28 ม.ค.64 - นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กโดยมีรายละเอียดดังนี้
ส.ส. ต้องเป็น “ผู้แทน” ของราษฎร มิใช่ “พนักงานของรัฐ”
สถาบันการเมือง พรรคการเมือง ส.ส. ส.ว. ที่มีอำนาจอยู่ ต้องมีความรับผิดชอบในการนำประเด็นไปทำต่อ จะช้าเร็ว-มากน้อย ก็ว่ากัน แต่ต้องไปขยับ
อย่างน้อยที่สุด คือถ้าคุณเห็นว่าคนมาชุมนุม เขาเสียสละโดนคดีกันมาก ติดคุกทั้งชีวิต นับห้วงชีวิตอายุของคนคนหนึ่งอาจจะติดคุกยังไม่พอกับจำนวนคดีที่โดน อย่างน้อยๆ 3 ประเด็นข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นในปี 2563 ก็ต้องขยับไปในแนวทางนี้
ถ้า ส.ส. ไม่ขยับเลย จะตอบเยาวชนประชาชน-อนาคตของประเทศ จะเป็นความหวังให้เขาได้อย่างไร ในขณะที่คนจำนวนมากไปเรียกร้อง แต่ถ้าวันหนึ่งเขาสิ้นหวังกับพรรคการเมือง นักการเมือง ผู้แทนราษฎร คราวนี้ระบบการเมืองจะปั่นป่วนโกลาหล
ทุกๆ วินาทีที่อยู่ในสภา ทุกจังหวะโอกาสที่มี ควรจะต้องขับเคลื่อนได้มากขึ้นเรื่อยๆ อาจจะไม่สำเร็จ แต่คือเมล็ดพันธุ์ ขอให้ได้ขยับ ภารกิจสำคัญของผู้แทนราษฎรคือเรื่องแบบนี้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร คือ “ผู้แทน” ของ “ราษฎร” ผู้ที่ได้เป็น ส.ส. ไม่ควรคิดว่า ส.ส. เป็น “อาขีพ” เมื่อเป็นแล้วก็ติดใจหลงใหลต้องเป็นอีก จนทำให้ไม่กล้าตัดสินใจทำอะไรเลยเพื่อ “ราษฎร” เพราะเกรงว่าจะถูกกลไกรัฐเข้าทำลายจนตนเองต้องถูกขับออกจากการเมือง
ถ้า ส.ส. คิดว่า ส.ส. เป็น “อาชีพ” ต้องเป็นต่อไปเรื่อยๆ เขาจะขาดความเป็นอิสระ ขาดความกล้าหาญ และสยบยอมต่อกลไกรัฐ ไม่กล้าท้าทายปฏิรูปเรื่องใหญ่ๆ ในท้ายที่สุด ส.ส. ก็จะกลายเป็น “พนักงานของรัฐ” ไป
หาก ส.ส. ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่ลิดรอนเสรีภาพและอำนาจประชาชน กฎหมายที่แปลง “ประชาชน” ผู้ทรงอำนาจสูงสุดของประเทศ ให้กลายเป็น “ไพร่” แล้ว ส.ส. ก็เป็นเพียงคนที่หายใจไปวันๆ เพื่อตำแหน่ง ยศถาบรรดาศักดิ์ เงินทอง อำนาจ ของตนเท่านั้น
เมื่อ ส.ส. ถูกทำให้เป็น “พนักงานของรัฐ” ไม่ใช่ “ผู้แทนประชาชน” แล้ว กลไกรัฐที่เป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตยก็ได้ครอบงำเบ็ดเสร็จ
เมื่อสถาบันทางการเมืองที่ถืออำนาจรัฐไม่อาจสนองตอบความต้องการประชาชนได้ เมื่อนั้น “ประชาชน” จักปรากฏกายขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงกันเอง
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |