การแข่งขันการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายในเพื่อสังคมอย่าง Asia Young Designer Awards 2020 (AYDA 2020) จัดขึ้นโดย บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีผลงานที่ส่งเข้าประกวดกว่า 1,300 ผลงาน ได้มีการประกาศผลไปแล้ว โดยมี 2 ผลงานของ ศุภกร ฉันทกิจวัฒนา หรือ "ต่อ" นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับผลงาน Illegal Settlement in Chiang Mai และ ทรวงชนก วงศ์พลกฤต หรือ" พราว" นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากรกับผลงาน Melodium สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ Gold Winner รับรางวัลเงินสดมูลค่า 100,000 บาท และของรางวัลอีกมากมาย พร้อมเตรียมตัวเข้าร่วมกิจกรรม Asia Young Designer Summit 2020 ที่ประเทศพันธมิตร จากหลากหลายประเทศทั่วเอเชีย เพื่อชิงโอกาสในการเข้าอบรมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก Harvard’s Graduate School of Design สหรัฐอเมริกา โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
“FORWARD: Human-Centred Design”เป็นโจทย์การแข่งขัน ซึ่งผู้ร่วมแข่งขันต้องออกแบบ สร้างสรรค์งานที่คำนึงถึงมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้ใช้งานหลัก ผ่านการสร้างกระบวนการคิด สังเกตพฤติกรรม และเรียนรู้ในรายละเอียดอย่างใกล้ชิดร่วมกับผู้ใช้งานออกแบบนั้นๆ เพื่อให้ทราบถึงปัญหาด้านการใช้งาน แล้วนำผลจากการเรียนรู้มาสร้างสรรค์งานออกแบบ โดยใช้ประโยชน์จากดิจิทัลและเทคโนโลยี เพื่อวางรากฐาน ตอบสนองความต้องการ และแก้ไขปัญหา ให้มนุษย์มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สำหรับผลงาน Illegal Settlement in Chiang Mai ของ"ต่อ "เป็นงานออกแบบอาคารประเภทที่อยู่อาศัยของชุมชน พื้นที่บริเวณคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประสบปัญหาตั้งอยู่ในถิ่นฐานไม่ถูกต้อง เพราะอยู่ในระยะถอยร่นจากคลอง และยังไม่มีสาธารณูปโภคที่ดีอีกด้วย มาเป็นชุมชนต้นแบบในการสร้างผลงาน
โดยแนวคิดแรกเริ่มของ "ต่อ" คืออยากออกแบบผลงานทางสถาปัตยกรรมที่ภาครัฐและภาคชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันได้ จึงได้นำเอาแรงบันดาลใจจากกลุ่ม Archigram สถาปนิกอังกฤษเจ้าของผลงาน Plug-in City ซึ่งเป็นเมืองแห่งอนาคตที่ปรับเปลี่ยนระบบสาธารณูปโภคได้ตามต้องการ มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งหาก Illegal Settlement in Chiang Mai ได้รับการพัฒนาให้เกิดขึ้นจริง จะเป็นงานสถาปัตยกรรมที่ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการด้านโครงสร้างและระบบ โดยมีภาคชุมชนและคนในสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างส่วนอื่นๆ เช่น ฝาบ้าน และ หลังคา ซึ่งมีผลในแง่จิตวิทยา ช่วยสร้างความเป็นเจ้าของ อยากที่จะดูแลรักษา ไม่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรม
ศุภกร ฉันทกิจวัฒนา หรือ "ต่อ" นักศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
"ผมเชื่อว่านอกเหนือจากการออกแบบเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สถาปนิกที่ดีควรคำนึงถึงความต้องการของมนุษย์ด้วย การประกวดนี้ทำให้ได้ลองทำงานออกแบบจากปัญหาและความต้องการของมนุษย์จริงๆ ในอนาคตอยากเป็นสถาปนิกที่ออกแบบเพื่อชุมชน ใช้ความสามารถมาช่วยทำให้เมืองดีขึ้น และเชื่อว่า Illegal Settlement in Chiang Mai จะเป็น statement piece ที่สร้างความตระหนักรู้ให้ทุกคนได้เห็นถึงปัญหาด้านที่พักอาศัย และช่วยให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และคนในชุมชนได้เห็นถึงแนวทางและความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหา ที่สามารถร่วมมือและช่วยกันได้ภายใต้ความเข้าใจที่ตรงกัน”ต่อกล่าวถึงความตั้งใจ
ส่วนผลงาน Melodium ของ"พราว "เป็นผลงานการออกแบบตกแต่งภายในที่นำเอาสถานการณ์ปัจจุบันที่ผู้คนในสังคมกำลังประสบปัญหามากมาย มีภาวะเครียดเกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการดำเนินชีวิตที่ลดลงมาเป็นโจทย์ในการออกแบบ และยึดหลักแก้ไขด้วยการเติมเต็ม 3 สิ่งพื้นฐานที่มนุษย์ต้องการในการดำรงชีพในสังคม อันได้แก่ ความปลอดภัย (safety) การมีส่วนรวม (belonging) และการมีความสำคัญ (mattering) ผ่านการใช้ดนตรีเป็นสื่อกลาง จึงเป็นที่มาของการสร้างผลงานการออกแบบตกแต่งภายในโครงการริมน้ำที่มีพื้นที่สำหรับนั่งชมวิว ห้องน้ำ และสามารถเล่นดนตรีได้ด้วยตัวอาคาร ผ่านกลไกความดันอากาศที่เกิดจากความแรงของคลื่นน้ำที่มากระทบโครงการ ส่งออกเป็นเสียงสูงต่ำตามท่อเสียง เกิดเป็นพื้นที่ที่ผู้คนสามารถผ่อนคลายไปกับเสียงเพลงธรรมชาติ บรรเทาความทุกข์ความเครียดของผู้คนได้ทุกเพศทุกวัย
พราวกล่าวถึงผลงานตัวเองว่า ในมุมมองของพราวเห็นว่า ปี 2020 เป็นปีแห่งความเครียด ทั้งจากปัญหาโควิด-19 เศรษฐกิจ และสถานการณ์บ้านเมือง คำถามคือมนุษย์จะหายเครียดได้จากอะไร จึงค้นคว้าและพบว่า 3 สิ่งพื้นฐานอย่างความปลอดภัย การมีส่วนรวม และการมีความสำคัญ จะช่วยให้มนุษย์สามารถเข้าสู่สภาวะ smart state หรือสภาวะที่สามารถคิดวิเคราะห์ คิดเชิงสร้างสรรค์ และมีความรู้สึกร่วมไปกับผู้อื่นได้ ด้วยเหตุนี้จึงนำเอาแนวคิดมาประยุกต์ใช้กับผลงานตัวเองผนวกเข้ากับดนตรี ซึ่งเป็นสื่อกลาง ที่เหมาะกับผู้คนทุกเพศทุกวัย และด้วยแนวคิดที่เปิดกว้างของโครงการ AYDA จึงทำให้สามารถสร้างสรรค์การออกแบบตกแต่งภายใน Melodium ออกมาได้อย่างไร้ขีดจำกัด
ทรวงชนก วงศ์พลกฤต หรือ" พราว" นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปากร
"มั่นใจค่ะว่าหาก Melodium สามารถทำได้จริง จะเป็นที่พักพิงหรือที่สังสรรค์รูปแบบใหม่ให้กับผู้คนได้ในอนาคต ช่วยให้ผู้คนได้มีกิจกรรมรูปแบบใหม่ให้ที่หลากหลายมากขึ้น และผ่อนคลายได้มากขึ้นกับการใช้ชีวิต”พราวกล่าว
ด้านวัชระ ศิริฤทธิชัย ผู้จัดการทั่วไป บริษัท นิปปอนเพนต์ เดคโคเรทีฟ โคทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวา ปปอนเพนต์มุ่งมั่นให้ความสำคัญกับจรรยาบรรณทางการค้าในการรักษาสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่ดำเนินธุรกิจอยู่ ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมสีที่มีคุณภาพสูงให้แก่ลูกค้าทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 13 ปีที่ดำเนินโครงการ Asia Young Designer Awards นิปปอนเพนต์ได้บ่มเพาะนักออกแบบรุ่นใหม่ให้แก่วงการนักออกแบบมากมาย โดยบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าทั้งต่อและพราวจะเป็นนักออกแบบรุ่นใหม่ที่มีคุณภาพที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับวงการออกแบบของไทย และสร้างประโยชน์ให้แก่สังคม ชุมชน และมนุษย์ผู้ใช้งานผลงานการออกแบบของพวกเขาได้อย่างงดงามและยั่งยืน
ติดตามเส้นทางการเดินทางของต่อและพราว ในฐานะตัวประเทศไทยในการเข้าร่วมกิจกรรม Asia Young Designer Summit 2020 เพื่อชิงตำแหน่ง Young Designer of The Year ได้ที่ FacebookPage:AsiaYoungDesignerAwardsThailand ที่เว็บไซต์ www.asiayoungdesignerawards-th.com
เมื่อวานคุยเล่น เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด |
อนาคต 'คนนินทาเมีย' |
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ' |
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ |
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง" |
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา. |
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?" |