สทป. ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล เพื่อทดสอบภาคสนามโดยหน่วยผู้ใช้ ตอบสนองภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ


เพิ่มเพื่อน    

 

 

โครงการพัฒนาจัดสร้างเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ถือเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาพาหนะทางน้ำโครงการแรกที่ สทป. ได้ดำเนินการจัดสร้าง ร่วมกับ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ (นสร.กร.) และบริษัท โชคนำชัย ไฮ – เทค เพรสซิ่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่มีศักยภาพภายในประเทศ โดย สทป. ได้นำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยีป้องกันประเทศขั้นสูง เพื่อสนับสนุนในการพัฒนาจัดสร้างต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล และได้ดำเนินการทดลองสมรรถนะของเรือต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ระหว่างวันที่ 12-13 มกราคม 64 ทดสอบนำเรือลงหน้าท่าเพื่อทำการทดสอบระบบย่อยของเรือ ณ บริษัท โชคนำชัย ไฮ – เทค เพรสซิ่ง จ.สุพรรณบุรี และทำการทดสอบประเมิน Function ระหว่างวันที่ 19-20 มกราคม 2564 การใช้งานระบบต่างๆ ของเรือ (Hat) และทดสอบสมรรถนะทางทะเล (Sat) ณ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ผลการทดสอบได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง

 

 

วันที่ 21 มกราคม 2564 สทป. ได้ดำเนินการจัดพิธีส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ณ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพื่อทดสอบภาคสนามโดยหน่วยผู้ใช้ ตอบสนองภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ โดยได้รับเกียรติจาก ลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผู้อำนวยการ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เป็นผู้ส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ให้กับ พลเรือตรีศุภชัย ธนสารสาคร ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ  ในฐานะหน่วยผู้ใช้งาน เป็นผู้รับมอบฯ  โดยมีพลเอกพอพล มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป., พลเรือตรี อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพเรือ และคุณนำชัย สกุลฎ์โชคนำชัย ประธานกรรมการ บริษัท โชคนำชัย ไฮเทค เพรสซิ่ง จำกัด เข้าร่วมแสดงความยินดี

 

หลังจากพิธีส่งมอบต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล เพื่อทดสอบภาคสนามโดยหน่วยผู้ใช้ ตอบสนองภารกิจของหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ สทป. ได้ทำการสาธิตการปฏิบัติงานและสมรรถนะทางทะเล เพื่อแสดงสมรรถนะต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล เพื่อถ่ายทอดการใช้งานและสร้างความเชื่อมั่นให้กับหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ ดังนี้

  • จำลองการเก็บขยะหน้าท่า
  • สาธิตการเอาตระกร้าขึ้น
  • ผู้บริหารขึ้นเรือต้นแบบอุตสาหกรรมเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล เพื่อไปเกาะแสมสาร
  • ชมการสาธิตการสนับสนุนการปฏิบัติการใต้น้ำ
  • ทดสอบเกยหาดรับรถขนาด 1 ตัน

 

 

ซึ่งการพัฒนาจัดสร้างเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล โครงการเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล จะสามารถสนับสนุนการดำเนินงานตอบสนองภารกิจของ นสร.กร. ดังนี้

1.) ด้านความมั่นคงทางทหาร ได้แก่

1.1) สนับสนุนภารกิจหลักสูตรต่าง ๆ ของ นสร. เช่น นักทำลายใต้น้ำจู่โจม, ปฏิบัติงานใต้น้ำ และลาดตระเวน

1.2) ขนส่งในพื้นที่ที่เรือใหญ่เข้าไม่ถึง (เข้าเกยหาด)

2.) ด้านความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ การเก็บขยะลอยน้ำในพื้นที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) และพื้นที่รับผิดชอบของ นสร.กร.

 

 

3.) ด้านความมั่นคงทางสังคม การมีส่วนร่วมตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อสร้างการตระหนักถึงปัญหาที่เกิดจากขยะในทะเลให้แก่ประชาชนร่วมกันแก้ไขปัญหาขยะให้หมดไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพึ่งพาตนเองสามารถสนับสนุนกระทรวงกลาโหม ในการดำเนินกิจการด้านการวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อความมั่นคง รวมถึงต่อยอดผลการวิจัยและพัฒนาไปจนถึงขั้นการผลิต และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ สทป. มาตรา 22 (1) (2) ว่าด้วยการศึกษาค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน และมาตรา 23 (6) ทำความตกลงและร่วมมือกับองค์การหรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศในกิจการที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสถาบันที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. เทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 นอกจากนั้นการดำเนินโครงการฯ ยังก่อให้เกิดความคุ้มค่าด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ความคุ้มค่าด้านเศรษฐกิจ

                 - ลดการนำเข้า และ/หรือการใช้เทคโนโลยีจากต่างประเทศที่มีต้นทุนสูง

                 - เพิ่มมูลค่าของผลงานวิจัยและพัฒนาทางด้านความมั่นคงในอนาคต

ความคุ้มค่าด้านความมั่นคง

                 - ตอบสนองยุทธศาสตร์ของ กห. และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

              - สามารถตอบสนองต่อความต้องการของหน่วยผู้ใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรม

3. ความคุ้มค่าด้านการเมือง

              - ก่อให้เกิดพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ รวมถึงการบูรณาการ/พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือตามแผนยุทธศาสตร์ของ สทป.

              - ตอบสนองตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันให้เกิดการพึ่งตนเองในด้านการวิจัยและพัฒนา

4. ความคุ้มค่าด้านเทคโนโลยี

              - มีความคุ้มค่าในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในโครงการร่วมวิจัยของหน่วยงานรัฐ

              - เปิดโอกาสให้บุคลากรของหน่วยงานรัฐในการร่วมวิจัยและพัฒนา

 

ทั้งนี้ สทป. มีแผนที่จะนำองค์ความรู้ในการสร้างต้นแบบเรืออเนกประสงค์เพื่อความมั่นคงทางทะเล ดังกล่าว ต่อยอดองค์ความรู้สู่การผลิตในเชิงอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงขึ้นต่อไปในอนาคต


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"