ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมานั้น โดยเฉพาะในปี 2563 ถือว่าเป็นหนึ่งในปีที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีอิทธิพลอย่างมากกับทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมทั่วโลก ทั้งกับการดำเนินชีวิตของผู้คนและแนวทางการดำเนินธุรกิจขององค์กรที่มีการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น และในปี 2564 นั้น น่าจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ๆ แห่งอนาคตกันอีกจำนวนมาก ซึ่งจะส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจและภาคสังคมของทั้งประเทศไทยและต่างประเทศกันอีกครั้ง และจะเป็นการกำหนดอนาคตของการสร้างโลกอัจฉริยะ
ทั้งนี้ อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า เทรนด์นวัตกรรมที่มีนัยสำคัญภายใน 5 ปีข้างหน้านี้ เทรนด์เทคโนโลยีโลกที่น่าจับตามองต่อจากนี้ครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ Augmented Creativity, Symbiotic Economy, 5G Rapid Rollout และ Global Digital Governance โดยเทคโนโลยีด้าน ICT จะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเทรนด์เหล่านี้ และจะมีผลโดยตรงต่อการสร้างโลกอัจฉริยะให้เป็นจริงขึ้นมาได้”
โดยเทรนด์ Augmented Creativity คือการผสานกันระหว่าง AI และเทคโนโลยีใหม่อื่นๆ จะเห็นว่าองค์กรขนาดใหญ่มากกว่า 97% เริ่มนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการ ลดต้นทุน อันจะนำไปสู่เทรนด์ที่สองคือ Symbiotic Economy ซึ่งกว่า 85% จะใช้งานแอปพลิเคชันทางธุรกิจของตนเองผ่านเทคโนโลยีคลาวด์ และการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการดำเนินธุรกิจจะต้องเป็นไปอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ส่วน 5G Rapid Rollout มีการคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีสถานีฐานสำหรับการให้บริการ 5G ถึง 6.5 ล้านสถานีทั่วโลก รองรับการให้บริการผู้ใช้งานได้มากถึง 2,800 ล้านคน ครอบคลุมจำนวนประชากรโลกถึง 58% และเทรนด์สุดท้ายที่น่าจับตามองก็คือ Global Digital Governance เมื่อเครือข่าย 5G แพร่หลายมากขึ้น จะส่งผลให้ปริมาณข้อมูลทั่วโลกที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมีจำนวนสูงถึง 180 เซตตะไบต์ (หรือ 180,000 ล้านเทราไบต์)
และจากการเติบโตของโลกดิจิทัล ทำให้ผู้บริโภคมีการใช้มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือภัยคุกคามจากโลกไซเบอร์ ที่ตามมา ทำให้หลายคนถูกหลอกเสียทรัพย์สินไปจำนวนมาก ดังจะเห็นได้ว่า 'แคสเปอร์สกี้' คาดเทรนด์ความปลอดภัยไซเบอร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปี 2563 กับการใช้ประโยชน์จากความกลัวที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 และใช้ภาคสาธารณสุขเป็นเหยื่อสำหรับการโจมตีต่างๆ และคาดว่าในปี 2564
ดังนั้น กิตติ โฆษะวิสุทธิ์ ประธานกรรมการศูนย์ประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัย เทคโนโลยีสารสนเทศภาคธนาคาร (TB-CERT) ธนาคารกสิกรไทย ได้ระบุว่า ปัจจุบันมีเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์เกิดขึ้นมากมาย ทั้งภัยไซเบอร์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานโดยตรง และภัยไซเบอร์ที่เกิดจากผู้ให้บริการ แต่ส่งผลกระทบวงกว้างมายังผู้ใช้งาน โดยจุดมุ่งหมายหลักของกลุ่มแฮกเกอร์ คือ การพยายามเข้าถึงระบบและข้อมูลสำคัญ
หนึ่งในข้อมูลสำคัญที่แฮกเกอร์ให้ความสนใจ คือ การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวหรือการหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัวเพื่อนำไปใช้งานเสมือนเป็นเจ้าของข้อมูลนั้นๆ เนื่องจากข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่บ่งบอกถึงลักษณะเฉพาะของบุคคล เพื่อเข้าใช้งานบริการของหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถาบันการเงิน มักจะใช้ข้อมูลส่วนตัวเพื่อประกอบการยืนยันตัวตน
ดังนั้น ข้อมูลส่วนตัวจึงมีความสำคัญ เพราะหากมีผู้ไม่หวังดีล่วงรู้ก็อาจจะใช้สวมรอยในการทำธุรกรรมแทน และสร้างความเสียหายให้แก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นหากพบว่ามีข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลจากผู้ให้บริการ ควรปฏิบัติดังนี้ ตรวจสอบและประเมินความสำคัญของข้อมูลที่ใช้งานกับผู้ให้บริการรายนั้น เปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้ในการเข้าระบบของผู้ให้บริการรายนั้น หากมีการใช้รหัสผ่านเดียวกันกับระบบอื่นๆ เช่น อีเมล Facebook หรือ LINE ควรเปลี่ยนรหัสผ่านดังกล่าวด้วย หลีกเลี่ยงการตั้งรหัสผ่านด้วยข้อมูลส่วนตัว เช่น วันเดือนปีเกิด หรือ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น
นอกจากนี้ต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขอข้อมูล ระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนตัวทางช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ หรือโทรศัพท์ และหากสงสัยในการกรอกข้อมูลใดๆ บนธุรกรรมออนไลน์หรือเว็บไซต์ ควรติดต่อสอบถามกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงก่อน.
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |