พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย


เพิ่มเพื่อน    

    ช่วงนี้มีโอกาสได้พูดคุยและติดตามอ่านความคิดเห็นของเด็กรุ่นใหม่ พบว่ามีความคับข้องใจกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เป็นอยู่เหมือนเป็นการจูนความคิดของผู้เขียนยุคเบบี้บูม ให้เข้าใจเด็กเจนวาย หลายครั้งที่ชื่นชมความกล้าคิดกล้าแสดงออกของเด็กรุ่นนี้ โดยรวมแล้วเป็นคำถามที่มีต่อระบบคุณค่าของสังคม เรียกร้องประชาธิปไตยและสิทธิในความเป็นพลเมือง เมื่อมาดูคำจำกัดความของคำว่า “พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย” พบว่าพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย หมายถึง พลเมืองที่มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักศีลธรรมและคุณธรรมของศาสนา มีหลักการทางประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนตามกฎหมาย ดำรงตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อันจะก่อให้เกิดการพัฒนาสังคมและ ประเทศชาติให้เป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างแท้จริงตามหลักประชาธิปไตย

    เด็กรุ่นนี้โตมากับระบบการศึกษาที่ล้มเหลว วัดกันด้วยคะแนนและเต็มไปด้วยการแข่งขัน โตมาพร้อมกับปัญหาต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การล่มสลายขององค์กร มักมีคำกล่าวที่ว่าคนรุ่นใหม่ไม่มีความภักดีต่อองค์กรเปลี่ยนงานบ่อย ในความเป็นจริงคนรุ่นใหม่เป็นคนที่มีความจงรักภักดี แต่จงรักภักดีต่อหลักการ ไม่ใช่กับตัวบุคคล หรือองค์กร เขาให้ความสำคัญกับคุณค่าของสังคม หรือ Social Value ซึ่งก็แตกต่างกับระบบคุณค่าที่คนรุ่นเก่ายึดถือ ประกอบกับการแสดงความเห็นของคนรุ่นใหม่ในช่วงเวลานี้ทำได้ยาก เนื่องจากโครงสร้างทางการเมืองของไทยเป็นโครงสร้างที่ไม่เปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ได้แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา คำว่า “ชาตินิยม” ของคนรุ่นใหม่นั้นก็จะไปผูกติดกับคำว่า “จารีต” “ศักดินา” ที่มีความเห็นต่อต้านอยู่ภายใน แต่ไม่เคยได้ศึกษาถึง “รากเหง้า” ของความเป็นไทยเพื่อมาผูกติดกับคำว่า “ชาตินิยม” เลย ลึกๆ แล้วคนรุ่นใหม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ชีวิตเขาง่ายขึ้นนั่นเอง เพราะคนรุ่นใหม่มีความอดทนต่ำแต่มีความทะเยอทะยานสูง มักแสวงหาทางลัดมากกว่าการเดินทางตรง

    การที่จะให้คนรุ่นใหม่ดำรงชีวิตแบบพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก เพราะคนเหล่านี้มักจะมีคำถามอยู่ในใจ มีพฤติกรรมต่อต้านอย่างเงียบๆ เหมือนคลื่นใต้น้ำ และมีการรวมกลุ่มกันเพื่อแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์โดยยึดถือความคิดเห็นของคนวัยเดียวกันเป็นหลัก ยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้องตามที่ตนเองเชื่อ เพราะความเป็น “พลเมือง” ตามความคิดของคนรุ่นใหม่คือสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็น ซึ่งต้องการการตอบรับและแก้ไขโดยทันที เป็นการแสดงพลังด้วยการรวมกลุ่มประท้วง ถือป้ายแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ต้องการแสดงพลัง และเป็นกลไกในการเปลี่ยนแปลงประเทศ พร้อมที่จะต่อต้านจารีตประเพณีเพื่อแสดงออกถึงความคิดก้าวหน้า หลายคนจบจากต่างประเทศก็บูชาลัทธิ หลักการของประเทศต่างๆ ว่าดีหมด ของที่ไทยมีอยู่มันแย่หมด ถึงเวลาแล้วที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง พอเจาะลึกเข้าไปจะพบว่าเด็กหัวนอกเหล่านี้หลายคนไปด้วยทุนรัฐบาล บางคนก็กลับมาใช้ทุนด้วยความอัดอั้นตันใจกับระบบ บางคนก็ไม่ต้องการใช้ทุน แต่ส่วนใหญ่คิดว่าตัวเองคือหัวกะทิของประเทศชาติ ต้องการใช้ความรู้เพื่อมาเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีทั้งทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์และทำด้วยความทะเยอทะยานส่วนตัวและเหตุผลซ่อนเร้นบางประการ นี่คือการแสดงออกถึง “ความรักชาติ” แบบใหม่ที่ไม่เคยภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์ชาติไทย ไม่เคยใส่ใจในรากเหง้าของความเป็นไทย ต้องการเดินตามอย่างประเทศที่เจริญแล้วโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงเลยว่าคนไทยมีความแตกต่างจากชาติอื่นมากมายนัก ทฤษฎีอะไรก็มาใช้กับคนไทยไม่ได้เสมอไป ต้องติดตามดูว่าชาติไทยในมือคนรุ่นใหม่จะออกมาหน้าตาแบบไหน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"