28 ม.ค.64 - นายอัษฎางค์ ยมนาค นักวิชาการอิสระ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า "วัคซีนพระราชทาน" คำให้ร้ายในหลวงของตี๋หนึ่ง ที่มักแสดงความหวังดีแต่ความจริงประสงค์ร้าย คำว่าวัคซีนพระราชทาน ตามภาษาชาวบ้านน่าจะต้องหมายถึง การที่สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นตัวตั้งตัวตีในการสั่งซื้อ ผลิตและจำหน่ายจ่ายแจก
แต่ความเป็นจริงที่ตี๋หนึ่งไม่พูด ซึ่งอาจจะมาจากการหวังดีประสงค์ร้าย หรือไม่รู้จริงแต่ชอบพูดให้ร้ายคือ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ซึ่งได้รับการวิจัยและผลิตโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดของอังกฤษ ร่วมพัฒนากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า นั้นเป็นผู้เลือก บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ ให้เป็นฐานการผลิตวัคซีน ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่ตรงตามมาตรฐานระดับโลก
โดยวัคซีนป้องกันโควิด-19 ของแอสตร้าเซเนก้าใช้เทคโนโลยีในการผลิตใกล้เคียงกับ การผลิตยาชีววัตถุจากเซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งสยามไบโอไซเอนซ์ มีประสบการณ์ในการผลิตยาชีววัตถุด้วยเทคโนโลยีนี้
สิ่งที่สยามไบโอไซเอนซ์ ต้องทำคือ การปรับแผนการผลิตยาชีววัตถุเดิม เพื่อการผลิตวัคซีนให้ได้ตรงตามมาตรฐานของแอสตร้าเซเนก้าในเวลาอันรวดเร็วที่สุด เพราะฉะนั้นจะปลุกปั้นผู้คนด้อยปัญญาว่า เป็นวัคซีนพระราชทาน ที่ใช้เงินจากภาษีของประชาชน แต่ให้เครดิตเป็นวัคซีนพระราชทานนั้น คือการให้ร้ายกันอย่างชัดเจน
ถึงแม้สยามไบโอไซเอนซ์จะมีในหลวงถือหุ้นบริษัท แต่วัคซีนตัวนี้มาจากประเทศอังกฤษ ไม่ใช่จากสถาบันพระมหากษัตริย์ และบริษัทจากอังกฤษเป็นผู้คัดเลือกสยามไบโอไซเอนซ์ด้วยตนเอง เพราะเล็งเห็นถึงประสิทธิภาพของบริษัท รวมทั้งเห็นว่าเป็นบริษัทที่ไม่ได้มุ่งหวังผลกำไร แต่เป็นกิจการที่มุ่งหวังในการช่วยเหลือสังคม ซึ่งการที่แอสตร้าเซนเนก้าเลือกสยามไบโอไซเอนซ์ เป็นบริษัทผลิตวัคซีนป้องกันโควิด 19 นี้ ยังจะช่วยให้ไทยสามารถผลิตวัคซีนใช้ได้เอง โดยไม่ต้องหวังพึ่งวัคซีนจากต่างประเทศอีกด้วย
มาทำความเข้าใจกับวัคซีนกันหน่อยตี๋หนึ่ง การฉีดวัคซีน เป็นการกระตุ้นให้คนสร้างภูมิคุ้มกัน แต่...การมีภูมิคุ้นกันไม่ได้หมายความว่าจะป้องกันโรคได้
และวัคซีนโควิด 19 ที่มีอยู่ในปัจจุบันยังไม่ข้อมูลใดๆ ที่สามารถยืนยันว่าป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อโควิดได้ แต่....สิ่งที่สามารถบอกได้เมื่อฉีดวัคซีนคือ โอกาสติดเชื้อน้อยลง โอกาสป่วยน้อยลง ถ้าเกิดติดเชื้อและป่วยก็จะมีอาการไม่รุนแรง หายป่วยไว รวมทั้งโอกาสเสียชีวิตน้อยลง กว่าการไม่ฉีควัคซีน
ผลการทดสอบวัคซีนโควิด-19 ของแอสตร้าเซนเนก้า ที่มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดของอังกฤษ ร่วมพัฒนากับบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ในช่วงแรกมีข่าวว่ามีประสิทธิภาพเฉลี่ยอยู่ที่ 70% ซึ่งปัจจุบันบางข่าวแจ้งว่าเกือบ 90% ซึ่งในทางการแพทย์ วัคซีนใดๆ ที่มีประสิทธิภาพ 50% ขึ้นไป ไม่ว่าจะ 70 หรือ 90 ก็ถือว่าผ่านมาตรฐานและใช้ได้เหมือนกัน เช่นวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดที่เราใช้กันมานานแสนนานก็มีประสิทธิภาพเพียง 50% เท่านั้น
ผู้ที่ควรได้รับการฉีควัคซีนก่อนคือ บุคลลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน สาเหตุที่ต้องฉีคให้กับคนเหล่านั้นก่อนเพราะบุคลลากรทางการแพทย์ มีหน้าที่ต้องดูแลผู้ป่วย ส่วนผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวนั้นถ้าติดเชื้อโควิดมักมีอาการรุนแรงถึงชีวิต
ดังเช่นที่ในช่วงแรกมีข่าวว่ารัฐบาลสั่งซื้อวัคซีนซิโนแวค นั้นก็ไม่ได้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ป้องกันหรือควบคุมโควิด แต่เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องทำงานอยู่กับป่วย
อย่างไรก็ตาม ถึงจะมีการฉีควัคซีนแล้ว เราก็จะยังคงประมาทไม่ได้อยู่ดี เพราะวัคซีนไม่ใช่คำตอบสุดท้าย เพราะมันไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อและการระบาดได้ 100% เพราะฉะนั้นที่เรายังคงต้องทำต่อไปคือ ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือ และอยู่ห่าง แบบนี้ไปอีกอย่างน้อย 1-2 ปี ซึ่งมาตรการนี้อาจจะให้ผลดีและน่าเชื่อถือกว่าวัคซีนตัวไหนๆ ในโลกในขณะนี้เสียอีก
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |