "สินค้าประมงและอาหารทะเล” ของไทยเพื่อส่งออกในอนาคตได้ ซึ่งจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์พบว่า ในแต่ละปีไทยส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเฉลี่ยอยู่ที่กว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี
    และก็ถือเป็นข่าวดีที่ล่าสุด 'กรมประมง' ได้ศึกษาวิจัยสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่สามารถแข่งขันกับ 'ปลาแซลมอน' จากยุโรปได้ และที่สำคัญที่สุดประเทศไทยสามารถเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและผลิตเจ้าสัตว์ชนิดนี้ได้นั้นก็คือ “ปลาช่อนทะเล”  (Cobia Fish) หรือที่ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “ซูกิ (Sugi)” ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับสมญานามว่าเป็น "แบล็กแซลมอน" ด้วยเนื้อที่เต็มคุณค่าทางโภชนาการสูง และมีรสชาติที่ดี สามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู
    นั่นทำให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผนึกกำลังกับกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโครงการ “Sugi Business Case Challenge สำหรับโครงการปลาช่อนทะเลต้นแบบ (Sugi Model)” เปิดโอกาสให้นิสิต-นักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์พัฒนารูปแบบทางการตลาดของปลาช่อนทะเล เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการสร้างสัตว์น้ำเศรษฐกิจใหม่ของไทย
    จากบทสัมภาษณ์ของ รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ปลาช่อนทะเลถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องด้วยคุณสมบัติของปลานั้นสามารถต่อยอดให้กลายเป็นเมนูอาหารได้หลากหลาย ซึ่งจะเป็นที่นิยมทั่วโลกได้ไม่ยาก แต่การจะไปให้ถึงระดับนั้นได้ ก็จำเป็นจะต้องมีแผนการตลาดที่เหมาะสม เพื่อสร้างแบรนด์และการรับรู้ รวมถึงรักษาคุณภาพของสินค้าให้เป็นที่ยอมรับ โดยในขณะนี้ความต้องการในตลาดโลกของปลาช่อนทะเลกำลังเติบโตขึ้นทุกปี ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกมีการเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลในเชิงพาณิชย์แล้วกว่า 4-5 หมื่นตัน แต่ในประเทศไทยเองมีการผลิตได้เพียง 40 ตันต่อปี นับว่ายังเป็นแค่เพียงช่วงเริ่มต้นเท่านั้น
    "ข้อดีของ 'ปลาช่อนทะเล' คือ เป็นปลาที่สามารถเพาะเลี้ยงได้ในเขตร้อน เจริญเติบโตได้เร็วมากภายใน 1 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 5-8 กิโลกรัม ขณะที่ต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างต่ำ เฉลี่ย 100 บาท/กิโลกรัม และมีราคาขายที่ค่อนข้างดี คือ 550 บาท/กิโลกรัม นับเป็นปลาทะเลทางเลือกสำหรับเมนูอาหาร"
    สำหรับตลาดหลักของปลาช่อนทะเล คือ กลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกอย่าง จีน, ญี่ปุ่น และผู้ผลิตปลาชนิดนี้ หลักๆ มาจากจีน, ปากีสถาน, อิหร่าน และเวียดนาม โดยเชื่อแน่ว่าหากสามารถวางแผนการตลาดสำหรับปลาชนิดนี้อย่างจริงจังและเกิดการรับรู้ในวงกว้างแล้ว จะเป็นจุดที่ทำให้เกิดความสนใจหันมาเพาะเลี้ยงปลาช่อนทะเลในเชิงพาณิชย์มากขึ้น ซึ่งปลาชนิดนี้สามารถเพาะเลี้ยงได้ทั้งทะเลฝั่งอันดามัน และฝั่งทะเลอ่าวไทย 
    เชื่อว่าปลาช่อนทะเลเป็นเหมือนอัญมณีที่ซ่อนเร้น ซึ่งรอวันเปล่งประกายในไม่ช้านี้ ซึ่งมันสามารถเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ที่โดดเด่นไม่แพ้กัญชา ซึ่งเชื่อว่าหากแผนการตลาดมีการขับเคลื่อนจริงๆ ปลาช่อนทะเลนับเป็นทางเลือกใหม่ในการบริโภคของประชาชนทั่วไปอย่างแน่นอน และจะยิ่งกระตุ้นตลาดให้มีการเติบโตไปในอนาคตอันใกล้ด้วย.

 ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"