"วัคซีนสมอง"มาแล้วจ้ะ


เพิ่มเพื่อน    

    การตั้งหัวข้อไลฟ์สด....

                "วัคซีนพระราชทาน  ใครได้-ใครเสีย" วันก่อนของ "ธนาธร" ถือว่า พบความสำเร็จ "๒ เด่นชัด"

                เด่นชัดแรก

                "ตัวนำ" ผู้ทรงอิทธิพลทางคิดชั่วของขบวนการล้มเจ้า ที่มะลำ-มะเลืองมาตลอด "โผล่หน้า" แล้ว

                เดินชัดที่สอง

                "ธนาธร" เป็นศูนย์รวมแห่ง "เสนียดแผ่นดิน" ที่ประชาชนคนไทย อยากเหยียบมากที่สุด ขณะนี้

                เมื่่อวาน (๒๐ ม.ค.๖๔) ตัวแทนกระทรวงดิจิทัลฯ และสำนักนายกฯ ไปแจ้งความตำรวจ ปอท. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี"

                ให้ดำเนิน "คดีอาญา" ธนาธร

                ในความผิดมาตรา ๑๑๒ และผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๖๐

                เพื่อความเข้าใจเรื่องราวชัดๆ วันนี้ จะ "หนักเนื้อ-เบาน้ำ" เพราะสังเกตคนส่วนหนึ่ง "ประสี" แต่ "ไม่ประสา" เอาเลย

                เห็นประจำ ใครพูดที ก็เอนตามไปที ใครมาพูดอีกที ก็เอียงตามไปอีกที

                เพราะอย่างนี้ บ้านเมืองจึงเป็นอย่างที่เห็น

                คนการเมืองกากๆ เกลื่อน คนเกือกๆ อย่างธนาธร ปิยบุตร เพนกวิน ไมค์ รุ้ง อานนท์ ฯลฯ กร่าง

                ฉะนั้น เพื่อฐาน "ความเข้าใจที่ถูกต้อง" ตามประเด็นไลฟ์สดและโพสต์เฟซต่อเนื่องมา ๒ วัน ของธนาธร

                เมื่อวาน "นายเนวินธุ์ ช่อชัยทิพฐ์" ผู้ช่วยรัฐมนตรีดีอีเอส อธิบายไว้ชัดหลายประเด็น จะนำมาเป็นฐานความเข้าใจกัน

                "...........คนจำนวนหนึ่ง หลายคนเป็นคนรุ่นใหม่ ควรมีความรู้ หาข้อมูลเองได้ แต่กลับไปเชื่อข้อมูลที่มีคนพยายามปั่นว่ารัฐบาลผูกขาด สั่งซื้อวัคซีนกับ บ.สยามไบโอไซเอนซ์ฯ ซึ่งเป็นของสำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว

            ทั้งๆ ที่ความจริง คือ ..........

            ๑."คนขายไม่ได้เป็น บ.สยามไบโอไซเอนซ์ฯ"  

            คือ รัฐบาลสั่งซื้อวัคซีนจาก บ.แอสตราเซเนกา ซึ่งก็ยังต้องสั่งตรงกับทางแอสตราฯ จนกว่า บ.สยามไบโอฯ จะผลิตเองได้

            ๒."แอสตราเซเนกา เลือกสยามไบโอไซเอนซ์เอง"

             ไม่ใช่รัฐบาลเลือก รัฐบาลเสนอหลายแห่ง แต่แอสตราเซเนกา เลือกสยามไบโอฯ แห่งเดียว เพราะศักยภาพสูง เชี่ยวชาญเฉพาะทางเรื่องการผลิตวัคซีน

            ๓."ผลประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ใช่ส่วนตัว"

            ที่เซเนกาเลือกสยามไบโอฯ เหตุผลสำคัญคือ ถึงเป็นบริษัทเอกชน แต่เป็นเอกชนไม่หวังผลกำไร จึงขาดทุนมาตลอด

            แต่เป็นพระราชปณิธาน "ในหลวง ร.๙" ที่จะทรงสร้างรากฐานทางการแพทย์ให้มีความคล่องตัวการบริหารแบบเอกชน ไม่ต้องขึ้นกับนโยบายหรือผู้บริหารภาครัฐ

            ตรงนี้ เป็นหลักการสำคัญของ Oxford ผู้คิดค้นวัคซีน ว่าบริษัทที่ผลิตวัคซีนสูตรนี้ "ต้องไม่ทำกำไร" แต่ก็ไม่ขาดทุน (No Profit, No Loss)

            คือต้องขายเท่าทุน เพื่อไม่ให้แพงเกินไป และบริษัทอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

            นี่เป็นเหตุผลที่ Oxford ร่วมงานกับเซเนกา เพราะเซเนกา ยอมรับหลักการนี้

            ดังนั้น แม้ว่าในเฟสต่อๆ ไป เมื่อสยามไบโอฯ ผลิตวัคซีนเองได้แล้ว รัฐบาลจะสั่งต่อโดยตรงกับสยามไบโอฯ ก็ยิ่งมีแต่ผลดี

            เพราะได้ราคาเดิม ไม่โก่งราคาแน่นอน สะดวกรวดเร็ว เนื่องจากผลิตได้เองในประเทศ

            ทั้งจะ "มั่นคง-ยั่งยืน" ในอนาคต เพราะไทย "ประเทศเดียวในอาเซียน" ที่ได้รับอนุญาตเป็นผู้ผลิต

            นับเป็นโชคอย่างมหาศาลของคนไทย ชนิดไม่รู้จะว่ายังไงอีกแล้ว

            ส่วนเงินที่รัฐบาลอุดหนุนสยามไบโอฯ เพิ่มเติมห้าร้อยกว่าล้าน ก็ไม่ได้สูญเปล่า เพราะ

            ๑.นำไปพัฒนาศักยภาพในการผลิตให้สูงยิ่งขึ้น รองรับเทคโนโลยีใหม่ในการผลิต

            ๒.เงินก้อนนี้ ประชาชนไทยจะได้คืนมาในรูปแบบของวัคซีน "ในราคาเท่าทุน"

            "ส่วนใครที่จับผิดเรื่องไม่มีดอกเบี้ย ผมว่าคุณก็ใจต่ำไปแล้ว อย่างที่บอก เงินทุกบาทของบริษัทนี้ ก็นำไปพัฒนาและผลิตวัคซีนเพื่อคนไทยทุกคน

            เป็นบริษัทไทยที่เราควรภาคภูมิใจ และต้องเอาใจช่วยบริษัทนี้ ไม่ใช่หาเรื่องจับผิดด้วยอคติ"

            เรียกว่าสยามไบโอฯ ถึงเป็นเอกชน แต่เป็นเอกชนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ ๑๐๐%  

            ซึ่งในไทย (แม้ในอาเซียน) ก็คงมีเพียงบริษัทเดียวนี้แหละที่ทำแบบนี้ได้ คือทั้งมีศักยภาพสูงพอ และไม่แสวงหากำไร

            และนี่เป็นพระวิสัยทัศน์ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เป็นอีกหนึ่งในมรดกที่นับไม่ถ้วน ที่พระองค์ทิ้งไว้ให้กับพวกเราทุกคน"

                ฟังคำอธิบายจากทางรัฐบาล โดยตัวแทนกระทรวงดีอีเอสไปแล้ว ทีนี้มาฟังทางแพทย์บ้าง

                "ลุงยง" พระเอกตลอดกาลของผม......

                "ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ" ราชบัณฑิต หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                ท่านบอกว่า.....

                "เนื่องจากมีคนออกมาแถลงข่าวเกี่ยวกับวัคซีนโดยมีความเข้าใจที่ผิดพลาดหลายประการ

                ในฐานะนักวิชาการด้านไวรัสวิทยาและวัคซีน มีความจำเป็นที่ต้องออกมาชี้แจงให้ประชาชนและสังคมเข้าใจให้ถูกต้อง"

                ก็มาฟัง "ความถูกต้อง" จากลุงยงกันเลย

                -ขณะนี้ตลาดของวัคซีนเป็นของผู้ขาย ไม่ใช่ผู้ซื้อ วัคซีนที่จะผลิตออกมามีความขาดแคลนอย่างมาก

            ในระยะแรก ไม่มีหลักประกันใดเลย ที่จะบ่งบอกถึงว่าวัคซีนตัวไหนจะถึงเป้าหมาย จึงต้องมีการจองไว้ก่อน

            ประเทศที่ร่ำรวยก็อาจได้เปรียบ มีเงินจองวัคซีนที่จะคิดค้นและพัฒนาได้มากกว่าประเทศไทย

            -ในการจองแต่ละครั้ง ต้องมีการวางมัดจำ และการวางมัดจำนี้ ถ้าวัคซีนผลิตไม่สำเร็จ เงินจำนวนนี้ ก็จะไม่ได้คืน

            แม้กระทั่งการวางมัดจำกับบริษัท Astra Zeneca ก็ไม่สามารถใช้เงินหลวงไปวางมัดจำได้

            จึงจำเป็นต้องใช้เงินของ "บริษัท ปูนซิเมนต์ไทยฯ" ไปวางมัดจำ เพราะช่วงดังกล่าว ไม่มีหลักค้ำประกันได้เลย ว่าจะได้วัคซีนตัวไหน?

            -การให้วัคซีนในปีนี้ ในเด็กต่ำกว่า ๑๘ ปี ยังให้ไม่ได้ เพราะไม่มีการศึกษา เมื่อตัดกลุ่มเด็กออกไป ก็จะเป็นกลุ่มผู้ใหญ่เท่านั้น ที่จะได้รับวัคซีน

            ถึงแม้ประเทศจีน ผลิตวัคซีนเป็นจำนวนมาก จีนเองยังไม่คิดที่จะให้ถึง ๕๐ หรือ ๖๐% ของประชากร

            -เพราะการให้วัคซีนปัจจุบัน เป็นวิธีการเสริมจากการป้องกันที่มีอยู่แล้ว

            การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ และกำหนดระยะห่าง ถ้าเราทำได้ดี การให้วัคซีนก็ไม่ถึงกับต้องเร่งรีบมากจนเกินไป รอการศึกษาให้ได้วัคซีนที่ปลอดภัยดีกว่า

            -ในปีหน้า ตลาดวัคซีนจะเป็นของผู้ซื้อ มีการผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เราก็สามารถที่จะเลือกซื้อได้ ในตัวที่ดีที่สุดและราคาถูกที่สุด

            ดังนั้น ผมเชื่อว่าการประเมินที่ ๒๖ ล้านโดสแรก น่าจะมีความเหมาะสม รอเวลาที่จะเลือกวัคซีนตัวดีที่สุด/ราคาเหมาะสม เข้ามาเสริมในระยะสุดท้าย

            ดีกว่าที่จะทุ่มเงินมัดจำไปทั้งหมด แล้วในที่สุด ก็ไม่สามารถจะเลือกชนิดวัคซีนได้

            โดยจะเสียเงินมัดจำไปเปล่าประโยชน์ วัคซีนตัวแรกที่ออกมา ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด

            -สิ่งที่ได้อีกอย่างในการผลิตวัคซีนในประเทศไทย คือ การส่งต่อเทคโนโลยีต่างๆ (Transfer of technology) ในด้านการผลิตเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับชีววัตถุ ซึ่งมีความสำคัญมากในอนาคต

            ขณะนี้ บริษัทใหญ่ที่ทำได้ในประเทศไทย ก็หนีไม่พ้น "บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ฯ" และ "ไบโอเนทเอเชีย" ที่จะเป็นบริษัทเชิดหน้าชูตาของไทยได้เท่านั้น บริษัทอื่น ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ

            -วัคซีนที่ออกมาใหม่ เมื่อถามประชาชนว่า ต้องการฉีดหรือไม่ ยกตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอเมริกามีคนที่ต้องการฉีดไม่ถึงครึ่ง

            -เนื่องจากกลัวภาวะแทรกซ้อนในการพัฒนาอย่างเร่งรีบ ประเทศไทยไม่ได้มีการระบาดรุนแรงอย่างในอเมริกาด้วยซ้ำ

            การตัดสินใจสายกลาง จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด ดีกว่าที่จะไปผูกมัดจนเกินไป

            -การให้วัคซีนเป็นจำนวนล้านล้านคน จะต้องใช้เวลานาน เป็นไปไม่ได้ที่จะฉีดวันละเป็นล้าน

            การบริหารวัคซีนต้องรอบคอบ ตั้งแต่โลจิสติกส์จนถึงการลงทะเบียนทุกอย่าง เร่งไม่ได้ และไม่สามารถบังคับว่าทุกคนต้องฉีด

            ถ้าเราเลือกวัคซีนไม่ดี แล้วไม่มีคนฉีด ความสูญเสียจะมากมายจากเงินลงทุนไปโดยเปล่าประโยชน์

            สิ่งที่ประเทศไทยเราทำอยู่ในขณะนี้ มีความเหมาะสม พอเพียง พอดี บนพื้นฐานของความประมาณตน

            โดยใช้ความรู้ และพึ่งพาตนเองได้ ตามรอยพระราชดำริ" ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีอยู่แล้ว

            "ขอฝากให้คนไทยทุกคน แสวงหาความรู้ อย่าเชื่อข่าวลือ หรือข่าวที่ไม่เป็นจริง

            ระมัดระวังดูแลรักษาสุขภาพของตนให้ดี ใส่หน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกู ล้างมือ รักษาระยะห่างทางกายภาพ แล้วเราจะผ่านวิกฤติมหาโรคระบาดไปด้วยกัน”

            ครับ.....

                ตัดแปะข้างฝา ร้านค้า ร้านข้าวแกง ตามส้วมสาธารณะด้วยยิ่งดี สามานย์มนุษย์ตัวไหนปั้นเท็จ ตรวจอ่านทานดู

                มือ-ตีน จะได้ไม่กุดเหลือ ๓ นิ้วไงล่ะ!

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"