27ม.ค.64-นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยหลังจากนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)ต้องเร่งการซ่อมบำรุงในส่วนสถานี ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จมานานแล้วแต่ยังไม่ได้เปิดใช้งาน และรางจะต้องก่อสร้างให้ได้มาตรฐาน
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่าโดยในช่วงแรกโครงการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันจะทดสอบระบบและทดสอบการเดินรถเสมือนจริงในช่วงเดือนมีนาคมปีนี้ ก่อนเปิดให้ทดลองใช้รถไฟฟ้าในเดือนกรกฎาคม 2564 และจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ เบื้องต้น อัตราค่าโดยสารคิดตามระยะทางช่วงบางซื่อ-รังสิตค่าแรกเข้า 14 บาทและตลอดเส้นทางไม่เกิน 42 บาทและช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ค่าแรกเข้าไม่เกิน 14 บาทและค่าโดยสารตลอดเส้นทางถึงตลิ่งชันไม่เกิน 42 บาท
สำหรับการบริหารการใช้พื้นที่สถานีพื้นที่ต้องมีรายได้มากกว่ารายจ่ายโดยอาจใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์ซึ่งต้องไปดูสัดส่วน เนื่องจากพื้นที่รวมสถานีมีประมาณ 8 แสน 8 พันตารางเมตร หากบริหารจัดการให้ดีจะมีรายได้ในการบริหารให้กำไร
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า จากตัวแบบที่การรถไฟฯ เสนอมาครั้งแรก ก่อนPPP จะใช้เวลา 3 ปี หลังจากนี้ 2564-2567 การรถไฟฯจะเข้ามาดำเนินการก่อนอยู่ประมาณ 1,400 ล้านบาท และในช่วงการให้บริการช่วงแรกจะมีรายได้ประมาณ 5%หรือกว่า 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นโจทย์ที่ไม่ควรทำ เพราะอาจจะทำให้การรถไฟฯขาดทุน จึงสั่งให้การรถไฟฯ บริหารให้เป็นสมาร์ทสเตชั่น ต้องยึดระเบียบกฏหมาย ประชาชนใช้บริการสะดวกสบายปลอดภัย และจะต้องเปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มโอทอปเข้ามาทำตลาดอย่างยั่งยืน โดยใช้ระบบ profit sharing ขณะเดียวกันได้ให้โจทย์ไปดูแลที่สถานีอื่นด้วย เพราะลงทุนสถานีอย่างน้อย 3 หมื่นล้านบาท จึงไม่ควรขาดทุน โดยให้เวลาภายใน 1 สัปดาห์จะต้องเสนอปลัดพิจารณา
ทั้งนี้ในส่วนการบริหารพื้นที่รอบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีมากกว่า 2 พันไร่ โดย 5 แปลงแรก การรถไฟฯ จะสามารถออก RFP ได้ในสัปดาห์นี้ โดยจะออกแบบให้เป็นที่อยู่อาศัย ศูนย์ราชการ เป็นคอมมูนิตี้ ส่วนอีก 4 แปลง เป็นพื้นที่ที่จะต้องมีการย้าย เช่น โรงซ่อมรถไฟ และพื้นที่ของบขส. ให้วางไทม์ไลน์ให้ชัดเจน เพื่อให้สอดคล้องกัน
นอกจากนี้ได้มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จัดทำแผนบริหารการเดินรถเข้าสถานีกลางบางซื่อ และปิดการให้บริการที่สถานีหัวลำโพง โดยให้พิจารณาว่ามีข้อจำกัด หรืออุปสรรคใด รวมถึงวิธีแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อปิดการให้บริการที่สถานีหัวลำโพงแล้วในส่วนของทางรถไฟจากบางซื่อไปหัวลำโพงจะสามารถพัฒนา หรือทำกิจกรรมใดเพื่อคืนประโยชน์ให้แก่สังคมและประชาชนได้บ้าง ขณะที่ตัวสถานีหัวลำโพง ก็ได้มอบให้ รฟท. ไปศึกษาเช่นกัน โดยเบื้องต้นอยากให้เป็นแลนด์มาร์คที่สำคัญของประเทศไทย และเป็นพื้นที่ที่จะสามารถสร้างรายได้เลี้ยงตัวเองได้ อย่างไรก็ตามส่วนข้อกังวลว่าหากปิดให้บริการที่สถานีหัวลำโพงแล้ว จะมีประชาชนจำนวนมากที่ใช้บริการรถไฟชานเมืองเดินทางเข้ามายังใจกลางเมืองได้รับผลกระทบนั้น เรื่องนี้ไม่ต้องกังวลได้มอบให้ รฟท. หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันจัดทำแผนรองรับแล้ว
ทั้งนี้มองว่า สามารถปรับการบริหารได้ โดยในปี 2564 เมื่อมีการให้บริการเชิงพาณิชขย์แล้วในเดือนพฤศจิกายน 2564 รถไฟที่จะเข้ามาที่สถานีหัวลำโพง เช่น การเติมน้ำมันจะต้องใช้เวลากลางคืน ให้เข้าหลัง 22.00 ถึง 04.00 น. เท่านั้น เพื่อให้เวลา 04.00-22.00 น. ของทุกวันประชาชนจะได้ไม่ติดขบวนรถไฟ การสร้างสถานีกลางบางซื่อต้องการให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่ง โดยสั่งการให้บอร์ดฯรถไฟ และผู้ว่าฯรถไฟ หาข้อสรุปให้ได้ภายใน 1 สัปดาห์
“เมื่อถึงเดือนพ.ย.ปีนี้ ถ้าทำได้ ต้องไม่มีรถไฟซักขบวนเดียวเข้าไปที่หัวลำโพงเลย แต่ถ้ามีข้อจำกัด ซึ่งไม่มากหั้ปรับเวลาการเดดินรถเป็น 22.00-04.00 น.เพื่อเลี่ยงการจราจร และให้คิดว่าเมื่อไม่ได้ใช้รางรถไฟจากบางซื่อ-หัวลำโพง ให้คิดว่าจะทำอะไรเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชน เช่น พื้นที่ออกกำลังกาย หรือพื้นที่ขายของแต่ต้องไม่ใช่พื้นที่หาบเร่แผงลอย”นายศักดิ์สยาม กล่าว
ส่วนกรณีการงดให้บริการขบวนรถเชิงสังคมชั่วคราว เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมระบุว่า ได้รับรายงานแล้ว และได้สั่งการให้ผู้ว่าฯการรถไฟไปดูเรื่องเวลาวิ่งให้บริการว่าสัมพันธ์กับเวลาใช้บริการของป
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |