24 ม.ค. 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์เกี่ยวกับ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) บนเฟซบุ๊คส่วนตัว Thira Woratanarat ระบุว่า
สถานการณ์ทั่วโลก 24 มกราคม 2564...
ทะลุ 99 ล้านไปแล้ว
โคลอมเบียมียอดติดเชื้อรวมเกินสองล้านเป็นประเทศที่ 11
เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 600,130 คน รวมแล้วตอนนี้ 99,256,293 คน ตายเพิ่มอีก 14,612 คน ยอดตายรวม 2,127,857 คน
อเมริกา เมื่อวานติดเชิ้อเพิ่ม 197,616 คน รวม 25,540,219 คน ตายเพิ่มอีก 4,014 คน ยอดตายรวม 427,093 คน
อินเดีย ติดเพิ่ม 14,971 คน รวม 10,655,435 คน
บราซิล ติดเพิ่มถึง 62,334 คน รวม 8,816,254 คน
รัสเซีย ติดเพิ่ม 20,921 คน รวม 3,698,273 คน
สหราชอาณาจักร ติดเพิ่มอีก 33,552 คน รวม 3,617,459 คน
อันดับ 6-10 เป็น ฝรั่งเศส ตุรกี อิตาลี สเปน และเยอรมัน ส่วนใหญ่ติดกันหลายพันถึงหลายหมื่นต่อวัน
แถบอเมริกาใต้ ยุโรป เอเชีย อย่างโคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ยูเครน แคนาดา รวมถึงอิหร่าน บังคลาเทศ อิสราเอล อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย ยังติดกันเพิ่มหลักพันถึงหลักหมื่น
แถบสแกนดิเนเวีย บอลติก และยูเรเชีย ก็ยังมีติดเชื้อเพิ่มอย่างต่อเนื่อง
เมียนมาร์ เกาหลีใต้ ไทย และจีน ติดเพิ่มหลักร้อย ส่วนฮ่องกง และสิงคโปร์ ติดเพิ่มหลักสิบ ในขณะที่ออสเตรเลียติดเพิ่มต่ำกว่าสิบ
...สถานการณ์ในเมียนมาร์ เมื่อวานติดเพิ่มขึ้นอีก 507 คน ตายเพิ่มอีก 14 คน ตอนนี้ยอดรวม 137,098 คน ตายไป 3,045 คน อัตราตายตอนนี้ 2.2%...
สำหรับไทยเรานั้น ด้วยข้อมูลการระบาดที่เราเห็นกันในแต่ละวัน ต้องยอมรับว่าการระบาดกระจายไปทั่ว ทั้งกลุ่มเสี่ยง และคนทั่วไปในจังหวัดต่างๆ
เคสล่าสุดที่นนทบุรี นั้นเป็นตัวอย่างที่ดี ที่สอนบทเรียนพฤติกรรมเสี่ยงให้เราดังนี้
หนึ่ง การสังสรรค์กันเป็นกลุ่ม กินข้าวกับเพื่อนฝูง
สอง สถานที่ที่เดินทางไปในแต่ละวัน ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัว หรือทำงาน ช่างมากมายมหาศาล กระจายไปถึง 4 จังหวัด ทั้งวัด ตลาด ที่ทำงาน ที่พัก บ้านแม่ ห้าง ธนาคารหลายแห่ง ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านขายยา มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลหลากหลายแห่งและหลายแผนก ตั้งแต่ฉุกเฉิน พัสดุ ฝ่ายการพยาบาล โอพีดี วอร์ด หอผู้ป่วยหนัก ห้องผู้บริหาร แม้กระทั่งกรมการแพทย์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สาม มีอาการเจ็บคอ น้ำมูก เสมหะ ปวดหัว และมีจมูกไม่ได้กลิ่น ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม แต่ก็ยังดำเนินชีวิตตามปกติ และไปหาซื้อยาที่ร้านขายยาในวันถัดไป โดยไม่ฉุกคิดเรื่องโควิด
ทั้งสามข้อข้างต้น เป็นสัญญาณเตือนพวกเราทุกคนในสังคมไทยว่า การระบาดหนักจะมาแน่นอน หากไม่ช่วยกันยับยั้งพฤติกรรมเสี่ยงทั้งสามข้อนั้น
1. "การพยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลุ่มที่ไม่จำเป็น"จะช่วยยับยั้งการระบาดของโรคนี้ได้ ต้องชนะใจตนเอง ไม่มีใครชอบหรอกที่ต้องอยู่คนเดียว หรือไม่ได้พบปะเพื่อนฝูง แต่การเจอกันแต่เสี่ยงต่อการแพร่หรือรับเชื้อ จนอาจทำให้คนที่เราพบเจอและคนอื่นในสังคมต้องเจ็บป่วยล้มตายนั้น คงไม่ใช่สิ่งที่เราปรารถนา
2. "การตะลอนไปทำงานหรือใช้ชีวิตประจำวันควรทำแบบมุ่งเป้า ไปเท่าที่จำเป็น ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด และใช้เวลาสั้นๆ"
3. "หากมีอาการไม่สบายคล้ายไข้หวัด ให้สงสัยเสมอว่าจะเป็นโควิด" และต้องรีบไปตรวจ ไม่ควรซื้อยากินเองแล้วตะลอนใช้ชีวิตต่อ แต่ละวันเวลาที่ผ่านไปจะแพร่ไปให้คนอื่นได้โดยไม่รู้ตัวอีกจำนวนมาก
ระลึกไว้เสมอว่า ตอนนี้ไม่ปลอดภัย แต่ละคนที่เราพบเจอนั้นมีโอกาสติดเชื้ออยู่โดยไม่รู้ตัว และอาจแพร่เชื้อมาแก่เราได้ หรือแม้แต่ตัวเราเองก็เช่นกัน
หากลักษณะการใช้ชีวิตของคนจำนวนไม่น้อยที่ยังเป็นไปแบบไม่เคร่งครัด รวมถึงรูปแบบบริการและการดำเนินธุรกิจที่ยังเป็นไปในลักษณะเดิม การระบาดหนักจะมาเยือนได้ในไม่ช้า
โจทย์หลักสำหรับรัฐบาลที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือ "การปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริการ ท่องเที่ยว เดินทาง อาหารเครื่องดื่ม และสถานบันเทิงครับ
ด้วยปัจจัยเรื่องยา วัคซีน และสถานการณ์การระบาดแบบที่เห็นทั้งในประเทศและต่างประเทศ เราจะสู้และยืนระยะต้านทานการระบาดได้ยากมาก หากไม่มีการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้ต่างไปจากอดีต โดยต้องเน้นสวัสดิภาพและความปลอดภัยเป็นหลักอย่างถาวร ลดจำนวนคนหรือครั้งในการพบปะติดต่อ และระยะเวลาในการสัมผัสใกล้ชิด แต่ชูเรื่องราว คุณค่า ประสบการณ์ และความประทับใจมาทดแทนสิ่งที่ขาดหรือลดลงไป เรื่องนี้ฟังหลักการดูจะนามธรรม แต่มีหนทางที่จะทำได้
ไม่งั้นระบาดหนัก คนในภาคส่วนบริการและธุรกิจเหล่านั้นคงยากที่จะลืมตาอ้าปาก และยากที่จะลุกขึ้นยืนครับ
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |