กองทัพพม่าเพิ่งยอมรับทหารฆ่าโรฮิงญา 10 ศพ


เพิ่มเพื่อน    

กองทัพพม่าเพิ่งยอมรับว่าทหารฆ่าหมู่ "ผู้ก่อการร้ายชาวเบงกาลี" 10 คน ระหว่างเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในรัฐยะไข่ช่วงต้นเดือนกันยายนปีที่แล้ว เป็นการยอมรับอย่างเปิดเผยครั้งแรกนับแต่เกิดวิกฤติโรฮิงญาอพยพที่พม่าถูกกล่าวหาว่าล้างเผ่าพันธุ์มุสลิมโรฮิงญา

แฟ้มภาพ AFP หมู่บ้านในรัฐยะไข่โดนวางเพลิงระหว่างเหตุการณ์รุนแรงเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว

    การสังหารเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2560 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความตึงเครียดในรัฐยะไข่ลุกลามจากเหตุการณ์ที่ชาวโรฮิงญาต่อสู้กับกองกำลังความมั่นคงพม่าและชาวยะไข่ หลังจากเกิดเหตุชายชาวยะไข่คนหนึ่งโดนฆ่าตาย

    คำแถลงที่เผยแพร่ทางเฟซบุ๊คอย่างเป็นทางการของพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า เมื่อคืนวันพุธที่ 11 มกราคม 2561 กล่าวว่า ชาวบ้านบางคนจากหมู่บ้านอินดิน และเจ้าหน้าที่กองกำลังความมั่นคง ยอมรับสารภาพว่า พวกเขาได้สังหารผู้ก่อการร้ายชาวเบงกาลี 10 คน

    เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560 กองทัพพม่าประกาศว่า พบหลุมฝังศพขนาดใหญ่ ที่มีศพ 10 ศพถูกฝังอยู่ ที่หมู่บ้านอินดิน ห่างจากเมืองซิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ทางเหนือราว 50 กิโลเมตร กองทัพได้แต่งตั้งนายทหารระดับสูงสอบสวนเหตุการณ์นี้

    คำแถลงของกองทัพกล่าวว่า ผลการสอบสวนดังกล่าวพบว่า สมาชิกกองกำลังความมั่นคงได้สังหารบุคคล 10 คนนี้ และกองทัพจะดำเนินการกับผู้กระทำผิด

    คำชี้แจงของกองทัพกล่าวด้วยว่า กองกำลังความมั่นคงปฏิบัติการกวาดล้างในพื้นที่นั้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน ภายหลัง "ผู้ก่อการร้ายชาวเบงกาลี 200 คนโจมตี โดยใช้ไม้ตะบองและมีดดาบ"

    ชาวเบงกาลีเป็นคำที่พม่าใช้เรียกชาวมุสลิมโรฮิงญา พม่าไม่ยอมรับโรฮิงญาว่าเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่า แต่ถือว่าพวกเขาเป็นชาวเบงกาลีจากบังกลาเทศ ที่เข้าพม่าอย่างผิดกฎหมาย ขณะที่ชาวโรฮิงญาก็ไม่ยอมรับการเรียกขานพวกเขาว่าเป็นเบงกาลีเช่นกัน

    ผู้ก่อเหตุ 10 รายที่โดนฆ่าตายนี้ ถูกจับกุมไว้ได้ในช่วงที่กองกำลังความมั่นคงยิงปืนขึ้นฟ้าเพื่อขับไล่ แต่กองทัพพม่ายอมรับว่า คนร้ายกลุ่มนี้สมควรถูกส่งตัวให้ตำรวจตามขั้นตอน แต่ช่วงเวลานั้น พวกกองกำลังติดอาวุธยังโจมตี "อย่างต่อเนื่อง" และยังระเบิดทำลายรถของทหาร 2 คัน

    กองทัพกล่าวว่า สภาพการณ์ในขณะนั้นไม่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายผู้ก่อการร้ายเบงกาลี 10 รายนี้ไปยังโรงพัก จึงมีการตัดสินใจสังหารพวกเขาทิ้ง

    พวกชาวบ้านที่เป็นคนพุทธยะไข่ที่โกรธแค้นเพราะสูญเสียญาติพี่น้องจากการโจมตีครั้งนี้ ต้องการฆ่าพวกคนร้าย จึงได้บังคับให้พวกเขาขุดหลุมศพที่ชายหมู่บ้านแล้วแทงพวกเขา จากนั้นกองกำลังความมั่นคงจึงยิงพวกเขาตาย

    คำแถลงยืนยันว่า กองทัพจะดำเนินการตามกฎหมายกับชาวบ้านกลุ่มนี้ และกับสมาชิกกองกำลังความมั่นคงที่ละเมิดกฎการปะทะ และจะมีการดำเนินคดีกับพวกที่ไม่ยอมรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อผู้บังคับบัญชา รวมถึงพวกที่รับผิดชอบกำกับดูแลการปฏิบัติการของกองกำลังความมั่นคงด้วย

    คณะสอบสวนชุดนี้นำโดยพลโทอาย วิน ซึ่งเป็นนายทหารคนเดียวกับที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมดูแลการสอบสวนระดับกว้างกว่า เกี่ยวกับพฤติกรรมของทหารในสถานการณ์ขัดแย้งที่รัฐยะไข่ และได้ข้อสรุปเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า กองทัพไม่ได้ปฏิบัติอย่างทารุณโหดร้ายต่อชาวบ้านมุสลิมในรัฐยะไข่

    ด้านแอมเนสตีอินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า คำแถลงของกองทัพพม่าครั้งนี้แตกต่างจากนโยบายปฏิเสธการกระทำผิดอย่างสิ้นเชิง แต่เหตุการณ์นี้เป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งใต้น้ำ และควรมีการสอบสวนอิสระอย่างจริงจังต่อการรณรงค์ล้างเผ่าพันธุ์ที่บีบให้ชาวโรฮิงญาอพยพกว่า 650,000 คน.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"