(พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา)
ทำหน้าที่ในตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์” มาตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.2559 สำหรับ พิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา ซึ่งเตรียมจะครบวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 31 ม.ค.2564 ภายหลังจากได้รับการต่อวาระสมัยที่ 2 จนครบอายุ 60 ปี ต่อเนื่องจากการดำรงตำแหน่งสมัยที่ 1
“อาทิตย์เอกเขนก” สัปดาห์นี้ จะพาไปเปิดใจ พิศิษฐ์ กับตลอดระยะเวลาการทำงานที่เอ็กซิมแบงก์ ภายใต้ภารกิจสำคัญ คือ สนับสนุนทางการเงินเพื่อนำผู้ประกอบการไทยเข้าสู่เวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงสนับสนุนทางการเงินเพื่อการลงทุนสำหรับการพัฒนาประเทศตามนโยบายรัฐบาล และลดความเสี่ยงการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการไทย ไปจนถึงการพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทยในเวทีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ
พิศิษฐ์ เล่าว่า หลังจากเข้ารับตำแหน่งในฐานะกรรมการผู้จัดการของเอ็กซิมแบงก์ ก็ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนองค์กรครั้งใหญ่ (Transformation) ตามแผนแม่บท 10 ปี (ปี 2560-2570) ทำให้องค์กรพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภายนอกได้เป็นอย่างดี แม้ปี 2563 ทุกภาคส่วนทั่วโลกต้องเผชิญความท้าทายจากผลกระทบของการแพร่ระบาดโควิด-19 แต่ “เอ็กซิมแบงก์” ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ยังมีผลการดำเนินงานที่น่าพอใจและเป็นไปตามเป้าหมายที่จะบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำองค์กรการเงินเพื่อการส่งออก (Export Credit Agency : ECA) ระดับภูมิภาคในปี 2565 และเป็น ECA ระดับโลกในปี 2570
สำหรับการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ที่ 1 คือการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยขยายการส่งออกและลงทุนในต่างประเทศได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศตลาดใหม่ (New Frontiers) ทั้งในและนอกอาเซียน ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนการลงทุนในประเทศเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ (S-curve) และพื้นที่เป้าหมาย อาทิ พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (SEZs) เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การขยายบริการประกันการส่งออกและการลงทุน รวมทั้งบริการวิเคราะห์ความเสี่ยงผู้ซื้อและธนาคารผู้ซื้อเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงในปัจจุบัน ยุทธศาสตร์ที่ 4 จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า (EXIM Excellence Academy: EXAC) เพื่อให้บริการและสนับสนุนผู้ประกอบการทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินแบบครบวงจร (One Stop Service) โดยมุ่งเน้นพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้ส่งออกได้หรือส่งออกได้มากขึ้น ผ่านการอบรม บ่มเพาะ ให้คำปรึกษา จับคู่ธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนการค้าออนไลน์ (E-trading)
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การ ก้าวเข้าสู่ธนาคารดิจิทัล ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการให้บริการลูกค้า เหล่านี้ ทำให้เอ็กซิมแบงก์สามารถปรับตัวและบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ดี และยุทธศาสตร์ที่ 6 การปรับปรุงกระบวนการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้าและการบริหารจัดการองค์กร รวมถึงการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตลอดเส้นทางการทำงาน
และในปี 2564 เอ็กซิมแบงก์ยังคงตั้งเป้าหมายในการเดินหน้าสนับสนุนผู้ส่งออกและนักลงทุนให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงมุ่งเน้นสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเริ่มต้นและขยายธุรกิจได้
“วันนี้เอ็กซิมแบงก์ยังทำหน้าที่ขับเคลื่อนการเติบโตของภาคการส่งออกไทย เสมือนการดูแลต้นไม้ใหญ่ของประเทศ ให้แตกกิ่งก้านสาขา พยุงภาคเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมให้เติบโต ยั่งยืนไปด้วยกัน ท่ามกลางความท้าทายของปัจจัยแวดล้อมและลมพายุ เอ็กซิมแบงก์ยังทำงานร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชนสร้างนวัตกรรมดูแลผลผลิตของต้นไม้นี้ให้เติบโต งอกงาม มีรากแก้วและรากฝอยที่แข็งแรงไปด้วยกัน ขณะเดียวกันก็ยังมุ่งมั่นพัฒนาบุคลากรและระบบการทำงานที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของสังคมต่อ ECA แห่งนี้ เพื่อให้แน่ใจว่า ทุกภาคส่วนจะยังคงดำเนินภารกิจหน้าที่ ตลอดจนกิจการต่างๆ ของตนเองต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง สร้างงาน สร้างรายได้ และคุณภาพชีวิตของประชากรไทยและภูมิภาคต่างๆ ไปด้วยกัน นำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาคมโลก” พิศิษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |