โรคลิ้นหัวใจรั่วกับสัญญาณบอกอาการ หากปล่อยไว้อาจเกิดอันตรายได้


เพิ่มเพื่อน    

หากคุณมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยหอบง่าย ควบคู่ไปกับอาการหายใจลำบาก อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจว่าอาจเป็นเพียงอาการปกติของร่างกาย เพราะอาการเหล่านี้อาจกำลังบอกว่าคุณกำลังเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วอยู่ก็เป็นได้ การเลือกตรวจสุขภาพเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะทำให้รู้ถึงต้นเหตุ อีกทั้งห่างไกลจากโรค อย่าปล่อยโรคลิ้นหัวใจรั่วเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิต!

 

โรคลิ้นหัวใจรั่วเกิดจากความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุให้เลือดไหลย้อนกลับ ส่งผลให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อให้การสูบฉีดเลือดให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ซึ่งหากมีอาการลิ้นหัวใจรั่วไม่มากนักก็จะไม่เกิดแสดงอาการใดๆ แต่ถ้าหากเมื่อใดก็ได้ที่รู้สึกได้ถึงผลกระทบทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเช่นเดิม ทั้งรู้สึกเหนื่อยง่าย ใจสั่น มีอาการบวมที่เท้าและข้อ (บ่วมน้ำ) ซึ่งถ้าหากปล่อยเอาไว้โดยไม่ได้รับการรักษาก็อาจได้รับผลกระทบร้ายแรงจนถึงขั้นอาจเกิดอาการหัวใจล้มเหลวเลยก็เป็นได้

 

 

แพทย์จะวินิจฉัยโรคอย่างไร?

สำหรับผู้ที่มีอาการดังที่กล่าวมาสามารถเข้าไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย ซึ่งในปัจจุบันมีการตรวจโรคลิ้นหัวใจรั่วด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความเร็วสูง โดยจะเป็นการส่งคลื่นเสียงความถี่สูงเข้าไปและจำลองภาพของหัวใจ ซึ่งจะทำให้แพทย์เห็นความผิดปกติของลิ้นหัวใจ และหากว่าผู้ป่วยเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วแพทย์จะทำการรักษาได้ในทันที

 

รักษาโรคอย่างไร?

หากใครที่เป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วที่มีอาการไม่รุนแรง แพทย์จะทำการรักษาด้วยการให้ยาขับปัสสาวะที่จะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ แต่สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยสามารถแบ่งการผ่าตัดได้ดังนี้

 

  1. การผ่าตัดซ่อมแซมลิ้นหัวใจ

             ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้ จะเป็นการซ่อมแซมหัวใจที่มีความผิดปกติให้หัวใจกลับมาทำงานได้ตามปกติอีกครั้ง ซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้อาจจะเป็นการรักษาสำหรับผู้ป่วยบางรายเท่านั้น ซึ่งต้องดูไปตามอาการของแต่ละคนนั่นเอง

 

  1. การผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ

            หากอาการของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจรั่วเกิดความผิดปกติของลิ้นหัวใจ ในกรณีที่ลิ้นหัวใจไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามเดิม อาจจะต้องมีการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ซึ่งในการผ่าตัดประเภทนี้จะเป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจใน 2 ชนิดด้วยกันคือ

  • ลิ้นโลหะ มีความคงทนตลอดชีวิตของคนไข้ แต่ต้องกินยาป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัวง่ายไปตลอดชีวิต
  • ลิ้นเนื้อเยื่อ สำหรับชนิดนี้จะใช้ได้ไม่เกิน 15 ปี จึงเหมาะกับคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป

 

 หลังจากได้รับการผ่าตัดแพทย์จะยังทำการติดตามผลอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันทั้งการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทั้งนี้ผู้ป่วยจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"