'ธปท.' เกาะติดโควิด-19ระลอกใหม่เตรียมปรับจีดีพีใหม่


เพิ่มเพื่อน    


29 ม.ค.2564 นางสาวพรเพ็ญ สดศรีชัย ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในขณะนี้ ธปท. ยังคงประมาณการเศรษฐไทยปี 2563 ไว้ที่ ติดลบ6.6% ตามการประเมินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในการประชุมเมื่อเดือนธ.ค. 2563 ซึ่งใกล้เคียงกับตัวเลขจีดีพีที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์ไว้ที่ ติดลบ6.5% โดยตัวเลขจีดีพีที่แท้จริงจะต้องรอการประกาศจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ในเดือน ก.พ. นี้

สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปี 2564 กนง. เคยคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 3.2% ซึ่งเป็นการประเมินก่อนที่จะเกิดระบาดของโควิด-19 ในรอบใหม่ดังนั้นคงต้องติดตามสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศอย่างใกล้ชิด ว่าจะมีผลกระทบให้ต้องหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปยาวนานเพียงใด รวมถึงมาตรการของภาครัฐที่จะทยอยออกมาช่วยเหลือเยียวยาประชาชนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในรอบนี้ ตลอดจนพิจารณาสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าร่วมด้วย ซึ่งเชื่อว่า กนง.จะนำข้อมูลทั้งหมดนี้มาประเมินผลก่อนที่จะมีการประกาศตัวเลขจีดีพีในปีนี้ใหม่อีกครั้ง

ส่วนแนวโน้มการส่งออกของไทยในปีนี้ คงต้องขึ้นกับเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และปริมาณการค้าโลกเป็นสำคัญ แต่เชื่อว่าปัจจัย 2 ตัวนี้ จะค่อย ๆ ปรับดีขึ้น ทำให้การส่งออกของไทยยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องจากในเดือนธ.ค. 2563 ที่การส่งออกพลิกกลับมาเป็นบวกที่ 4.6% ขณะที่แนวโน้มการท่องเที่ยวปีนี้กนง.ได้ประเมินไว้ว่าจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยราว 5.5 ล้านคน ดังนั้นจะต้องติดตามพัฒนาการในเรื่องโควิด-19 อย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลให้นักท่องเที่ยวมีความระมัดระวังในการเดินทางท่องเที่ยว รวมทั้งติดตามนโยบายการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทย โดยเชื่อว่าในเรื่องของนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีความไม่แน่นอนสูง อาจไม่ได้เห็นจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาไทยมากนักในปีนี้ ดังนั้น หากจะพิจารณาเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา อาจต้องพิจารณาเรื่องการกระตุ้นการใช้จ่ายต่อหัว หรือการเข้าพักในระยะเวลาที่นานขึ้น รวมทั้งการพิจารณานักท่องเที่ยวในกลุ่มพรีเมียม ซึ่งอาจจะพอชดเชยกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่หายไปได้บ้าง

“เศรษฐกิจไทยยังมี 3 ประเด็นที่ต้องติดตาม ได้แก่ 1.การแพร่ระบาดของโควิด-19ในประเทศ ซึ่งต้องดูว่าจะส่งผลกระทบไปยังแต่ละพื้นที่ และแต่ละกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างไร รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ 2.การฟื้นตัวของตลาดแรงงาน และ 3. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า และบรรยากาศการค้าโลก” นางสาวพรเพ็ญ กล่าว

นางสาวพรเพ็ญ กล่าวอีกว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4/2563 ยังฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่การฟื้นตัวยังไม่ทั่วถึง โดยเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวได้ตามกำลังซื้อที่ทยอยฟื้นตัวในภาพรวม และแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ประกอบกับมีปัจจัยชั่วคราวจากวันหยุดยาวพิเศษ ส่วนการบริโภคภาคเอกชนโดยรวมปรับดีขึ้น แต่กำลังซื้อของภาคครัวเรือนยังเปราะบางและมีความแตกต่างกันตามกลุ่มรายได้และพื้นที่ สำหรับการส่งออกสินค้าหดตัวน้อยลงตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ประเทศคู่ค้า

ด้านเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน กลับมาขยายตัวสอดคล้องกับอุปสงค์และความเชื่อมั่นของธุรกิจที่ดีขึ้น อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศที่ฟื้นตัวส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมหดตัวน้อยลงสอดคล้องกัน ขณะเดียวกันการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวตามรายจ่ายลงทุน ส่วนหนึ่งจากผลของฐานต่ำในปีก่อนจากการประกาศใช้ พ.ร.บ. งบประมาณปี 2563 ล่าช้า อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยวยังหดตัวสูงจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ

สำหรับสถานการณ์ค่าเงินบาท ในเดือนธ.ค.63 เงินบาทแข็งค่าจากเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า เนื่องจากความมั่นใจของนักลงทุนในสินทรัพย์ของตลาดเกิดใหม่ จากปัจจัยของพัฒนาการด้านวัคซีน และการมีประธานาธิบดีใหม่ของสหรัฐ จึงทำให้นักลงทุนยอมรับความเสี่ยงมากขึ้น และหันไปสนใจลงทุนในตลาดประเทศเกิดใหม่ รวมทั้งไทย จึงทำให้สกุลเงินต่างๆ ในภูมิภาคปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ แต่หลังจากที่เกิดสถานการณ์โควิด-19 รอบใหม่ระบาดในไทยช่วงเดือนม.ค. 2564 จึงทำให้เงินบาทมีความน่าสนใจน้อยลงในสายตาของนักลงทุน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"